หอยหลอกหมึก วิถีประมงตราด

เมื่อดวง อาทิตย์เริ่มพ้นขอบฟ้า คลื่นลมไม่สูงมากนักอย่างในวันนี้ เรือประมงพื้นบ้านของก๋งนง หรือ ลุงจำนง บุญสัจจา ก็พร้อมออกทะเลไปกู้อวนหมึกสายที่วางไว้ตั้งแต่เมื่อวานขึ้นจากใต้ทะเลไม่ ไกลจากชายฝั่งมากนัก

การออกเรือวันนี้มีหลานชายสองคนคือ น้องโอ๊ต ด.ช.นิรุต ขาวคม และ น้องเฟิร์ส ด.ช.จิราวัฒน์ ขาวคม มาช่วยกู้อวนหมึกด้วย ช่วงปิดเทอมแบบนี้ เด็กๆ ลูกหลานชาวประมงบ้านแหลมกลัด ต.แหลมกลัด อ.เมือง จ.ตราด สามารถช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ ของคนในครอบครัวได้ไม่ยากนัก เพราะพวกเขามีโอกาสได้ช่วยและคลุกคลีมาตั้งแต่เด็ก

อวนหมึกที่จะกู้ ขึ้นมาวันนี้มีทั้งหมด 6 สาย ก๋งนงต้องขับเรือไปตามจุดที่ทำสัญลักษณ์ทุ่นและธง เมื่อไปถึงก็ค่อยๆ สาวอวนหมึกสายขึ้นมา วันนี้ก๋งปล่อยให้เป็นหน้าที่ของโอ๊ตและเฟิร์ส เด็กชายประจำตำแหน่งอยู่ที่หัวเรือ ระหว่างที่สาวอวนหมึกขึ้นมา เด็กๆ ต้องคอยสังเกตว่ามีหมึกติดมาหรือไม่

อวนหมึกสายเป็นเครื่องมือประมง ชนิดหนึ่ง ประดิษฐ์ขึ้นจากเปลือกหอยสังข์จุกพราหมณ์ร้อยเข้ากับเชือกห่างกันประมาณ 3 เมตร เป็นตัวล่อให้หมึกสายเข้ามาอาศัย ภูมิปัญญานี้เกิดจากการสังเกตธรรมชาติ เพราะหมึกสายสั้นมีนิสัยการหลบซ่อนศัตรูด้วยการเข้าไปอยู่อาศัยในเปลือกหอย จากการสังเกตธรรมชาติของสัตว์ทะเลชนิดนี้ทำให้อวนหมึกสาย มีชื่อตามวิธีการดักล่อว่า “หอยหลอกลวง” นั่นเอง

เมื่อมีหมึกติดมา หมึกสายบางตัวพุ่งตัวเพราะตกใจออกจากเปลือกหอยทันที แต่บางตัวก็แอบซ่อนมิดชิด

“วิธีการให้หมึกออกจากเปลือกหอยคือต้อง จุ่มลงไปในถังน้ำจืด แล้วหมึกจะรีบออกมาจากเปลือกหอย เพราะหมึกไม่ถูกกับน้ำจืด มีบางครั้งเหมือนกันที่หมึกพ่นหมึกใส่ผม บางตัวก็ดูดนิ้วหนึบหนับ” น้องเฟิร์สเล่าวิธีการให้ฟัง ในมือก็สาละวนดึงหมึกสายตัวหนึ่งออกจากมืออย่างทุลักทุเล สร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ร่วมออกเรือด้วยกัน แต่ในที่สุดหมึกสายจอมดื้อตัวนั้นก็ยอมแพ้แต่โดยดี


