ทุนนิยาม 101 : พลังหญิงแห่งเคปทาวน์ กับการก้าวเป็นผู้นำในธุรกิจสวนผักเพื่อสังคม

ทุกๆ วันอังคาร มักจะเป็นวันที่ยุ่งสำหรับเจ้าหน้าที่โครงการการเกษตรที่ชื่อ Abalimi Bezekhaya[i]  ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานอยู่ทั่วเมืองเคปทาวน์ (Cape Town) แอฟริกาใต้

พริกไทย มะเขือยาว กะหล่ำปลี บีทรูท และผักชนิดอื่นๆ จะถูกรวบรวมจากสวนผักต่างๆ หลังจากนั้นก็เป็นการแยกชนิด จัดใส่กล่อง และถูกจัดส่งไปยัง 25 จุดทั่วเมืองในทุกวันอังคาร แต่ในวันอังคารหนึ่งของเดือนกุมภาพันธ์ก็ปัญหาเกิดขึ้น โดยในรายชื่อของผักชนิดต่างๆ ที่มีกระเทียมรวมอยู่ด้วย แต่ปรากฏว่ากระเทียมนั้นขาดแคลน

“วิกฤตของทุกวันนี้คืออะไร” Rob Small ผู้อำนวยการร่วมและผู้ก่อตั้ง Abalimi Bezekhaya ตั้งคำถาม “ผมคิดว่ามันน่าจะเป็นเพราะนี่” เขาพูดพร้อมชี้ไปที่กล่องกระเทียมที่เหลือ

แม้จะมีอุปสรรครายวันเกิดขึ้น แต่ Small กับ เจ้าหน้าที่ของเขาก็ประสบความสำเร็จในการดำเนินการธุรกิจทางสังคม ครอบคลุมไปถึงการอบรม การสนับสนุนทางการเงิน และความปลอดภัยทางด้านอาหารของชาวไร่ชาวสวนเล็กๆ สามารถเข้าถึงผู้คนประมาณ 15,000 คน และชาวไร่ชาวสวนอีก 3,000 คน โดยมีสัดส่วนจำนวนสมาชิก 5 คนต่อครอบครัว พวกเขาทั้งหมดนี้อาศัยอยู่ในเมืองที่ประชาชนถูกลิดรอนสิทธิความเท่าเทียมมา ยาวนาน ที่ซึ่งมีอัตราอาชญากรรมสูง โอกาสในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ก็น้อยลงด้วย และมีผู้ว่างงานมากกว่า 30-40% นับตั้งแต่วันที่แบ่งแยกสีผิว[ii]

ธุรกิจที่ทำกำไรทางสังคมของ Abalimi คือ การเก็บเกี่ยวความหวัง บนพื้นฐานของโมเดลการเกษตรที่มีการสนับสนุนทางสังคม ตอบแทนลูกค้าที่จ่ายล่วงหน้าด้วยกล่องผักที่สดใหม่ ปลูกด้วยกรรมวิธีออร์แกนิกในแต่ละสัปดาห์

เป้าหมายหลักของ Abalimi คือ การเข้าถึงอาหารท้องถิ่นที่สดใหม่และการรักษาความปลอดภัยทางโภชนาการ โดยการผสานกันระหว่างแผนการการดำรงชีพและสวนตามชุมชนต่างๆ เน้นพูดถึง 3 ปัญหาหลักๆ ที่เรื้อรังมานานมากที่สุดของแอฟริกา นั่นคือ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาการไร้ที่ยืนของชนกลุ่มน้อย และปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางโภชนาการ ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ มูลนิธิ/ผู้ที่มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ และผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก

“ทุกวันนี้ การทำการกุศลของคุณหมายถึงการทำให้ผู้คนอ่อนแอลง” Small กล่าวถึงผลในเชิงลบที่มากับองค์กรไม่แสวงผลกำไร “แต่การทำธุรกิจทางสังคมนั้นดำเนินไปโดยผลประโยชน์ที่มีหัวใจ ในขณะที่ปัจเจกนั้นได้รับเกียรติและได้รับการยอมรับในสังคมด้วย”

