ขอบคุณค่ะ
คุณบุณย์ตาเขียนได้น่าชื่นใจ ดีใจที่มีเพื่อนๆคิดถึงกัน
จริงๆแล้วเราก็อยากจะเขียนลงในบล็อกเหมือนกัน อยากจะคุย อยากจะเล่าให้ฟังว่า การผลิตงาแบบอินทรีย์แบบที่เราทำ
สำหรับ ผู้ผลิตรายเล็กๆนั้นมันมีความหมายมาก เพราะต้องใช้เวลาและแรงงานมากมายจริงๆในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการปลูก เก็บเกี่ยว มัด ตาก จนกระทั่งเคาะเมล็ดออก ฝัดแยกเศษใบงา เปลือกและฝักออก จนกระทั่งการใช้แรงลมช่วยในการแยกเมล็ดงาลีบ และฝุ่นออก จนถึงการเก็บรักษาที่ต้องยอมรับบ้างกับปัญหาแมลง อาจจะมีรังมอดบ้าง เมื่อนำมาทำน้ำมันงาด้วยเครื่องบีบ เราก็ต้องนำมาล้างตากแดดหลายๆแดด เพื่อให้แห้งก่อนบีบน้ำมัน
(ในส่วนนี้นกกำลังจะเขียนเรื่องลงบล็อก เล่ารายละเอียดของการผลิตงาอินทรีย์ แบบเล็กๆ small scale แบบที่เราทำน่ะค่ะว่า มันทำไมจึงขายในราคาที่ถูกมากไม่ได้ แล้วจะเมลล์ไปให้นะคะ) ในขณะเดียวกันที่ปัจจุบันมีงาจากพม่า จากลาว ซึ่งราคาถูกกว่ามาก เข้ามา แล้วผู้ผลิตน้ำมันงาส่วนหนึ่ง ก็นำมาใช้บีบน้ำมัน ทำให้จำหน่ายได้ในราคาถูก ซึ่งบางทีเขาก็เคลมว่าของเขาเป็นอินทรีย์ (ในประเด็นนี้ก็เชื่อมโยงกับเรื่องของการเปิดเสรีนำเข้าสินค้าเกษตร) และที่เราไม่สามารถรู้ได้ก็คือ กรรมวิธีการผลิตงาที่นำเข้ามานี้มีการใช้สารเคมีหรือไม่ อย่างไร
ที่ สำคัญคือเรื่องของการเก็บรักษา เพราะงา รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ (พวกถั่วและธัญพืช) ที่มีการเก็บแบบล็อตใหญ่ๆเพื่อการส่งออกและนำเข้าทีละมากๆนั้น เขาจะใช้วิธีการรมยากัน วิธีการรมยานี้ เพื่อกำจัดไข่ของมอดแมลงที่ติดมา เพื่อป้องกันความเสียหายของวัตถุดิบ(มีข้อมูลเพิ่มเติมใน การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บโดยใช้สารเคมี) จึงไม่อาจจะเคลมได้ว่า เป็นผลผลิต “อินทรีย์ ” ซึ่งผู้ผลิตบางรายอาจจะไม่เข้าใจว่าคำว่าอินทรีย์คืออะไร เขาก็อาจจะคิดว่า ของเขาปลอดภัยและเป็นอินทรีย์ เพราะไม่ได้ใช้สารเคมีโดยตรง และที่สำคัญคือ ผู้บริโภคจะแยกแยะในการเลือกซื้อสินค้า คำว่า “อินทรีย์” นั้น ได้อย่างไร?
บางทีเราอาจจะต้องเรียนรู้กันและกันให้มากกว่าการเชื่อ เพียงคำบอกเล่าที่อยู่บนฉลากสินค้า หรือเพียงตรารับรองมาตรฐานที่บางที มันอาจไม่ใช่ “ความจริง” สิ่งนี้เอง เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคเองมักจะ “เชื่อ” โดยไม่เคยตั้งคำถามอะไรกับมัน
เราจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับ ประเด็นที่ว่า “ นอกจากความรู้ในการถามถึงขบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่เราต้อง ตั้งคำถามดีๆ เวลาจะเลือกซื้อเลือกกินแล้ว การได้ลงไปคุยและลุยดูถึงแปลง ถึงไร่-สวนแบบนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราคนกินได้รู้จักและเข้าใจของที่กินและคนที่ทำให้เรา กินใช้ได้มากยิ่งขึ้น …. แต่วิธีไหนล่ะที่จะรวมพลผู้สนใจได้ผล?”
