ข้อเสนอจากอาเซียนภาคประชาชน ?พึ่งตนเองด้านอาหารเพื่อตอบโต้ทุน?

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจุฬาฯ ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน จัดเวที ?มหกรรมประชาชนอาเซียน? ระหว่างวันที่ 20-22 ก.พ. และเป็นเวทีคู่ขนานของภาคประชาสังคมและประชาชนในอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาของแต่ละัประเทศในภูมิภาค โดยมีผู้เข้าร่วมนับพันคน ทั้งจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนอกภูมิภาค โดยข้อเสนอจากการประชุม จะเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-1 มี.ค. ที่หัวหินด้วย


อภิปรายกลุ่มย่อย : การพิทักษ์สิทธิของชาวไร่ ชาวนา และผู้ผลิตอาหารรายย่อย
พิกุล วงบุญมา ตัวแทนจากเครือข่ายเกษตรภาคเหนือ

ผลจากการต่อสู้ในเรื่องสิทธิที่ทำกิน ประเทศไทยเจอปัญหานี้มานานหลายปี ชาวนาในประเทศส่วนมากไม่มีที่ทำกิน ทั้งๆ ที่ผลิตอาหารป้อนสังคม ชาวนาหรือเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ในแต่ละพื้นที่ไม่มีที่ทำกิน ครั้นจะเข้าไปปฏิรูปที่ดินโดยชุมชนก็โดนทางรัฐตั้งข้อหาบุกรุกที่เอกชน โดยทออกนโยบายมาจับกุมปราบปราม ซึ่งเกิดขึ้นในหลายครอบครัว

เราไม่สามารถจัดการในพื้นที่ของชุมชน ทั้งๆที่ ที่ผ่านมาเราใช้พื้นที่นั่นตั้งแต่ปู่ย่าตายา จัดการพื้นที่ร่วมกัน ปลูกพืชอาหารเพื่อที่จะเลี้ยงพวกเรา แต่พอตอนนี้ชาวบ้านเข้าไปก็จับกุมชาวบ้าน ในภาคเหนือมีหลายคดี ซึ่งในนั้นก็เป็นเรื่องของผู้หญิง กลายเป็นหลักใหญ่ที่ทำให้เราลุกขึ้นมาต่อสู้เพรา การจับกุมทำให้หัวหน้าครอบครัวถูกจับกุมไป ส่งผลกระทบกับผู้หญิง เด็ก และครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ผู้หญิงต้องออกจากบ้านเพื่อไปทำงาน ต่อสู้ในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง
จะเห็นได้ว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นจากการที่เราไม่มีที่ทิน ถ้าหากเราสามารถผลิตอาหารของเราเองเพื่อบริโภค จะไม่เกิดสิ่งเหล่านี้ ไม่มีความยากจน วิกฤตที่เกิดขึ้นกับเรา มันเกิดจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดในพื้นฐานของชีวิต คือเรื่องที่ดินทำกิน? สิทธิชาวนานั้นไม่มีเลยที่จะเข้าไปจัดการเองในพื้นที่ของชุมชนได้ นโยบายรัฐก็ออกมาบอกตลอดเวลาว่าที่ดินนั้นเป็นของนายทุน เราไม่มีสิทธิ ทั้งๆ ที่มันเคยเป็นของเรา เราควรจะเรียกร้องสิทธิในพื้นที่นั้น ชุมชนสมควรที่จะมีสิทธิในการใช้ เพื่อสร้างฐานของครอบครัวให้ดีขึ้น

