“เรื่องราวความรักของเรา” โดย…หลวงปู่ “ติช นัท ฮันท์”
ความรักคือความเข้าใจ
ความเข้าใจคือความรัก
เวลา ที่เรารับประทานอาหารเช้า ไม่ว่าจะเป็นขนมปังปิ้ง ธัญพืช? หรือน้ำเต้าหู้ ถ้าเราให้ความใส่ใจอย่างเต็มที่ เราจะสามารถมองอย่างลึกซึ่งในอาหารที่เราจะรับประทาน
เทคนิคและความลับของการฝึกปฏิบัติก็คือ เวลาที่เธอจะทำสิ่งต่างๆ ด้วยกายและใจของเธออย่างเต็มร้อย เธอจะมีสมาธิกับสิ่งนั้นๆ ดัง นั้นเมื่อเธอรับประทานอาหารเช้า จงอย่าคิด เมื่อเธอคิด เธอจะไม่ได้อยุ่ตรงนั้นเพื่ออาหารเช้าของเธอ เพียงแค่กลับสู่บ้าน กลับสู่ปัจจุบันขณะ มองอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่เธอกำลังรับประทานอยู่ และคนที่กำลังรับประทานร่วมกับเธอ การรับประทานในวิถีเช่นนี้ จะช่วยรดน้ำเมล็ดพันธุ์แห่งความเข้าใจและความเมตตากรุณาในตัวเรา
การรับประทานอาหารตามประเพณีของพุทธศาสนาคือ การปฏิบัติที่ลึกซึ้ง ถ้าเรารับประทานอาหารอย่างเหมาะสม เราจะบ่มเพาะความเมตตากรุณาและความเข้าใจในตัวเอง และเธอจะรู้ว่าจะรับประทานอาหารแบบใดที่จะช่วยรักษาความเมตตากรุณาและความ เข้าใจในตัวเธอ หากเราไม่มีความเข้าใจในขณะรับประทานอาหาร เรากำลังทานเนื้อของลูกสาวหรือลูกชายของเราอยู่? “เนื้อของบุตรชาย” คือพระสูตรหนึ่งที่มีชื่อเสียงของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นบรรยายเกี่ยวกับ”อาหาร4″ซึ่งฉีนได้มีโอกาสศึกษาเพิ่มเติม คำสอนเหล่านี้เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคของเรา หาก เรารับประทานอาหารด้วยสติที่เต็มเปี่ยม เรามีสมาธิกับการรับประทานอาหาร เราจะสามารถเห็นสิ่งต่างๆ อย่างลึกซึ้ง และเราจะสามารถรับประทานอาหารในวิถีที่เอื้อให้ความเมตตากรุณาและความเข้าใจ ในตัวเราเติบโตขึ้น
ในคำสอนของพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับความรัก ไม่เพียงแต่เธอจะต้องเข้าใจคนที่เธอรัก แต่เธอต้องเข้าใจตัวเธอเองด้วย เพราะการเข้าใจตัวเธอเองคือพื้นฐานความเข้าใจผู้อื่น? ถ้าเธอไม่เข้าใจตัวเอง เธอจะไม่รู้ว่าเธอคือใคร เธอจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับความทุกข์และความยากลำบากของตัวเอง และเธอจะไม่สามารถเข้าใจความทุกข์และความยากลำบากของผู้อื่นได้ ดังนั้นความเข้าใจตัวเองจะนำไปสู่ความเข้าใจผู้อื่น? เพราะตัวเธอก็คือสิ่งที่เธอรักเช่นเดียวกัน ย่อมเป็นไปได้ที่เธอจะตกหลุมรักประเทศ ก้อนเมฆ หรือต้นไม้ แต่ถ้าเธอไม่เข้าใจตัวเองเพียงพอ เธอจะไม่รู้ว่าตัวเธอเองคือก้อนเมฆ ไม่รู้ว่าก้อนเมฆนั้นอยู่ในเธอ เพราะตัวเธอเองประกอบด้วยก้อนเมฆอย่างน้อยร้อยละ 70 และถ้าเธอไม่เข้าใจตัวเองอย่างเพียงพอ เธอจะไม่รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเธอกับต้นไม้ เธอจะไม่เข้าใจว่า ต้นไม้ที่เธอรักก็คือตัวเธอ และดำรงอยู่ในตัวเธอเสมอ
ฟังอย่างลึกซึ้งพูดด้วยภาษาแห่งรัก
