ตอนที่ 11 กินอยู่ตามฤดูกาล กับงานกรีนแฟร์ 09

ต่อจากตอนที่แล้ว ในห้องโถงของพระนครนอนเล่น โดยมีคุณโรส? วริศรา? มหากายี??? เจ้าบ้านเป็นผู้ดำเนินรายการ? เสวนาแบบอ่างปลา ที่ผู้เสวนาล้วนมีอาการ ?ฮา? เป็นระยะๆ ในหัวเรื่อง?? ?กิน(ให้)เป็น อยู่(ให้)สุข (Slow Food & Slow Life Party)?? ตอน 2 นี้เป็นหัวข้อเรื่องที่ว่า ?กินอยู่ตามฤดูกาล??? ที่ทางทีมงานตลาดสีเขียวจัดขึ้นเพื่อเปิดตัวโครงการ Green fair ?09 ซึ่งปีนี้มีชื่องานว่า ?มหกรรมวิถีสีเขียว การกิน การอยู่ และฤดูกาล? ที่คอนเซ็ปต์งานนี้จัดเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในวิถีที่เป็นจริงและยั่งยืนสู่สาธารณะในระหว่างวันที่ 10 ? 13 ธันวาคมนี้ ที่สวนเบญจศิริ??

เริ่มที่คุณโรส ตั้งคำถามกับผู้ร่วมเสวนาทั้ง 8 ท่านในเรื่องทัศนะที่มีต่อการกิน การอยู่ตามฤดูกาล? โดยคุณกิ่งกร? นรินทรกุล ณ อยุธยา?? จากทีมรณรงค์กินเปลี่ยนโลก ร่วมแลกเปลี่ยนว่า? เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยรู้ว่าตอนนี้ฤดูไหนเพราะมีผลผลิตนอกฤดูกาลออกมาตลอดปี? เรารู้ว่าเมษายนเป็นหน้ามะม่วง ถัดมาเป็นลำไย ขณะที่ตอนเป็นเด็กเรารู้เรื่องฤดูกาลโดยอัตโนมัติตามผลผลิตที่หมุนเวียนออกมาให้เรากินในช่วงต่างๆ?

อย่างลำไยก็เอาสารโปแตสเซียมคลอเรต ไปราดให้มันออกลูกทั้งปี ซึ่งมันคือดินประสิว ทำให้รากร้อน? ลำไยกลัวตายก็เลยออกลูกมา? ไม่กี่ปีมันก็โทรม? ผักก็เช่นกัน ถ้าไม่อยู่ในฤดูกาลก็อัดปุ๋ยยาเข้าไป? ซึ่งความรู้ชุดนี้ที่เกี่ยวกับอาหารตามฤดูกาลจะต้องช่วยกันรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง? ซึ่งผู้บริโภคต้องเชื่อมั่นตัวเองว่าเรามีพลังที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้? ไม่ใช่แค่สร้างตลาดสีเขียว และช่วยกันรักษาตลาดท้องถิ่นที่ยังมีของดีอยู่? ต้องช่วยกันรักษาตลาดที่คนทุกคนเข้าถึงอาหารดีมีสุขภาพ มีผลผลิตที่ดี ได้ไม่ใช่แค่คนรวย??? และทำให้คนเชื่อว่าอาหารตามฤดูกาลนั้นดีจริงๆ? และอาหารที่เร่งการผลิตผิดธรรมชาติไม่ใช่อาหารที่คนควรกิน? ทำไก่ให้อายุสั้นลง?? เราก็ต้องสู้กับสื่อที่นำเสนออาหารบรรษัทเหล่านี้? ซึ่งจริงๆ ผู้ผลิตหากมีคนซื้อคนกินเขาสามารถทำได้ แต่ยังหากันไม่ค่อยเจอระหว่างคนผลิตกับคนซื้อ ซึ่งเราก็ต้องช่วยกันทำงานเรื่องนี้กันต่อไป

คุณปริญญา? พรศิริชัยวัฒนา? เกษตรกรจากชมรมเกษตรอินทรีย์ กล่าวว่าถ้าเราไม่มีความรู้เรื่องการบริโภคตามฤดูกาล ให้หันไปปลูกอาหารออร์แกนนิค เพราะเป็นระบบการผลิตตามธรรมชาติ? ซึ่งรสชาติของอาหารออร์แกนนิคมันใกล้เคียงกับอาหารตามธรรมชาติ??? ส่วนระหว่างฟาร์มกับผู้บริโภคจะเจอกันได้อย่างไรนั้น เขาเสนอว่าแท้จริงแล้วยังมีปัญหาอยู่มาก? แต่พวกเราอาจจะเราเริ่มง่ายๆ แค่ปลูกผักทานเองที่บ้าน ผักเช่นกระเพรา พริก หรือทำกำแพงและรั้วบ้าน ทำผัดกระเพราจากต้นที่บ้านเราเอง?

