ระหว่าง วันที่ ๑๙-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ คนไทยจำนวนไม่น้อย ที่ได้รับฟังธรรมจาก ท่านติช นัท ฮันท์ พระมหาเถระชาวเวียดนาม ในพระพุทธศาสนานิกายเซนมหายาน องค์สำคัญของโลก แห่งหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส
ท่านเดินทางมาตามคำนิมนต์ของรัฐบาลไทย โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) เพื่อร่วมในการประชุมวิชาการชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่ ๔ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖-๓๑ พฤษภาคม ที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน กทม.
ทั้งนี้ในวันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ เวลา ๑๐.๐๐ น. ท่านติช นัท ฮันท์ ได้ปาฐกถาเรื่อง ?พระพุทธศาสนากับธรรมาภิบาลและการพัฒนา?
อย่าง ไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ ท่านติช นัท ฮันท์ อยู่ในประเทศไทย ทุกย่างก้าวและทุกสถานที่ที่ท่านไปปรากฏตัว จะได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน รวมทั้งญาติธรรมอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งหนึ่งที่สร้างความปวดหัว และถูกตั้งข้อสงสัยให้ มจร. ซึ่งเป็นผู้ที่รับรองให้การดูแลตลอดระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทย คือ
“ไม่ ว่าท่านติช นัท ฮันท์ เดินทางไปที่ไหน หากต้องฉันอาหาร หน่วยงานนั้นๆ จะต้องเตรียมห้องครัวเพื่อประกอบอาหารเจให้ท่านฉันโดยเฉพาะ แม้กระทั่งในวันที่แสดงปาฐกถา ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ คณะศิษย์ยังขอให้จัดห้องครัวให้โดยเฉพาะ แต่ด้วยกฎระเบียบของศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ที่ไม่อนุญาตให้ใครไปประกอบอาหารเองได้ มจร.จึงต้องหาสถานที่ใกล้เคียงจัดเป็นห้องครัวให้ โดยได้ห้องครัวที่วัดเบญจมบพิตร ในขณะที่วันที่ได้รับนิมนต์มางานเลี้ยงรับรองที่ทำเนียบรัฐบาล ก็ต้องจัดห้องครัวที่ทำเนียบสำหรับประกอบอาหารให้ท่านฉัน”
จาก การสอบถามคณะศิษย์ที่ติดตาม ให้ข้อมูลว่า “ทุกครั้งที่ท่านติช นัท ฮันท์ เดินทางไปประเทศใด ก็ตาม จะมีครัวส่วนตัวตามไปด้วย โดยจะมีอาหาร เครื่องครัว และภิกษุณี ๓-๔ รูป ที่เตรียมประกอบอาหารสำหรับให้ท่านฉันโดยเฉพาะ ส่วนอาหารที่ญาติโยมทำถวายนั้น แม้ว่าจะเป็นอาหารเจ และปรุงด้วยกุ๊กฝีมือเยี่ยม ท่านจะฉันเพียงเล็กน้อย หรือไม่ฉันเลย แต่จะฉันเฉพาะอาหารจากการปรุงของภิกษุณีจากหมู่บ้านพลัมเท่านั้น”
แม้ ว่าการจัดอาหารให้ท่านติช นัท ฮันท์ ฉันจะดูเป็นเรื่องวุ่นวาย สำหรับผู้ไม่คุ้นเคย แต่วิธีการฉันหรือรับประทานที่เราทำอยู่ทุกวัน กลับเป็นแนวปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งของหมู่บ้านพลัม ซึ่งชื่อนี้แม้ว่าจะไม่เป็นที่คุ้นเคยในประเทศไทย แต่สำหรับชาวพุทธในประเทศฝรั่งเศสแล้ว ย่อมรู้ชื่อหมู่บ้านนี้เป็นอย่างดี เพราะหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส และมีลักษณะเป็นสถานปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ โดยมีทั้งสิ้น ๑๒ แห่ง อยู่ในประเทศฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมนี และเวียดนาม นอกจากนี้มีกลุ่มปฏิบัติธรรมกระจายอยู่หลายประเทศ ทั่วโลก เกือบ ๑,๐๐๐ กลุ่ม
