ของกินที่หอบมาจากตลาดสดของเกาะแห่งนี้ถูกแพ็คใส่กระเป๋า เตรียมเดินทางกลับ
ระหว่างพรรคพวก ฟ้าที่เห็นบนผืนน้ำกว่างใหญ่ตรงหน้าเริ่มมีแสงจ้าจากดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น หากแต่ฉันกลับนึกไปถึงเรื่องราว เมื่อค่ำคืนที่คุยกันกับเจ้าบ้าน
หากจะว่ากันตามจริง “เลสาบ” แห่งนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า “ทะเลสาบสงขลา” แต่ว่าคนที่นี่อยู่พัทลุงและเรียกมันว่า “เลสาบ” มาเนิ่นนาน”
พี่แดงเล่าว่าในวัยเด็กมีบางช่วงที่น้ำลด แกเคยพายเรือลัดตรงไปกลางเลสาบไปหาที่ดอนในนั้นเพื่อปลูกข้าว ชาวบ้านแถบนี้ทำกันอย่างนั้นจึงมีข้าวกิน แต่เดี๋ยวนี้นาข้าวในที่ดอนของ เลสาบไม่มีเหลืออยู่แล้ว แม้แต่ที่รอบๆ เลสาบหรือบนเกาะหมากก็ไม่มีเช่นกัน
ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นใ ช่วงเวลาหนึ่งที่เหมือนยาวนาน หากแต่เหตุการณ์เฉพาะหน้าที่กำลังเกิดขึ้นกับผู้คนแถบนี้ ดูจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า in trend สุดๆ
“ที่นี่เป็นแหล่งกุ้งก้ามกราม กุ้งขึ้นเยอะมากที่นี่ แต่ปีนี้กุ้งมีน้อยมาก น้ำมันเค็มจัด” พี่แดงเอ่ยกลางแสงสลัว เมื่อเราถามหาของดีของที่นี่กิน
ปกติแล้ว น้ำในเลสาบจะเป็นน้ำกร่อย ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์สัตว์น้ำกร่อย ซึ่งกุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่ชอบสภาพนิเวศน์แบบนั้น มันโตและขยายพันธุ์ และผู้คนที่นี่ก็จับหากินและค้า ขายกันเป็นล่ำเป็นสันมายาวนาน
ที่นี่ไม่เหมือนชายฝั่งทะเลหรือ ปากแม่น้ำ เพราะไม่มีน้ำขึ้นน้ำลงวันละ 2 รอบ หากแต่น้ำจะทรง และขึ้นลงเป็นฤดู
ครั้นพอเริ่มมี Demand มากกว่า Supply คนที่นี่เริ่มคิดทำ “ธนาคารกุ้งก้ามกราม” กัน โดยวิธีแบบพื้นบ้านง่ายๆ คือ เมื่อจับตัวแม่กุ้งก้ามกรามได้ ก็จะเอามาใส่ในเขตเพาะเลี้ยง ให้มันสลัดไข่ และฟักออกเป็นตัว
ในประชาคมกุ้มก้ามกราม ตัวที่เป็นผู้นำถูกจับไป ตัวที่เข้มแข็งที่สุดในฝูงที่เหลืออยู่จะพัฒนาตัวเองมาเป็นผู้นำกุ้งก้ามกรามตัวใหม่ … เช่นนี้เอง
วิธีล่อกุ้งก้ามกรามให้เข้ามาติดไซง่ายมากสำหรับคนที่นี่ แค่ใช้เนื้อมะพร้าวใส่ไว้ในซั้งล่อกุ้ง แช่่น้ำทิ้งไว้เพียงข้ามคืน ตอนเช้าก็ไปกู้ซั้งขึ้นมา
ซั้งต่างจากไซนั่งที่เราเห็นในเลสาบเช้านั้น เพราะมันอันเล็กกว่าและจมอยู่ในเล
พวกเราคุยกันท่ามกลางความมืด สันนิษฐานกันไปถึงสาเหตุของความเค็มของน้ำที่เกิดขึ้น
สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามันร้อนแล้ง แต่อาจจะเป็นลำดับรองลงมาจากสาเหตุอื่น