gd11_02

เจ้าชายผัก? นคร? ลิมปคุปตถาวร? เกษตรกรในเมือง บอกว่า เขาค่อนข้างโชคดีที่พ่อแม่ฝึกมาให้ลิ้นสูง ลิ้นเราจดจำรสชาติของผลไม้ตามฤดูกาล เคยกินของดีในฤดูกาลต่างๆ ไม่ว่าทุเรียน ส้ม น้อยหน่า ผลผลิตเหล่านี้มีรสชาติที่ดีและมีหมุนเวียนมาให้เราได้กินตลอดปี? เขาเองพยายามปลูกผักกินเองตามฤดูกาล เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตจากฤดูกา? ถ้าเราไปกินของที่ฝืนธรรมชาติแบบนี้ก็ชวนให้คิดว่ามันบาปไหม? กลายเป็นว่าเราไปส่งเสริมให้เขาทำแบบที่ไปข่มขืนต้นไม้ ใช้ฮอร์โมนในสัตว์ ฉีดยาฆ่าแมลงนั้นไหม ซึ่งมันต่างกับการกินของที่ผลิตมาตามธรรมชาติ เพราะธรรมชาติมันควบคุมจัดการกันเอง

คุณแหวน? กิติยากร? โสภณพานิช นักกิจกรรมสีเขียวกับเยาวชนรุ่นเยาว์? บอกว่าเมื่อนึกถึงอาหารตามฤดูกาลก็นึกถึงผักของพี่เจน* เพราะผักที่ได้มาจะมีความหอมมาก ปลูกโดยใช้สมุนไพร และมีความสดมาก? ซึ่งพอมีลูกก็จะเริ่มเป็นห่วงลูก ด้วยความที่รู้เยอะว่าผักส่วนใหญ่มีสารเคมีมาก ส่วนหนึ่งที่เปลี่ยนเพราะว่าลูก? ก็ต้องช่วยกันทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยน เพราะถ้าไม่เปลี่ยน ไม่มีคนซื้อก็ไม่มีคนผลิต? และอีกส่วนที่ต้องทำคือทำงานกับเด็ก เริ่มไปฝึกกับเด็กปลูกฝังจิตสำนึก และทัศนคติ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งสื่อจะเป็นผู้ที่มีส่วนอย่างยิ่งที่จะร่วมขบวนการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

คุณสุนทรีย์? แรงกุศล จาก Action aid? ตอนนี้เราไม่ค่อยรู้ว่าขณะนี้มันเป็นฤดูไหน ฤดูกาลมันสับสนแล้วต้นไม้ใบหญ้าจะรู้ไหม? ซึ่งจะต้องเร่งการศึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติที่เปลี่ยนไป? รวมไปถึงการหาทางเลือกในการบริโภคท่ามกลางภาวะฤดูกาลที่เปลี่ยนไป? การไปคาดหวังกับรุ่นลูกเราก็คงจะยาก แต่ต้องเริ่มจากที่ตัวเราเอง? เริ่มต้นที่เราไปตลาดเช้ากัน? ชวนลูกไปตลาด ไปรู้จักผลผลิตที่มาจากชาวไร่ชาวนาที่นำมาขายโดยตรงด้วยตัวเอง? ทำให้เด็กๆ ได้เจอสิ่งเหล่านี้? แทนร้านอาหารหรือฟ้าสต์ฟู้ด ซึ่งพวกเขาก็จะเกิดคำถามตามมาว่าเลือก หรือไม่เลือก?

คุณอุ้ม สิริยากร พุกกะเวช? เห็นว่า ถ้ากินอาหารนอกฤดูกาลสักวันก็จะป่วย? เพราะโดยปกติแล้วร่างกายก็ปรับตัวไปตามสมดุลธรรมชาติและถ้ามันผิดเปลี่ยนไปก็ทำให้ผิดสมดุล? การกินตามฤดูกาลไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพ แต่เป็นการกินโดยที่เราเข้าใจเรื่องการกินของเราว่ากินไปเพื่ออะไร? เราเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติ?? การกินต้องดูว่าไม่ใช่แค่กินตามฤดู แต่ต้องดูถึง ?ละแวก? หรือแหล่งผลิตอาหารของเรา? ซึ่งถ้าเรากินตามกิเลส ร่างกายก็สะสมกิเลส? มันเป็นเรื่องการมีชิตอยู่ในโลกนี้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทุกสิ่งอย่าง? การกินเป็นการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงแร่ธาตุในร่างกายกับโลก???? ซึ่งเราจะรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกกินตามฤดูกาลได้ แต่เราก็เลิกเพราะขี้เกียจที่จะรู้ข้อมูลความจริง? แล้วก็ไม่ใส่ใจเพียงแค่ กินๆ เข้าไปเถอะ? เธอให้กำลังใจผู้ที่อยากจะปรับเปลี่ยนการกินว่า ระยะทางไม่สำคัญเท่าก้าวแรก เพราะก้าวแรกแห่งการปรับเปลี่ยนมีความสำคัญสุด เป็นการเริ่มต้นที่ยาก แต่ไม่เกินความต้องการหากอยากปรับเปลี่ยนกันจริงๆ

