ข่า หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Alpinia galangal Linn เป็นสมุนไพรไทย มีฤทธิ์ในการรักษาหลายรูปแบบ โดยพบว่าฤทธิ์ในการเป็น anti-inflammmatory นั้นเกิดจากความสามารถในการลดการสร้าง prostaglandin ที่ยับยั้ง cyclooxygenase นอกจากนั้นมีรายงานว่าสารสกัด ในชั้น acetone ของข่ามีความสามารถในการยับยั้งฤทธิ์ในการกระตุ้นการสร้าง nitric oxide ของ liopopolysaccharide อีกด้วย จึงน่าจะมีการศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันกระดูกอ่อนในชั้นสารสกัดต่างๆของข่าใน การที่จะมาช่วยรักษาโรคข้ออักเสบให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
สำนัก งานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ รองศาสตราจารย์ ดร. ปรัชญา คงทวีเลิศ จากหน่วยวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อ ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ ดำเนินการวิจัยฤทธิ์ในการป้องกันกระดูกอ่อนของสารสกัดจากข่า(Alpinia galanga) และกลไกการป้องกันกระดูกอ่อนของสาร active compound, P- hydroxycinnamaldehyde เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากข่าในชั้นสกัดต่างๆ ต่อการป้องกันการสลายของกระดูกอ่อนหมูที่ทำการกระตุ้นการอักเสบด้วย IL- 1beta และทำการแยกสาร active compound เพื่อนำมาศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต่อในเซลล์กระดูกอ่อนมนุษย์
จาก การวิจัยพบว่า สารสกัดจากข่าที่สกัดด้วยตัวทำละลายต่างๆ ได้แก่ hexane, acetone, ethylacetate และ methanol เพื่อให้ได้ compounds ต่างๆ อย่างครอบคลุมจาก screening model คือ porcine cartilage explants พบว่าสารสกัดทั้งสี่มีฤทธิ์ในการยับยั้งของ IL-1beta ในการทำให้เกิดการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน โดยสารสกัดสามารถลดการสลาย ECM molecules ได้แก่ s-GAG และ HA จากเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนออกมาสู่ media ได้ ซึ่งพบว่าสารสกัดจากชั้น acetone มีฤทธิ์ในการยับยั้งมากที่สุด จึงทำการแยกสารสกัดในชั้น acetone นี้ต่อ เพื่อให้ได้ active compound และทำการศึกษาต่อไป ถึงกลไกในการยับยั้งฤทธิ์ของ IL-1beta ใน human articular chondrocyte จากการแยกสารต่างๆ ที่อยู่ในชั้นสกัด acetone โดยแต่ละ fraction จะถูกนำไปศึกษาฤทธิ์เบื้องต้นในการยับยั้งฤทธิ์ของ IL-1betaใน Porcine cartilage explants ซึ่ง fraction ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งฤทธิ์ของ IL-1beta มากที่สุด จะถูกทำการแยกต่อไปเรื่อยๆสุดท้ายพบว่า P-hydroxycinnamaldehyde คือ active compound ของสารสกัดในชั้น acetone จึงนำสารดังกล่าวมาศึกษาต่อลงไปถึงกลไกต่อไปใน human articular chondrocyte
นอกจากนี้ผลการศึกษาใน human articular chondrocyte (HAC) พบว่า P-hydroxycinnamaldehyde มีความสามารถในการลดการสลายของ ECM molecules ได้แก่ HA, s-GAG และ MMP-2 activity ที่ปลดปล่อยออกมาใน media จาก HACที่ถูก treated ด้วย IL-1beta ได้ ในการศึกษากลไกในการยับยั้งฤทธิ์ของ IL-1beta ของ P-hydroxycinnamaldehyde โดยศึกษาด้วยวิธี RT-PCR พบว่า IL-1bata มีฤทธิ์ที่สามารถลดการ expression ของ anabolic genes ได้แก่ type II collagen, sox9 และ aggrecan core protein ได้ ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถถูกยับยั้งได้อย่างมีนัยสำคัญด้วย P-hydroxycinnamaldehyde
สำหรับ catabolic พบว่า IL-1beta มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการ expression ของ catabolic molecules ได้แก่ MMP-1,-3 และ-13 ได้ซึ่งนำไปสู่การทำลาย Molecule ต่อไป
โดยสรุปผลการศึกษาใน screening model คือ porcine cartilage explants ที่ทำการกระตุ้นการสลายของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนด้วย IL-1beta พบว่า สารสกัดจากข่าทั้ง 4 ชั้นสารสกัด คือ hexane, acetone, ethylacetate และ methanol นั้นสามารถยับยั้งฤทธิ์ของ IL-beta ได้ โดยพบว่าสารสกัดจากชั้น acetone มีความสามารถในการยับยั้งมากที่สุด โดยเมื่อทำการแยกลงต่อไปในสารสกัดจากชั้นนี้ พบว่ามี p- hexane, acetone, ethylacetate เป็น active compound เมื่อทำการศึกษาฤทธิ์ของ P- hexane,acetone,ethylacetate ใน HAC พบว่าสาร active compound นี้มีความสามารถในการยับยั้งฤทธิ์ IL-1beta ได้ใน HAC โดยพบว่าสามารถลดการสลายของ ECM molecules ได้แก่ HA, s-GAG และ MMp-2 จาก HAC ออกมาสู่ media ได้ นอกจากนี้ในการศึกษาลงไปในส่วนของกลไก พบว่า P-hexane,acetone,ethylacetate สามารถลดการแสดงออกของ catabolic genes ได้แก่ MMP-3,-13 ได้และยังสามารถเพิ่มการแสดงออกของ anaboloic genes ได้แก่ type II collagen, SOX9 และ aggrecan core protein ได้ จากการศึกษาใน in vitro model แสดงให้เห็นว่า p-hexane,acetone, ethylacetate มีฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบของกระดูกอ่อนได้ จึงเป็นที่น่าสนใจในการศึกษาเพิ่มเติมใน in vivo model ต่อไป เพื่อพัฒนาต่อไปเป็นยารักษาอาการอักเสบและโรคข้ออักเสบต่อไป
ที่มา : แนวหน้า 3 พ.ค. 53