รอบๆ เลสาบ กำลังถูกส่งเสริมให้เป็นพื้นที่ปลูกปาล์ม พืชน้ำมันที่ต้องการน้ำและความชื้นสูง
การขยายตัวจากการส่งเสริมการปลูกปาล์ม นำไปสู่การวิจารณ์วิพากษ์อย่างกว้างขวางของคนในพื้นที่รอบๆ เลสาบ ทั้งในเขตจังหวัดพัทลุงและสงขลา
ที่ อ.ระโนด จ.สงขลา พื้นที่ที่เคยมีการจัดสรรระบบชลประทานเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวเป็นรายได้หลักของชาวนาที่นี่ กำลังพลิกโฉมไปสู่การเปลี่ยนนาเป็นแปลงปาล์มอย่างกว้างขวาง ภายใต้งบประมาณที่อัดฉีดเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต ชาวนาบางส่วนที่ไม่ยอมเปลี่ยนนาเป็นปาล์มก็ต้องเจอสภาพแปลงปาล์มล้อมนา
ที่พัทลุง พื้นที่ที่ส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวพื้นบ้านยอดนิยมของคนภายใต้ อย่างข้าวพันธุ์สังหยด ซึ่งมีอนาคตที่ไปได้ไกลของผู้บริโภคภายในท้องถิ่นนิยมกินเพราะมีดีทั้งรส กลิ่น เนื้อสัมผัส ตามรสนิยมของพวกเขาบวกเอากับคุณค่าทางโภชนาการ ที่อุดมด้วยวิตามินB ธาตุเหล็ก และเยื่อใย อาจะต้องเบียดขับกับพืชส่งเสริมตัวใหม่ด้วยเช่นกัน
หลังจากพลาดโอกาสชอปปิ้งกุ้งก้ามกรามอย่างแสนเสียดาย
สุดท้ายก็ต้องหันมามองมาดูของที่มีมากมายอยู่ตรงหน้า … ของที่เพิ่งได้มาจากตลาดแห่งนั้น
ก็จ่อมที่ว่าค้างมาแต่ตอนที่แล้วนั่นแหละ
ลงมือเก็บพริกสอด ปอกหอม ปอกกระเทียม เอาไปคั่วในกระทะด้วยไฟอ่อนๆ ให้มันค่อยๆ หอมเกรียมๆ
จากนั้นก็เอาทั้งพริก หอม กระเทียมที่คั่วหอมเกรียมแล้วนั่นมาตำหยาบๆ
ตั้งกระทะอีกที ใส่น้ำครึ่งถ้วย เอากุ้งจ่อมลงไปต้มให้เดือดแล้วใส่เครื่องพริกกระเทียมหอมคั่วที่ต่ำลงไป
เคล้าให้เข้ากัน ยกลงจากเตา ตักใส่ถ้วย โรยด้วยใบตะไคร้ซอย
กุ้งจ่อมจากตลาดสดที่เกาะหมาก กับเครื่องปรุงสำคัญที่่ไม่อาจขาด หอมแดง กระเทียม พริกขี้หนูสวน
พริก หอม กระเทียม คั่วไฟอ่อนให้หอม
ต้มให้สุก ในน้ำเดือดจัด
กินกับผักสดอย่างมะเขือเปาะ แตงไทย และดอกอัญชัน
ปากกินกุ้งจ่อมกับผักสดจนหมด ไปแล้ว
ใจติดใจคิดถึงไปถึง กุ้งก้ามกรามที่คนที่นั้นยังรอคอย
แว่วๆ ว่า เริ่มมีการเอากุ้งก้ามกรามมาปล่อย ที่นั่น เพราะว่ามันทนน้ำกร่อย
แล้วเรายังจะหวังว่าจะได้ลิ้มรส อร่อยของกุ้มก้ามกรามชื่อดัง แห่งเกาะหมาก ปากพยูนได้อีกไหมหว่า?
ระหว่างทางกลับมาหาดใหญ่ เจอเต้นท์ขึ้นกุ้งขาวอยู่บนถนน เลยแวะดู
ผู้คนขมักเขม้นแย่งแข็งขัน
ถังที่ใส่น้ำแข็งและกุ้งขาวเป็นชั้นๆ แล้วเรียงไว้เป็นระเบียบในตู้แช่เย็น
กำลังขึ้นกุ้งขาวจากบ่อ เอาเรียงขึ้นรถมาส่งจุดรับซื้อ ที่ตั้งอยู่ห่างไม่เกินครึ่ง กิโลเมตร
ขณะที่ฟากหนึ่งเอาท่อสูบน้ำออกเพื่อจับกุ้ง อีกฟากมุมของบ่อก็มีการสาดผงขาวๆ นัยว่าเพื่อฆ่าเชื้อในบ่อ!!!!