Liziwe Stofile อาศัยอยู่ที่เมือง Khayelitsha เป็น เมืองเล็กๆ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเคปทาวน์ เธอทำหน้าที่อบรมชาวสวนที่เข้ามาใหม่ เธออธิบายว่าในจังหวัดบ้านเกิดของเธอซึ่งอยู่ที่เคปทาวน์ตะวันออกนั้น ชาวแอฟริกาส่วนน้อยนั้นจะได้กินผักอย่าง chard[iii]  พริก ไทย หรือถั่วเขียว ในทางตรงกันข้ามพวกเขาเติบโตมาด้วยพืชผลอย่างมันฝรั่ง พืชตระกูลน้ำเต้า และข้าวโพด ซึ่งเป็นประเภทที่ให้คุณค่าและความแตกต่างทางสารอาหารน้อยกว่าอาหารที่เธอได้กินทุกวันนี้

“อะไรที่เกิดขึ้นในตอนนี้” Vatiswa Dunjana ผู้อบรมอีกคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเมือง Nyanga ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ของคนดำกล่าว “คือเรากำลังเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ว่าจะปรุงอย่างไร ต้องต้มสุกขนาดไหน ผักชนิดไหนที่กินดิบได้ แล้วมันให้ผลดีส่งเสริมร่างกายของเราไหม”

อาหารถูกผลิตโดยชาวสวนของ Abalimi จะต้องถูกนำไปสู่ครอบครัวของเขาเป็นอันดับแรก และลูกค้าหลักที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่มาจาก “การเก็บเกี่ยวเพื่อความหวัง” นั้นไม่ใช่คนที่อาศัยอยู่ในเมือง แต่เป็นพวกคนขาวล่ำซำที่อาศัยอยู่ชานเมืองเคปทาวน์

อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้วมักจะมีคนที่อาศัยอยู่ในเมืองมาซื้อผักทีละเล็กละน้อยจากสวนใกล้บ้าน Stofile กล่าวว่าสเกลการซื้อขายเล็กๆ เหล่านี้ค่อยๆเปลี่ยนรสนิยมการบริโภคของคนในเมืองอย่างช้าๆ “ชาวสวนกำลังสร้างความแตกต่างของพืชผลให้มีความหลากชนิด เพื่อสนองความต้องการของชุมชน พวกเขาไม่ต้องการซื้อกระเทียม ต้นหอม หรือซูกินี[iv] แต่เขาต้องการซื้อสปิแนช หัวหอมใหญ่ หรืออาจจะแค่ต้นหอมอ่อนเล็กน้อยเวลาทำ imifino[v]

Small กระตุ้นให้การค้าแบบนี้เกิดในเมืองและหวังว่ามันจะกระจายตัวออกไปสู่ตลาดท้องถิ่นในอนาคต แต่เขากล่าวว่า Abalimi มีแผนที่จะเกาะกลุ่มกับ CSA mode[vi]l  แม้ว่าชาวบ้านในเขตเมืองยังไม่สามารถจะจ่ายได้ก็ตาม “CSA model เป็นระบบที่มีจิตสำนึก ปฏิบัติจริงได้ และยุติธรรมสำหรับธุรกิจทางสังคมที่สุดบนโลกใบนี้ เที่ยงธรรมและยุติธรรม 1,000% สำหรับเกษตรกร” Small กล่าว

เมื่อกล่าวถึงความท้าทายในการดำเนินงานของ Abalimi Small คือ ปัญหาคุณภาพดินที่แย่ ปัญหาน้ำค้างใต้ต้นไม้ในตอนเช้า และปัญหาการกำจัดแมลงโดยไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช แต่ปัญหานั้นก็ทำอะไรเขาได้ไม่มาก ทั้งการปลูกผักและผลไม้ออร์แกนิก และการทำงานทางความคิดกับผู้ร่วมงาน