สุดท้ายเป็นคุณศุภกิจ นันทะวรการ? มูลนิธินโยบายสาธารณะสุข? เขากล่าวว่าเราอาจจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงแบบถูกบีบบังคับ เพียงแต่ข้อมูลอย่างการราดสารเร่งการออกนอกฤดูของลำไยเราต้องได้รับ? นอกจากเรื่องอาหารตามฤดูกาล เขาเชื่อมโยงไปสู่เรื่องพลังงานว่า? ไม่ว่าฤดูไหนเราก็มักเปิดแอร์นอนแม้จะเป็นช่วงที่ฝนตก อากาศเย็น? หน้าร้อนก็อาบน้ำอุ่น มันหมายถึงเราไม่สนใจข้างนอก? เราอาจจะดูว่านอกจากติดแอร์ในบ้านแล้วเราทำอย่างอื่นอีกได้ไหม? ประเทศไทยใช้ไฟฟ้าสำหรับแอร์ซึ่งเป็นอันดับต้นๆ ของการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 40 % ของการใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ? เพราะการได้มาซึ่งพลังงานของเราไปเบียดเบียนคนอื่นๆ อย่างมาก จากแต่เดิมเราสร้างเขื่อนในบ้านตัวเอง ตอนนี้ไปสร้างที่พม่า ที่ลาว? ที่พม่าก็มีการฆ่าประชาชนในพื้นที่สร้างเขื่อน? สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์? การใช้น้ำอย่างประหยัดโดยการหมุนเวียนน้ำใช้แล้วไปใช้รดน้ำต้นไม้ การรองน้ำฝนไว้ใช้? ซึ่งคนที่จะมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องอาศัยข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ผู้รับสารสามารถเชื่อมโยงตัวเองกับสิ่งเหล่านี้ได้? โดยที่ทำข้อมูลออกมาเป็นเรื่องเล่า เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย? และเราไม่ได้ต้องการคนเป็นหมื่นเป็นแสนในการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องการคนจำนวนหนึ่งที่ตั้งใจทำจริง ทำต่อเนื่องอย่างมุ่งมั่น และสื่อเรื่องที่ตัวเองทำออกไปสู่รอบข้างของตัวเองก็จะช่วยกันขยายออกไปได้ กลุ่มคนรุ่น Gen Y นี่แหละที่เราจะต้องกระตุ้นให้พวกเขาเกิดคำถามในสิ่งเหล่านี้

ฟังเวทีเสวนาแล้ว ฉันว่าอย่างน้อยเว็บมาสเตอร์กินเปลี่ยนโลกเราคนหนึ่งแหละที่เป็นแนวร่วมขบวนการที่ว่ามาทั้งหมดได้? เพราะพี่แก post ออกตัวไว้ ใน msn ของพี่เขาว่า ?มุ่งมั่น?? นะจ๊ะ? 55555
หมายเหตุ? * – พี่เจน? เป็นผู้ประสานงานโครงการผักประสานใจที่ส่งเสริมให้ชาวบ้านที่ด่านช้าง? จ.สุพรรณบุรี? ปลูกผักโดยมีผู้บริโภคร่วมลงหุ้นโดยการซื้อผักล่วงหน้า 6 ? 12 เดือน ซึ่งผู้บริโภคต้องตกลงใจยอมกินผักที่ผลิตมาได้ในขบวนการผลิตแบบอินทรีย์ที่ส่งมาให้ที่จุดกระจายในกรุงเทพฯ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

?

เลือกคลิ๊ปวีดีโอมาฝากอย่างเคย ดูกันเป็นรายๆ ไปเลยนะคะ ตามข้างล่างนี้

SFood – Kingkorn? คลิ๊กๆ ที่นี่? http://www.youtube.com/watch?v=H4MCbAM_kZ8 (2.04 นาที)

SFood – Parinya? คลิ๊กๆ ที่นี่? http://www.youtube.com/watch?v=Yg3PwOxSqsw (2.28 นาที)

SFood – Nakorn? คลิ๊กๆ ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=ht5ZUgqTqcE (2.06 นาที)

SFood – Kitiya? คลิ๊กๆ ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=UNnWyibXocw (3.37 นาที)


SFood – Suntharee? คลิ๊กๆ ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=-YzdsQyFm2g (4.06 นาที)


SFood – Siriyakorn? คลิ๊กๆ ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=d7ozoU9qLqQ (6.23 นาที)


SFood – Supakit? คลิ๊กๆ ที่นี่ http://www.youtube.com/watch?v=nqOWoRxA3L8 (8.18 นาที)

Relate Post