ท่าน ติช นัท ฮันห์ จัดตั้ง “หมู่บ้านพลัม” ขึ้นเพื่อเป็นชุมชนแบบอย่างการปฏิบัติธรรมแห่งพุทธบริษัท ๔ ที่เน้นการเจริญสติในชีวิต ประจำวันอย่างตระหนัก รู้ในแต่ละลมหายใจเข้าออก และกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ เช่น เดิน นั่ง ทำงาน รับประทานอาหาร เป็นต้น และไม่เพียงแต่ในห้องปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติในครัว ในห้องน้ำ ในห้องพัก และระหว่างทางเดินด้วยในการฝึกปฏิบัติร่วมกันในสังฆะเป็นชุมชน การรับประทานอาหารด้วยกัน (Eating together) ก็เป็น การฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง แนวทางปฏิบัติของ ท่านติช นัท ฮันห์ ระหว่างการรับประทานอาหาร คือ การดำรงอยู่ของเราต่ออาหารทุกมื้อ เมื่อเราตักอาหาร เราก็เริ่มต้นการฝึก เราตระหนักถึงธาตุต่างๆ เช่น สายฝน แสงแดด ผืนแผ่นดิน และความรัก มาประกอบรวมกันเป็นอาหารอันมหัศจรรย์มื้อนี้ ที่จริงแล้วจากอาหารมื้อนี้ เรามองเห็นถึงจักรวาลทั้งมวล เกื้อหนุน การดำรงอยู่ของเรา
เมื่อ ตักอาหาร เราควรตักในปริมาณพอดี ก่อนรับประทาน ระฆังแห่งสติจะถูกเชิญสามครั้ง เราสามารถเบิกบานกับการหายใจเข้าออกด้วยบทพิจารณาอาหาร ๕ ประการ
- อาหารนี้เป็นของกำนัลแห่งจักรวาล พื้นดิน ท้องฟ้า สรรพชีวิต และการทำงานหนักด้วยความรัก ความเอาใจใส่
- ขอให้เรารับประทานอาหารอย่างมีสติ และด้วยความระลึกรู้บุญคุณ เพื่อให้เรามีคุณค่าเพียงพอที่จะรับอาหารนี้
- ขอให้เราตระหนักรู้และเปลี่ยนแปรสภาวะจิตที่ไม่ก่อประโยชน์ โดยเฉพาะความโลภ
- ขอให้เราเพียงแต่รับประทานอาหารที่บำรุงหล่อเลี้ยงและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และ
- เรายอมรับอาหารนี้เพื่อที่เราจะได้บำรุงรักษาความรักฉันพี่น้อง สร้างสังฆะ และหล่อเลี้ยงอุดมคติแห่งการรับใช้สรรพชีวิต
นอกจากนี้แล้ว ควรเคี้ยวอาหารอย่างน้อย ๓๐ ครั้งต่อคำ จนกระทั่งอาหารละเอียด ซึ่งช่วยระบบย่อยอาหารได้ ทำให้เราเบิกบาน ในแต่ละคำของอาหาร และการรับประทานร่วมกันของกัลยาณมิตร ให้เรารู้ตัวทั่วพร้อม ในปัจจุบันขณะ การรับประทานอาหารด้วยวิธีนี้นั้นมั่นคง เบิกบานและสงบสันติการรับประทานอาหารอย่างสงบ อาหารกลายเป็นจริง ด้วยสติของเราเปี่ยมด้วยความตระหนัก รู้ต่อการบำรุงเลี้ยงร่างกาย เพื่อที่จะปฏิบัติลงลึกในการรับประทานอาหารอย่างมีสติ และเสริมสร้างบรรยากาศอันสงบสันติ
เรายังคงนั่งอยู่อย่างนิ่งเงียบ หลังจาก ๒๐ นาทีของการรับประทานอาหารอย่างสงบ เมื่อระฆังแห่งสติดังขึ้นสองครั้ง เราอาจจะเริ่มพูดคุยกับเพื่อนๆ อย่างมีสติ หรือเริ่มลุกจากโต๊ะหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว จะใช้เวลาสักครู่หนึ่งเฝ้าสังเกตว่า เรารับประทานอาหารเสร็จแล้ว ขณะนี้ชามของเราว่างเปล่า และความหิวได้ถูกระงับไปแล้ว เราสำนึกถึงบุญคุณว่า เราช่างโชคดีเหลือเกิน ที่ได้มีอาหารบำรุงเลี้ยงร่างกาย ช่วยสนับสนุนเราบนหนทางแห่งความรัก และความเข้าใจ
ที่มา : คม ชัด ลึก 29 พฤษภาคม 2550
อ้างจาก http://board.palungjit.com/archive/index.php/t-80857.htm