เราอยากจะเรียกร้องให้ประชาคมอาเซียน ทำให้ชาวนาเข้าถึงที่ดินทำกินอย่างแท้จริง คุ้มครองเกษตรกร ชาวนา ไม่ให้เปลี่ยนการใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นอื่น ให้รัฐจัดโฉนดที่ดินชุมชนให้กับชาวนา เพื่อรับรองสิทธิชุมชนให้มากขึ้น คุ้มครองสิทธิของผู้หญิงและเด็กในเรื่องสาธารณะสุขในทุกๆ โรครวมทั้งที่เกิดจากการที่ออกไปทำงานในพื้นที่ต่างๆ? เรียกร้องสิทธิของผู้หญิงที่เท่าเทียมในทุกๆ เรื่องของการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่หัวหน้าครอบครัวโดนจับกุมหลังจากลุกขึ้นมาสู้ คดีที่ดิน เรียกร้องให้มีสวัสดิการสำหรับผู้หญิง และผู้ที่ด้อยการศึกษา


แม่สมปอง เวียงจันทร์ ตัวแทนจากสมัชชาคนจน

ปัญหาชาวนาของชาวบ้านในภาคอีสานตอนล่าง มันเริ่มจากอีสานเขียว ที่ตนเองมีโอกาสเข้าประชุมเรื่องการพัฒนา แต่เมื่อพอแผนออกมาก็กลายเป็นเรื่องของการสร้างเขื่อนเพื่อตอบสนองให้ชาวนา ได้ทำนาในตลอด ปี หลังจากที่ชาวนาในบ้านเราทำงานปีละรอบ ซึ่งจากการสร้างเขื่อนปากมูลนั้นเห็นด้ชัดว่าชาวนาเราไม่ได้ร่วมตัดสินใจสัก นิดเลย จากคำของไทยที่บอกว่าในน้ำมีปลา นามีข้าว แต่พอสร้างเขื่อนไปแล้วกลายเป็นว่าปลามันมันไม่มีเลย มีผลกระทบกับกลุ่มคนมากมายและมีผลต่อผู้หญิงด้วยไป เพราะว่าเราเป็นคนทำอาหาร?
วอลเดน เบลโล ตัวแทนจากโกลเบล เซาท์

ระบบเกษตรกรรมนั้นควรที่จะเข้าถึงหรือตอบสนองความต้องการด้านอาหารของ ประชากรได้ มากกว่า 500 ปีที่ผ่านมา ลัทธิทุนนิยมในภาคอุตสาหกรรมได้แผ่ขยายไปทั่ว มีผลต่อผลผลิตชาววนา และผลกระทบต่อประชากรด้วย? ซึ่งสิ่งสำคัญของการเกษตรในทุนคือการแสวงหากำไร แทนที่จะจัดหาอาหารให้กับทุกๆ คน
ในเรื่องวิกฤตอาหารของปีที่ผ่านมาซึ่งเกิดขึ้นกับทุกๆ คน เมื่อราคาข้าวขึ้นสูง มันเกิดเพราะว่าพวกบริษัทเห็นว่ามันจะทำกำไรได้มากกว่าเมื่อจะผลิตพืชที่ เป็นวัตถุดิบของน้ำมัน การผลิตข้าว หรือว่าพืชผลเพื่อบริโภคน้อยลง? สัดส่วนอาหารสำหรับมนุษย์ก็น้อยลง แต่ว่าไปสร้างสิ่งที่ป้อนแก่รถยนต์มากกว่า นี่เป็นตรรกะพื้นฐานของการผิลิตอาหารในปัจจุบัน

ในส่วนสิทธิของชาวนาที่จะกลายเป็นสถาบันหรือว่ากฎหมายขึ้นมานั้น เราต้องพูดว่าเราต้องการอะไร เมื่อพูดถึงอธิปไตยทางอาหารที่เราจะใส่ลงไปในเอกสารได้ สิ่งหนึ่งก็คือคำนิยาม เวียคัมปาสิน่าได้พยายามรวบรวมขึ้นมา ส่วนหนึ่งคือผลิตผลส่วนใหญ่ในประเทศส่วนหนึ่งจะต้องมาจากชาวนา ชาวไร่ในประเทศ นั่นคือแนวคิดของความพอเพียงในด้านอาหาร