ถ้าคนที่เธอรักเข้าใจเธอ เข้าใจความยากลำบากและความทุกข์ของเธอ และเธอสามารถสัมผัสได้ถึงความเข้าใจของเขา นั่นแหละคือความรักที่แท้ เธอควรถามพวกเขาเสมอว่า ตัวเธอเข้าใจพวกเขาเพียงพอหรือไม่ “ที่รัก เธอคิดว่าฉันเข้าใจเธอพอไหม? ถ้ายังไม่พอ โปรดช่วยฉันด้วยนะ” นี่ คือคำถามที่สำคัญมาก เพราะเรามักคิดเอาเองว่าเราเข้าใจผู้อื่น แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น หลายครั้งเราไม่เข้าใจตัวเองเพียงพอ เราจึงสามารถไม่เข้าใจผู้อื่นได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นการถามคำถามซึ่งกันและกันว่า “ที่รัก เธอคิดว่าฉันเข้าใจเธอพอไหม? ถ้ายังไม่พอ โปรดช่วยฉันด้วย เพราะฉันรู้ว่ารักที่แท้นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดความเข้าใจ” จึงเป็นการขอให้ผู้อื่นหยิบยื่นความช่วยเหลือให้ ไม่เพียงแต่เธอจะเข้าใจคนที่เธอรักได้มากขึ้น เธอจะยังสมารถเข้าใจตัวเธอเองได้ดีขึ้นด้วย นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมเราจึงต้องบ่มเพาะความสามารถในการฟัง ถ้าเราสามารถฟังได้อย่างดี เราจะสามารถเข้าใจคนอื่นได้ และด้วยความเข้าใจนี้เองที่จะบ่มเพาะกลายเป็นความรัก ดังนั้นการบ่มเพาะความเข้าใจก็คือการบ่มเพาะความรัก
การสื่อสารของเรานั้นจำเป็นต้องฝึกปฏิบัติการฟังอย่างลึกซึ้งและการใช้วาจาแห่งรัก ความสัมพันธ์ที่ยากลำบากทำให้ทุกๆ คนเป็นทุกข์ ไม่ใช่เพียงแค่คนสองคนที่ขัดแย้งกัน แต่ทั้งครอบครัวและชุมชนต่างเป็นทุกข์ไปด้วย เราไม่สมารถสื่อสารได้อย่างแท้จริง เพราะเราไม่รู้วิธีที่จะรับฟังกันและกัน คนส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีการใช้ภาษาที่สามารถสื่อความในใจของตนออกมาได้ แม้ว่าเธอจะรู้ความในใจของเธอที่มีต่อผู้อื่น แต่เธอก็ไม่สามารถสื่อไปถึงเขาเหล่านั้นได้ นั่นเป็นเพราะเธอไม่รู้จักการใช้ภาษาแห่งรัก คนอื่นๆ ก็มีความในใจของตนเองและความในใจที่มีต่อเธอเช่นเดียวกัน แต่เธอไม่สามารถเข้าใจได้ เพราะเธอไม่รู้วิธีการฟังอย่างลึกซึ้ง และนี่คือเหตุผลว่าทำไมการฟังอย่างลึกซึ้งและการพุดด้วยวาจาแห่งรักจึงเป็น เครื่องมืออันวิเศษสำหรับการสื่อสาร สำหรับการบ่มเพาะความเข้าใจ การยอมรับและความรัก
เวลาที่เธอรับประทาน อะไรบางอย่าง เช่น ขนมปัง เธอสามารถฟังขนมปัง ขนมปังจะบอกเธอว่า มันมาจากไหน เวลาที่เธออ่านหนังสือพิมพ์ เธอสามารถถามมันว่า มันมาจากไหน เวลาที่เราทานเนื้อวัวว เราสามารถถามเนื้อวัวได้เช่นกันว่า “เธอมาจากไหน” และเนื้อวัวจะเล่าให้เธอฟัง นี่คือการปฏิบัติการมองอย่างลึกซึ้ง การฟังอย่างลึกซึ้งซึ่งจะนำความเข้าใจมาสู่เธอ ความเข้าใจในสิ่งๆหนึ่งจะช่วยให้เธอเข้าใจสิ่งอื่นๆ รวมทั้งตัวเธอเองด้วย มันเป็นความจริงที่ว่าเธอจะเกิดความเข้าใจเมื่อเธอมองและฟังอย่างลึกซึ้ง
แล้วความเข้าใจคืออะไร? ความเข้าใจก็คือ ความรัก เพราะไม่มีความรักใดเกิดขึ้นได้โดยปราศจากความเข้าใจ ดังนั้นการ บ่มเพาะความเข้าใจก็คือ การบ่มเพาะความเข้าใจนั่นเอง และเมื่อเธอมีความเข้าใจเธอและคนที่เธอรักจะได้รับการบำรุงหล่อเลี้ยงจาก ความรักและความเข้าใจในตัวเธอ ถ้าเธอหมั่นใช้ชีวิตในแต่ละวันด้วยวิถีทางเช่นนี้ ชีวิตของเธอจะกลายเป็นเรื่องราวความรักอันแสนวิเศษ
***ที่มา: วารสาร”พลัม” ฉบับที่ 4 ,มกราคม-มีนาคม 2552 ปาฐกถาธรรม วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2546 หมู่บ้านพลับ ประเทศฝรั่งเศส
แปล :กฤติมา ธรรมมิตร -จิตราพรหมจริยา
กมลวรรณ ทวีกิตติกุล-จิตราฐิติวรดา
ถอดความ:พริญญ์ ธนาภิสิทธิกุล – พุทธิจิตรา