ที่ห้องโถงโล่งขนาดกลางของพระนครนอนเล่น กุ๊กกิ๊ก สบายๆ? ดูขนาดเล็กลงโดยปริยายเมื่อมีผู้คนมากมายมาร่วมงานปาร์ตี้ผักพื้นบ้าน และเสวนาแบบอ่างปลา?กิน(ให้)เป็น อยู่(ให้)สุข (Slow Food & Slow Life Party)?? ในช่วงบ่ายของวันหนึ่งต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ทางตลาดสีเขียวจัดขึ้นเพื่อเปิดตัวโครงการ Green fair ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 10 ? 13 ธันวาคมนี้ ที่สวนเบญจศิริ?? โดยมีคุณโรส? วริศรา? มหากายี??? เจ้าบ้านเป็นผู้ดำเนินรายการ? และแขกรับเชิญจากนักกิจกรรมด้านต่างๆ 8 ท่าน?
เริ่มแรกเสวนาที่ คุณอุ้ม? สิริยากร นักแสดงและ บก.นิตยสารบ้านอุ้ม? ซึ่งหันเหมาสนใจธรรมะ และปรับเปลี่ยนวิถีการกินอยู่ให้คืนสู่ความเป็นปกติ และมองชีวิตตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในองค์รวมที่เป็นสังคม ให้ความเห็นต่อหัวข้อสนทนานี้ว่า ไม่ได้แปลตรงๆ ว่า ?ช้าๆ?? แต่มันคือ ?ค่อยๆ?? ค่อยๆ กิน? ค่อยๆ ใช้ชีวิต คิดถึงชีวิตที่น่าจะดำเนินไปตามปกติมากขึ้นกว่าที่เคยเป็น ที่เคยเร่งรีบแข่งขัน ซึ่งโลกที่เรารู้จักคุ้นเคยแบบนั้นมันทำให้เรากินเราใช้ทรัพยากรโลกไปอย่างมากมายในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเมื่อมันมาถึงจุดหนึ่งที่เราพบว่ามันกำลังวิกฤติซึ่งเกิดจากวิถีการดำเนินชีวิตแบบแข่งขันซึ่งเป็นระบบที่ทำลายตัวเอง? เราก็มาคิดกันว่าเราจะหาวิธีกินวิถีใช้ชีวิตแบบใหม่กันดีไหม
เกษตรกรมากความรู้และประสบการณ์จากชมรมเกษตรอินทรีย์อย่างคุณปริญญา? พรศิริชัยวัฒนา เห็นว่าอาหารที่เรากินทุกวันนี้มาจากการผลิตที่รีบเร่ง การพูดถึงเรื่องนี้เหมือนกลับมาถามว่าเราเป็นใคร?? เรามาจากไหน? สิ่งที่เราทำทุกวันนี้ผิดไปหรือเปล่า? เพราะสุดท้ายอาหารที่เราได้รับมันไม่มีคุณภาพ ถ้าเราใช้ปุ๋ยอินทรีย์ พืชจะได้รับในลักษณะ slow release ไม่ใช่ถูกเร่งเหมือนปุ๋ยเคมี ซึ่งส่งผลหลายด้านมาก? ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ก็ต้นกำเนิดชีวิตที่สมบูรณ์? ปัญหาสภาวะแวดล้อมรวมไปถึงปัญหาโลกร้อนมันก็เกิดมาจากการเริ่มคิดกระบวนการผลิตและการดำเนินชีวิตที่รีบเร่ง? รวมทั้งฝากไปยังสื่อมวลชนว่า เราก็คงต้องหาวิธีทำให้ผู้บริโภคเข้าใจแหล่งผลิตอาหารที่ดี เรายึดติดกับความสะดวกในการหาซื้อสินค้าพรีเมี่ยม ทำให้สินค้ามันแพงขึ้นโดยสินค้าไม่ได้พัฒนาคุณภาพ ขณะเดียวกันเราก็อยากได้สภาพสังคมที่มีการผลิตที่หลากหลายและเอื้อเฟื้อแบ่งปันเป็นสังคมที่หาซื้อไม่ได้ แต่การเรียกร้องอย่างเดียวคงไม่เกิดผลถ้าไม่ลงมือทำ
นักรณรงค์กินเปลี่ยนโลก กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา? กล่าวว่า? วัฒนธรรมอาหารไทยเป็นอาหารสโลว์ฟู้ดส์ คือพิถีพิถัน? แต่เรากำลังถูกทำให้ต้องทิ้งวัฒนธรรมอาหารแบบนี้ และถูกทำให้เชื่อว่าเรามีเวลาในเรื่องการกินน้อย ซึ่งแท้จริงไม่ใช่ ซึ่งเราต้องสู้กับความเชื่อนี้ว่าเรามีเวลา เรากินวันละ 3 มื้อ และเราทำมาหากินเพราะต้องเอาของกินใส่เข้าไปในร่างกายเราซึ่งก็ต้องดูว่าอาหารที่เรากินเข้าไปนี้มาจากไหน ผลิตแบบไหน และมีคุณภาพอย่างไร? คนผลิตเป็นอย่างไร หรือแม้แต่เรากินอาหารเข้าไปแล้วมีอะไรติดมาบ้าง