และประเด็นที่เราควรยกขึ้นมาเพื่อตอบโต้ทุน คือการพึ่งตนเองได้ทางด้านอาหาร และเรื่องความหลากหลายทางการผลิตอาหาร เรื่องพวกนี้ต้องคำนึงผู้ผลิต บริโภค แต่ว่าต้องไม่คำนึงถึงผลกำไรของผู้ผลิต ต้องสมดุลระหว่างเกษตรอุตสาหกรรมชนบทและเมือง ในเรื่องของการเข้าถึงที่ดินและการคุ้มครองที่ดิน ที่ไม่ควรจะเป็นของปัจเจก แต่ว่าควรที่จะเป็นของชุมชนมากขึ้น

กลไกราคาไม่ควรเป็นเรื่องของตลาดอย่างเดียว พืชจีเอ็มโอจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีในการผลิตควรที่จะคิดถึงจารีตประเพณีดั้งเดิม ทั้งหมดนี่เป็นชุดของข้อเสนอที่ควรจะต้องระบุในเอกสาร เพราะว่ากฎบัตรอาเซียนนั้น ไม่ใช่เพื่อความอยู่รอดของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ว่ามันเป็นของประชาชนทั้งมวล อีกอันหนึ่งคือว่าเมื่อใส่ประเด็นเหล่านี้เข้ามา เราไม่ได้หวนหาอดีตแต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องเหล่านี้นั้นเป็นการมองไปใน อนาคต


เมียวนี่ สหพันธ์ชาวนาผู้หญิงของเกาหลี

สิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวนาทั่วโลกนั้นรวมถึงในเกาหลีด้วย ปัญหานี้รุนแรงมากในเกาหลี ส่วนหนึ่งเพราะว่านโยบายที่รัฐได้ทำขึ้น รัฐบาลประกาศนโยบายเกี่ยวกับเกษตรกรรม ทำให้เกษตรกรถูกทำลายหรือลดทอนบทบาทไปอย่างมากในยี่สิบปีที่แล้วจนปัจจุบัน
รัฐบาลเกาหลีสนับสนุนการค้าเสรีและสนับสนุนนโยบายของการค้าโลกซึ่งส่งผลต่อ ชาวนาผู้หญิงมาก มันทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น แต่ในด้านความเป็นอยู่และชีวิตแย่ลง เมื่อมีปัญหาต่างๆ จึงมีกิจกรรมเพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิชาวนา อันดับแรก เพื่อผู้หญิงที่เป็นชาวนาเข้าถึงสิทธิชาวนา มีสถานะตามกฎหมาย และมีฐานะเป็นองค์กรได้? ปีที่แล้วจนปัจจุบัน มีการสร้างกฎหมายขึ้นมาเพื่อให้คำนึงถึงบทบาทของชาวนาผู้หญิงในท้องถิ่น ในกฎหมายนั้นรวมถึงการสนับสนุน คุ้มครองเรื่องพื้นที่การเกษตร ให้ผู้หญิงเข้ามีส่วนร่วมในการเกษตร ใช้การเกษตรแบบปลอดสารพิษ

นอกจากนี้แล้วมีการต่อสู้เรื่องการยกเลิกการค้าเสรี ประท้วงต่อนานาชาติ เช่น WTO และกลุ่มจีแปด กิจกรรมต่อมาคือการรณรงค์เรื่องการรักษาเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อทีจะคุ้มครอง สิทธิของชาวนาในการเพาะปลูกในปีถัดไป เพราะว่าในเวลานี้ที่เกาหลีเมล็ดพันธุ์พืชกลายเป็นสินค้าของบริษัทข้ามชาติ ไปแล้ว ชาวนาเหลือทางเลือกน้อยเต็มที ชาวนาผู้หญิงจึงพยายามรักษาเมล็ดพันธุ์เอาไว้ ในการนี้เหมือนการปกป้องสิทธิของชาวนาด้วย

ที่มา : ประชาไท 23 ก.พ. 52

Relate Post