ขอ ขอบคุณมากๆที่หวังดีและช่วยเป็นพื้นที่ที่ให้เราได้นำเสนอเรื่องราวของ เกษตรกรผู้ผลิตรายเล็กๆ ที่ไม่ค่อยมีพื้นที่นักอย่างเรา ฝากขอบคุณผู้เขียนมาด้วยนะคะ
เอาไว้มีโอกาสอยากจะทำค่ายในลักษณะนี้ที่เกษตรกรผู้ผลิตรายเล็กอย่างเรา กับผู้บริโภคได้มาเจอกัน แล้วมีโอกาสคงได้คุยกันนะคะ
รัก
นก-กำพล และหลานขิง
ไร่ดินดีใจ หนองฉาง อุทัยธานี
เอกสารแนบ
เรื่องการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูในโรงเก็บโดยใช้สารเคมี
เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติ เพราะเป็นการป้องกันและกำจัดที่ได้ผลและรวดเร็ว แต่ต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของเมล็ดพืช ถ้าใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ก็อาจใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์นาน และอัตราสูงได้ แต่ถ้าใช้ในเมล็ดเพื่อการบริโภค ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยใช้สารที่สลายตัวได้ในเวลาที่กำหนด และควรใช้ในตามคำแนะนำ
สารฆ่าแมลงที่ใช้สำหรับผลิตผลในโรงเก็บ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
2.1 สารฆ่าแมลง มีทั้งชนิดของเหลว และผง มีคุณสมบัติในการฆ่าแมลงทั้งถูกตัวตาย กินแล้วตาย หรือได้กลิ่นหรือไอระเหยตาย สารฆ่าแมลงที่มีความเป็นพิษต่ำ ในกลุ่มออแกโนฟอสฟอรัส ได้แก่ fenitrothion (ชื่อการค้า :Sumithion) chlorpyrifos methyl (ชื่อการค้า :Reldan) methacrifos (ชื่อการค้า :Damfin) และ dichlorvos ในกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ได้แก่ permithrin, cypermethrin (ชื่อการค้า :K-orthene) deltamethrin (ชื่อการค้า :Ripcord) และ betacyfluthrin
2.2 สารรม เป็นสารเคมีที่เป็นพิษ ในรูปของไอหรือควัน มีลักษณะเป็นเม็ด ของเหลว หรือก๊าซ สารพิษจะออกฤทธิ์ในรูปก๊าซ มีผลทำให้แมลงตาย สารที่สำคัญและนิยมใช้ คือ
1). การพ่นภายในและภายนอกโรงเก็บ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีแมลงรอดชีวิตอยู่ ควรกระทำหลังทำความสะอาดโรงเก็บ ก่อนที่จะนำผลิตผลเข้าเก็บ โดยใช้สารฆ่าแมลง เช่น phoxim, fenitrothion และ chlorpyrifos methyl อัตรา 0.5–2.0 g.ai/m2. พ่นตามพื้นและฝาโรงเก็บให้ทั่ว
2). การพ่นแบบหมอกควัน โดยใช้เครื่องพ่นหมอกควัน พ่นไปบนกองเมล็ดพืชที่เก็บไว้ในยุ้งฉาง โรงเก็บ หรือห้องที่มีสภาพปิดได้มิดชิด วิธีนี้สามารถกำจัดผีเสื้อข้าวเปลือก ได้เป็นอย่างดี สารฆ่าแมลงที่ใช้คือ fenitrothion อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือ esbioallethrin deltamethrin (DeltacideR ) อัตรา 5 มิลลิลิตร ผสมน้ำมันโซล่า 100 มิลลิลิตร ต่อข้าวเปลือก 6 ตัน
(ข้อมูลจากเวบไซต์ของกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ www.brrd.in.th/rkb)
เรื่องที่เกี่ยวข้อง