“ถ้านึกย้อนกลับไป คุณอาจจะอยู่ในกลุ่มชน หรือชนเผ่าที่ปกครองโดยราชาหรือราชินีก็ตามแต่ แต่ที่นี่ในทวีปแอฟริกา ความรู้สึก สำนึกของความเป็นชนเผ่านั้นเป็นอะไรที่ยังคงดำรงตลอดเวลา และยังคงพบเห็นได้อยู่ตลอด” Small กล่าว เขายังเพิ่มเติมอีกว่า ระบบความสัมพันธ์ในแอฟริกานั้นมีความสำคัญมากกว่าที่เห็นเสียอีก

Small ย้อน ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ว่า ผักที่จะต้องแช่แข็งก่อนการส่งให้ลูกค้านั้น ถูกทิ้งไว้นอกตู้เย็น ผักก็เหี่ยว แม้ว่าจะมีการกำชับหลายครั้งหลายครา เจ้าหน้าที่ก็ทำความผิดพลาดอีกในหลายสัปดาห์ต่อมา เขาเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ทำไปเพื่อโชว์ให้เห็นถึงความไม่พอใจกับทิศทางการ จัดการ แต่การทำให้ผู้ซื้อไม่พอใจเป็นการทำลายหนทางที่จะเดินต่อไปข้างหน้าด้วย

“ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ คือ ความสามารถของผู้คนที่จะเข้าใจศักยภาพและอนาคตที่จะเป็นไปได้” เขากล่าว

เมื่อเร็วๆ นี้ Small ได้ลดบทบาทการทำงานลง จากการเป็นผู้จัดการรายวันให้กับ Abalimi แล้วส่งมอบความรับผิดชอบให้กับผู้หญิงชาวคอซาที่น่าเกรงขามคนหนึ่ง ชื่อ “มามา คาบา” เจ้าหน้าที่ที่ทำงานมานาน ผู้มากด้วยประสบการณ์และสถานะทางสังคม Small เต็มใจที่จะออกจากหน้าที่เดิมและกล่าวว่าการตัดสินใจนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับ Abalimi ที่มักถูกมองว่าเป็น “การเสริมสร้างพลังอำนาจของคนดำโดยการนำของคนขาว”

ในเมืองที่ Abalimi ตั้ง อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่จะให้ผู้หญิงขึ้นมาเป็นผู้นำ แล้วยังมีหน้าที่ในการทำโครงการทางสังคมด้วย เรื่องราวเหล่านี้ถูกสะท้อนมาจากเจ้าหน้าที่ของ Abalimi ที่โดยส่วนมากเป็นผู้หญิง

“จากจุดเริ่มต้น เราให้มามา คาบา เข้ามาทำหน้าที่นี้เพราะเธอเป็นผู้หญิงที่อายุมากที่สุดแล้วยังมีประสบการณ์ด้วย” Stofile กล่าว “เหตุผล ที่ผู้หญิงจะเข้ามาครองสวนชุมชนส่วนใหญ่ก็เพราะว่าพวกเธอต้องการที่จะนำผัก ไปเลี้ยงดูลูกหลานของพวกเธอ พวกผู้ชายก็มีหน้าที่แค่หาเงิน”

แต่ Small ก็ ยังต้องการชายหนุ่มอีกมากเพื่อมาร่วมกันสร้างผลประโยชน์ของการทำสวนเล็กๆ เหล่านี้ และเขามองไม่เห็นว่าการที่ผู้หญิงขึ้นมานำเป็นปัญหา “พวกแม่ๆ และย่ายายมีแนวโน้มที่จะซื้อสัตว์และสร้างมูลค่ามากกว่าผู้ชาย การพัฒนาจึงเกิดขึ้นจริงไม่ใช่แค่ภาพลวงตา” เขากล่าว

Abalimi อบรมปัจเจกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย นั่นคือผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่ยากจน และผู้ที่การว่างงาน ที่ “ปรับตัวกับกับรูปแบบการทำงานของพวกยุโรปตะวันตกไม่ได้” การอบรมนั้น Small เรียกมันว่าเป็น “การทำมาหากิน” มากกว่าการทำไร่ทำสวนที่ยั่งยืน แต่ก็ไม่ใช่การค้าที่เต็มตัวจนเกินไป “พื้นที่ ทำมาหากิน ก็คือ ที่ที่รัฐบาลและหน่วยงานพัฒนาทั่วโลกไม่เข้าใจ พวกเขาพยายามที่จะผลักผู้คนจากการค้าเพื่อการยังชีพไปสู่การค้าที่เต็มตัว” เขากล่าว