you01070553p2

หมึกสายสั้นอยู่ ในวงศ์ของหมึกยักษ์ แต่ตัวเล็กกว่าหมึกยักษ์มาก มีลำตัวคล้ายลูกโป่ง มีหนวดทั้งหมด 8 เส้น แต่ละเส้นมีความยาวใกล้เคียงกัน โคนหนวดแต่ละเส้นมีแผ่นหนังเชื่อมติดกัน ด้านในหนวดทุกเส้นมีปุ่มดูดเรียงกันเป็น 2 แถวใช้สำหรับจับเหยื่อเป็นอาหาร ลำตัวมีสีเทาอมดำหรือสีน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีขาว ชอบอยู่อาศัยซ่อนตัวตามพื้นที่โคลนปนทราย หรือตาม “โขด” ในภาษาถิ่นจ.ตราด

you01070553p3

การทำประมงด้วยการวางอวนหมึกสายแบบนี้ ลุงนงและชาวประมงพื้นบ้านรายอื่นๆ ในทะเลตราด สามารถทำได้เพียงชั่วเวลาสั้นๆ ก่อนถึงหน้าฝน ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม เมื่อฝนตก น้ำจืดไหลลงทะเล น้ำทะเลเจือจางลง การวางอวนหมึกแบบนี้ถือเป็นอันสิ้นสุดฤดูกาลหาอยู่หากิน แต่ทั้งนี้ชาวประมงยังสามารถทำประมงด้วยวิธีอื่นๆ ได้อีก

น้องโอ๊ต เล่าถึงอาชีพต่างๆ ที่ชาวประมงบ้านแหลมกลัดสามารถเลี้ยงชีวิตหมุนเวียนไปตามธรรมชาติได้อีกมาก มายไม่มีวันหมดว่า

“ประมงน้ำตื้นแบบนี้ตอนแรกวางหอยหมึก หลังจากนั้นก็งมหอยขาวที่หน้าหาด งมหอยขาวนี่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรก็จับได้ ใช้แต่มือเปล่า แล้ว วางอวนปลากระบอก ทำอาชีพเล็กๆ น้อยๆ ตอนน้ำจืดลงเราก็จะไปวางปลาไหลทะเล วางปลาดุก วางอวนปู วางอวนปลา หมุนเวียนได้ตลอดปีครับ”

แดดสายเริ่มแรงขึ้น แสงแดดสะท้อนผิว อากาศเริ่มร้อนอวนหมึกเส้นสุดท้ายถูกกู้ขึ้นจนแล้วเสร็จ ก๋งนงบ่ายหัวเรือกลับบ้าน เพื่อนำหมึกไปขาย งานชิ้นต่อไปของวันคือการขัดเพรียง หรือหนับทึบ ที่เกาะอยู่ที่เปลือกหอยสังข์ออกให้หมด จนกระทั่งสะอาด ดูแลและรักษาเครื่องมือของตนอย่างดี เพื่อใช้งานในคราวหน้า

วิถีชาว ประมงบ้านแหลมกลัดยังคงเรียบง่าย ยึดการทำประมงพื้นบ้านในแบบพึ่งพาหาอยู่หากินกับทะเลตามฤดูกาล หากินอย่างพอเพียง ไม่ตักตวงเอาประ โยชน์มากเกินความพอดี

“เรือใหญ่ พวกอวนรุน อวนลากพวกนั้นทำให้ปูปลาในทะเลหายหมด ถ้าเป็นเรือชาวบ้านเราหาตามกำลังความสามารถของเรา หาเท่าที่ได้ ขยันออกไปวาง ได้กลับมาพอขายเลี้ยงตัวได้ แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว ไม่ต้องออกไปทำงานดิ้นรนไกลๆ หรอก” ก๋งนงทิ้งท้าย เห็นภาพความสุขของคนบ้านแหลมกลัด

ติดตามวิถีประมงด้วยวิธีเลียนแบบ ธรรมชาติ กับเด็กๆ และชาวประมงบ้านแหลมกลัด จ.ตราด ในทุ่งแสงตะวัน ตอน หอยหลอกหมึก ในวันเสาร์ที่ 8 พ.ค. เวลา 06.25 น. ช่อง 3 www.payai.com

ที่มา : สดจากเยาวชน ภัทรภร ยอดนครจง ข่าวสด 7 พฤษภาคม 53

Relate Post