ตอนที่ 24 ความรู้ก้นครัวจากถั่วพื้นบ้าน

แผนงานฐานทรัพยากรอาหารของมูลนิธิชีววิถี ได้คณะศึกษาวิจัยกลุ่มหนึ่งมาช่วยศึกษารวบรวมความรู้ที่สั่งสมและแทรกซึมอยู่ในก้นครัวและแปลงไร่นาของชาวบ้าน ซึ่งคราวนี้โฟกัสประเด็นไว้ที่ถั่วพื้นบ้าน ที่มีกินกันอยู่ในครัวเรือนและไม่แน่ใจว่าในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกลถั่วพื้นบ้านเหล่านี้จะมีให้เรากินกันอยู่หรือไม่

ถั่ว หรืออาหารชนิดหนึ่งใดก็ตาม หากขาดหายไปจากสำรับที่เคยกิน  ต่อการสูญหายไปนั้นมากมาย …

ในแวดวงเกษตรกรรมยั่งยืน ถั่วเป็นโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ที่ยืนต้นผลิตความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ให้เศษซากอินทรียวัตถุที่ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น  ถั่วบางชนิดตรึงไนโตรเจนและคาร์บอน (ซึ่งเป็นก๊าซที่ก่อปัญหาภาวะโลกร้อนโดยตรง)  ที่ปลูกง่าย โตไว ต้นทุนต่ำ และเหมาะกับระบบการปลูกแบบหมุนเวียนเพื่อตัดตอนการแพร่ระบาดของโรคแมลง  แถมชาวบ้านยังเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกไว้ใช้กันเองได้

คณะศึกษาถั่วพื้นบ้านชุดนี้ เป็นกลุ่มเพื่อนๆ ที่มีความหลากหลายในอาชีพการงานและความสนใจ 9 คน ทำความเข้าใจร่วมกันเรื่องวัตถุประสงค์ในการศึกษาถั่วบ้านๆ ครั้งนี้ว่า ยังพอจะมีถั่วพื้นบ้านอะไรหลงเหลือไว้ในวิถีการกินการปลูกในชุมชน 9 แห่ง ทั่วประเทศไทยที่มีความแตกต่างกันไปอย่างหลากหลายตามความสนใจของผู้ศึกษา  เพื่อให้รู้ที่มาของการมีอยู่ และสาเหตุของการสูญหายไป เพื่อสืบค้นต่อยอดวิธีที่จะเรียนรู้ทำความเข้าใจ ปรับแปลงกระบวนท่าและลีลาของการรณรงค์บนฐานวิจัยที่จะนำไปใช้เพื่อให้ถั่วบ้านๆ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในวงกว้างมากยิ่งขึ้น  ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ เพื่อให้มีถั่วพื้นบ้านที่หลากหลายได้เลือกกินได้มากกว่าจะคล้ายเป็นภาวะจำยอมที่คุ้นเคยให้เลือกกินถั่วอยู่แค่ 3 – 4 ชนิด  แถมถั่วเศรษฐกิจที่มีการเมืองหนุนหลังอย่าง ถั่วเหลืองก็ถูกปรับแปลงไปเป็นถั่วจีเอ็มโออีกนั่น

กำพล
จรรยา
จิต

นักวิจัยอยู่ในต่างจังหวัด ในสภาพนิเวศน์วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 9 แห่ง ไล่ลงมาจากภาคเหนือ อีสาน ตะวันตก จรดใต้  ตั้งแต่ เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ อุทัยธานี  มหาสารคาม สุรินทร์ ยโสธร นครพนม ชุมพร   สุราษฎร์ธานี  สงขลา   ปัตตานี และสตูล  โดยมีหัวหน้าวิจัยทำหน้าที่ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องถั่วๆ ทั้งด้าน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ  ส่วนข้อมูลที่คณะทำงานต้องช่วยกันหา มีตั้งแต่ ตำรับเมนูถั่วของแต่ละที่  วิธีกิน วิธีปลูก คุณค่าโภชนาการแบบสมัยใหม่และความรู้องค์รวมของหมอพื้นบ้าน  การมีอยู่ การหายไป และการเดินทางของถั่วจากแหล่งที่ปลูกและเติบโตมาสู่มือคนกิน  และเศรษฐศาสตร์ – การเมืองเรื่องถั่วๆ

ฉู
ปู้ หัวหน้าคณะศึกษาถั่ว
พี่ยาย

จากผลการศึกษาระยะสั้น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ มกราคม 53  จนถึงวันนำเสนอผลการศึกษาวิจัยเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 53  นั้น พอให้เห็นภาพหวังอันทะเยอทะยานเกินตัวนี้ของคณะศึกษา ลางๆ   ว่ายังพอมี ถั่วพื้นบ้านมากกว่า 27 สายพันธุ์ ที่ปลูกและกินกันอยู่  บางถั่วพื้นบ้านยังมีกินมีปลูกและเป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างถั่วเหลือง(อินทรีย์) ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วพู  และยังมีถั่วอีกหลายชนิดที่แปลกทั้งชื่อ รูปร่างหน้าตา และวิธีนำไปกิน เช่น  ถั่วแปบ(หลากสี)  ถั่วอ้น  ถั่วบะบอย ถั่วปี๋ ถั่วเงาะ ถั่วไข่จิ้งหรีด และ อีกสารพัดถั่ว

ถั่วของพี่ยาย
ถั่วเน่า
ถั่วปากอ้า

ในวันเสนองานศึกษาทั้งคณะศึกษาและผู้ที่มาร่วมฟัง และแลกเปลี่ยน ต่างรู้สึกว่าเรายังมีหวังกับบรรดาถั่วๆ ที่แอบซ่อนตัวอยู่ในครัวและหัวไร่ปลายนา  เหมือนเมื่อครั้งหนึ่งที่เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกเคยนั่งประชุมปรึกษาและออกค้นคว้ารวบรวมข้าวพื้นบ้านเมื่อสัก 10 กว่าปีก่อน  ที่ในตอนเริ่มแรก เราไปพบไปเจอข้าวพื้นบ้านแปลกๆ ที่ยังมีกินมีปลูก และเมื่อทอดเวลาทำงานเพื่อค้นหา แลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าว และเก็บข้อมูลจากการปลูกทดลองในระบบเครือข่าย ปัจจุบันเราพบว่ามีข้าวพื้นบ้านยังอยู่เพิ่มขึ้นจากตอนแรกที่หาเจอแค่ 60 กว่าสายพันธุ์เป็น กว่า 130 สายพันธุ์ ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีเครือข่ายชาวนาที่ช่วยกันปลูกและศึกษากระจายกันอยู่ทั่วประเทศไทย

ถั่วแปบ
บ่แซโตว
บ้าบิ่นอิสลาม

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลทั้งหลายที่ได้กรุณาสละเวลา บอกเล่า แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ให้กับคณะทำงาน ซึ่งรวมไปถึงมื้ออาหารจานถั่วในครัวของแต่ละท่านในการเก็บข้อมูลภาคสนาม   ขอบคุณที่พวกเขายังเก็บรักษาความรู้และพันธุกรรม  วิถีการกินการใช้เอาไว้  ซึ่งทีมกินเปลี่ยนโลกจะติดตามข้อมูลผลการศึกษานี้มาเล่ามาแลกเปลี่ยนกันอีกที … โปรดติดตามค่ะ

แปจ่อ
แปจ่อเขียว
แปจ่อหล่อ

Relate Post