ด้านคุณแหวน กิติยา โสภณพานิช นักกิจกรรมสีเขียวในฐานะบริโภคที่เป็นคุณแม่มือใหม่ กล่าวว่า เรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญ เป็นพื้นฐานของชีวิต กลับมาสู่แผ่นดิน การกลับมาสู่เรื่องเริ่มต้นซึ่งเป็นรากเหง้าของเราเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมีการกล่าวว่าการศึกษาเริ่มต้นของชีวิตคือ ?กินอยู่เป็น? ซึ่งข้อมูลในการหาแหล่งที่กินเป็นสิ่งที่สำคัญ
เจ้าชายผักปริ๊น คุณนคร ลิมปคุปตถาวร ตั้งข้อสังเกตว่าในสมัยก่อนมีการสวนมนต์ก่อนกินข้าวซึ่งเราถูกสอนให้ท่องจำจนขึ้นใจ เป็นการบอกเล่าความเชื่อมต่อว่าอาหารนั้นมาอย่างไร มาจากใคร พอมันเปลี่ยนมารีบเร่งมันก็หายไป? คิดแต่ว่าต้องรีบ ต้องได้? และแย่งชิง? เราก็เร่งรัดและถูกรุมเร้าจนไม่ได้อยู่กับตัวเองและจิตใจก็หยาบกระด้างขึ้นไม่สามารถเชื่อมโยงตัวเองกับคนอื่นๆ กับธรรมชาติมันหายไปด้วย ซึ่งการปรับเปลี่ยนวิถีที่ช้าลงทุกคนสามารถทำได้โดยไม่ต้องว่าจะมาทำแบบเจ้าชายผัก หรือแบบใครๆ ขึ้นอยู่กับการเลือกที่เหมาะสมของแต่ละคนเอง ซึ่งเขาเองก็อยากช่วยเชียร์ให้กับทุกๆ คนที่กำลังปรับเปลี่ยนการกินอยู่?? การทำสวนผักกินเองของเขาก็คือการฟื้นข้อต่อความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน ? คน ? สวน ซึ่งแต่เดิมที่บ้านมีสวนรอบบ้าน เราก็ทำกับตัวเราเองก่อน? ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติของผมแต่สังคมกลับมาว่าแปลก ซึ่งก็ดีเพราะทำให้เราสร้างประโยชน์ให้กับสังคมที่เป็นประโยชน์ในการทำแบบนี้
ด้าน ศุภกิจ นันทะวรการ ผู้เชียวชาญพลังงานสีเขียวจากมูลนิธินโยบายสุขภาวะ? จริง ไม่ได้หวนหาอดีตหรือต้านกระแสหลัก เพราะความจริงตอนนี้เราอยู่กับแบบรีบเร่งและจ่ายอเงินออกจากกระเป๋าเพราะความรีบเร่ง รวมไปถึงการผักผ่อนที่เร่งรีบ? แล้วก็ต้องเร่งไปหาเงินมาใส่กระเป๋าเพื่อจะเสียอย่างมากและเร็วไปอีก? การกลับมาสโลว์ฟู้ดส์ สโลว์ไลฟ์ ไม่ใช่แค่ตอบเรื่องรสนิยมอย่างเดียว แต่มันคือการกินอาหารที่ไม่อันตรายและดีต่อสุขภาพ? มันทำให้สุขภาพชีวิตมันดีขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น? มันดีต่อระบบเศรษฐกิจของเราด้วยถ้าเราใช้ชีวิตแบบช้าๆ? เราจะเห็นได้ชัดว่าชีวิตที่รีบเร่งทำให้เราจ่ายค่าพลังงานในการใช้ชีวิตมากขึ้นด้วย? ปัจจุบันเราจ่ายกว่า 10% ของรายได้ที่เรารับ ซึ่งในชนบทอาจจะสูงถึง 50% เราเสียค่าพลังงาน ขณะเดียวกันการสูญเสียทรัพยากรด้านพลังงานก็เพิ่มแบบอัตราเร่ง? ล้านล้านบาทต่อปี? ซึ่งเราสามารถ ปรับเปลี่ยนการบริโภคพลังงานให้ช้าลงก็จะทำให้เราประหยัดพลังงานได้มากขึ้น? การใช้พลังงานหมุนเวียนจากการหมักขยะเศษอาหารก็สามารถแก้ปัญหาเรื่องการเกิดขยะส่งกลิ่นเหม็นและเป็นพลังงานทดแทนที่ราคาถูกและลดการเบียนเบียนชุมชนที่ถูกผลักดันให้สร้างแหล่งพลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สร้างปัญหามากมายให้ชุมชนนั้นๆ?