Small ย้อน ถึงเหตุการณ์ที่เขาได้ทำการต่อสู้เพื่อโน้มน้าวชาวไร่ชาวสวนว่าพวกเขาสามารถ แปลงผลผลิตส่วนเกินของพวกเขาให้เป็นเงินได้ ไม่เช่นนั้นผลผลิตส่วนเกินก็จะถูกทิ้งให้เน่าเสีย “ใช้ เวลาหลายปีทีเดียวในการพูดให้คนดำในแอฟริกาใต้เข้าใจและยอมรับว่าผักออร์แก นิกนั้นแตกต่างและมีมูลค่ามากกว่า ไม่มีใครยอมรับพวกเราใน Abalimi เลย พวกเขาเชื่อจริงๆว่าจะได้เงินที่น่าเชื่อและเพียงพอจากการทำฟาร์มเล็กๆ ในที่รกร้างว่างเปล่า จนกระทั่งพวกเขาเห็นว่ามีผู้คนได้เงินจากการปลูกผักออร์แกนิกจริงๆ”

—————————————————————————————————

[i] แปลว่า “ชาวไร่ของบ้าน” มาจากภาษา คอซ่า (Xhosa) เป็นชื่อของเผ่าหนึ่งในแอฟริกาใต้และเป็นอีกภาษาราชการภาษาหนึ่งในแอฟริกาใต้

[ii] เป็นระบบการแบ่งแยกกลุ่มคนต่างเชื้อชาติในแอฟริกาใต้ออกจากกัน บังคับใช้โดยรัฐบาลของพรรค National Party ระหว่าง ปี ค.ศ. 1948-1994 ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในประเทศอย่างรุนแรง ทว่าการปราบปรามการต่อต้านการเหยียดผิวเริ่มอ่อนแรงลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 แต่ร่องรอยของการเหยียดผิวยังคงส่งผลต่อนโยบายทางการเมืองและสังคมของ แอฟริกาใต้อยู่

[iii] ผักที่ใช้ประกอบอาหารแถมเมดิเตอร์รเนียนชนิดหนึ่ง ตระกูลเดียวกับบีทรูท

[iv] พืชตระกูลแตง รูปร่างคล้ายบวบแต่ไม่มีเหลี่ยม

[v] สตูว์ผักสีเขียว เป็นอาหารที่นิยมทำทั่วแอฟริกาใต้ชนิดหนึ่ง

[vi] CSA model หรือ Community-supported agriculture (community-shared agriculture) คือ กลุ่มการเกษตรทางเลือกที่ใช้หลักเศรษฐศาสตร์เข้าไปศึกษาสังคมและการกระจาย อาหาร ผู้ผลิตและผู้บริโภคพืชผักจะแชร์ความเสี่ยงและผลประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ สมาชิกของกลุ่มนี้จะต้องจ่ายเงินให้กับเกษตรกรเมื่อเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกใน ส่วนที่คิดว่าจะได้รับหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อการเก็บเกี่ยวเริ่มต้นขึ้น สมาชิกจะได้รับผลผลิตของพืชผักผลไม้เป็นรายสัปดาห์

หมายเหตุ – แปลและเรียบเรียงจากบทความ Cape Town”s Women Take the Lead in Farm-Focused Social Enterprise โดย ROSIE SPINKS เผยแพร่ใน http://www.good.is/post/cape-town-s-women-take-the-lead-in-farm-focused-social-enterprise/

ที่มา: ประชาธรรม วันที่ 18 เมษายน 2555 โดย ปาลิดา ประการะโพธิ์ แปลและเรียบเรียง

“กินเปลี่ยนโลกเป็นกิจกรรมสาธารณะประโยชน์การนำข่าวหรือเรื่องเล่าต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตมาเผยแพร่ ไม่ได้ทำเพื่อการค้า”

Relate Post