คุณเอมมี บรอน จากมูลนิธิสันติวัฒนธรรมเอเชีย? กล่าวว่าศาสนามีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม? ซึ่งค่านิยมมีอิทธิพลต่อการเลือกและพฤติกรรมของเราซึ่งกำลังเปลี่ยนไปตามเศรษฐกิจทุนนิยมกระแสหลัก? ซึ่งคิดแต่เพียงว่าสิ่งแวดล้อมเป็นเพียงของใช้ซึ่งเปลี่ยนไปจากเดิมที่เชื่อว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและทุกสิ่งเชื่อมโยงกัน
คุณสุนทรีย์? แรงกุศล จาก Action aid? กล่าวว่าเราอาจจะต้องดูเรื่องปริมาณที่เราบริโภคอาหารเข้าไปซึ่งคนไทยค่อนข้างจะมาก เราต้องเร่งสร้างทัศนคติในการเข้าสังคม สร้างสังคมและกำหนดวิถีการบริโภคที่พอเพียงโดยเริ่มจากในครอบครัวก่อน? รวมถึงการมองอาหารเป็นเรื่องสิทธิในการบริโภค ซึ่งไม่ใช่แค่สิทธิในการเลือกบริโภคอย่างเสรีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูว่าการเลือกของเรานั้นจะต้องไม่ไปกระทบสิทธิของคนอื่นด้วย เพราะคนอื่นๆ ก็มีสิทธิที่จะเลือกแต่บางครั้งอาจจะเลือกไม่ได้ ซึ่งมีผลต่อการทำให้การเข้าถึงอาหารของคนอื่นๆ ลดลง? ซึ่งการขยายขอบเขตการเลือกแบบนี้จะทำให้เราขยายการคุ้มครองเรื่องสิทธิของเราให้เท่าเทียมกับเพื่อนร่วมโลกด้วย
ปิดท้ายด้วยคุณโรส วริศรา มหากายี แห่งพระนครนอนเล่น? ได้ร่วมแสดงความเห็นว่า เราไม่ได้ช้า แต่ว่ามันเป็นการกลับมาเป็นปกติที่ควรจะเป็นจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบที่เราคุ้นชิน ซึ่งชีวิตเร่งรีบมันไม่ได้ทำให้เราสุขแท้ สุขจริง? ระบบชีวิตเพี้ยนไป? ทั้งๆ ที่เป้าหมายชีวิตของเราต้องการความสุขซึ่งเราสามารถใช้ชีวิตที่มีความสุขได้เลยโดยไม่ต้องไปรีบๆ ทำต่างๆ แล้วไปหาวัตถุมาเป็นความสุข และทำให้เราใช้ชีวิตที่ต้องทำงานอย่างหนัก? ซึ่งทุกคนสามารถที่จะทำและพร้อมหรือไม่ที่จะก้าวออกไปหาวิถีชีวิตที่เป็นสุขแท้ เป็นปกติ ไม่ยึดติดกับวัตถุ
วงเสวนาอ่างปลาไม่ได้จบเพียงแค่นี้? ยังมีอีก 1 หัวข้อที่ยังพูดคุยสนทนากันอย่างออกรสออกชาติ คือหัวข้อหนึ่งคือ ?กินอยู่ตามฤดูกาล? มาฝากกันตอนหน้า
สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะฟังเสียงจริงตัวจริง เราตัดบางส่วนของแต่ละท่านมานำเสนอไว้ ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ตามรายการข้างล่างนี้เลยค่ะ
SF SL ? Siriyakorn? คลิ๊กๆ ที่นี่? http://www.youtube.com/watch?v=_Xm_LH460AA (2.04 นาที)
SF SL ? Parinya คลิ๊กๆ ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=TsY9r8ZqBxU (2.49 นาที)
SF SL ? Kingkorn?? คลิ๊กๆ ที่นี่? http://www.youtube.com/watch?v=A6RsMN1yCyM (1.56 นาที)
SF SL ? Kitiya?? คลิ๊กๆ ที่นี่? http://www.youtube.com/watch?v=zIO3W-CRWeU (1.12? นาที)
SF SL ? Nakorn? คลิ๊กๆ ที่นี่? http://www.youtube.com/watch?v=sK8D8OBRnCM (2. 01 นาที)
SF SL ? Supakit? คลิ๊กๆ ที่นี่? http://www.youtube.com/watch?v=spHfXSin5JM (7.02 นาที)
SF SL – Emmy? คลิ๊กๆ ที่นี่? http://www.youtube.com/watch?v=HSayUiMS4Us (2.02 นาที)
SF SL – Sunthareeคลิ๊กๆ ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=OXOIxEHEuq4 (2.56 นาที)
SF SL – Rose คลิ๊กๆ ที่นี่? http://www.youtube.com/watch?v=qf8drcIxF_s (2.28 นาที)