…อาจจะกล่าวได้ว่า นี่คือ การโหยหาอดีต (Nostalgia) ลักษณะหนึ่ง แม้ว่าความรู้สึกโหยหาอดีตนั้นมักจะถูกพิจารณาอย่างเหยียดๆ จากนักวิชาการจำนวนไม่น้อย แต่ในกรณีนี้ กลับเป็นการโหยหาอดีตที่มีคุณค่าไม่ใช่การโหยหา โดยปราศจากเป้าหมายหรือการโหยหาเพื่อบริโภคอดีตชั่วครั้งชั่วคราวอย่างที่ชน ชั้นกลางไทยชอบปฏิบัติกัน
อดีตฝังแน่นอยู่กับเรา แต่เรากลับอยู่กับ “อดีต” ไม่เป็น สังคมไทยจึงกลายเป็นสังคมไร้ราก ปราศจากพลังในการปรับตัว เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การเรียนรู้อดีตกว้างขวางและลึกซึ้งมากเท่าใดย่อมเปรียบเสมือนการน้าวโก่ง ลูกศรถอยหลังไปมากที่สุด เพื่อที่จะมีแรงส่งให้ลูกศรนั้นไปข้างหน้าได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ..
ผมมีโอกาสร่วมฟังการเสวนา ที่น่าประทับใจเรื่อง “ฟื้นเมืองเก่าให้มีชีวิต” ที่จัดโดยมูลนิธิญี่ปุ่นร่วมกับกลุ่มบางกอกฟอรั่ม และคณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้นำการเสวนาเป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่น ได้แก่ ศาสตราจารย์โยชิมุระ มูเนตะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว และชาวบ้านผู้ที่เป็นหลักในการรื้อฟื้นเมืองเก่าชื่อว่า คุณฟูเซ โคจิมะ
การเสวนาของเพื่อนชาวญี่ปุ่นทั้งสองท่าน สามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน ส่วนแรก เป็นการอธิบายถึงความรู้สึกนึกคิดของชาวญี่ปุ่น ที่มีต่อบ้านเก่าและย่านเก่าในเมืองโตเกียว ส่วนที่สอง อาจารย์มูเนตะได้อธิบายโดยยกระดับระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้านให้ เป็นกรอบความรู้ในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่ชาวบ้านได้ร่วมพลังกันได้
คุณโคจิมะได้กล่าวถึงความรู้สึกของเธอและเพื่อนร่วมละแวกบ้านเดียวกันที่ รันทดกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับชุมชนของเธอ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ทำให้ “บ้านไม้” ของครอบครัวเธอและเพื่อนบ้านกลายเป็นเรือนที่ไร้ค่า พร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจสมัยใหม่ ที่ทำให้ความสัมพันธ์ภายในชุมชนของเธอเปลี่ยนไปสู่ความห่างเหินมากขึ้น
คุณโคจิมะได้โยงให้รู้สึกถึงพลังที่ผลักดันให้เธอได้จัดตั้งกลุ่มในย่าน บ้านของเธอ กลุ่มของเธอได้พบปะพูดคุยกันถึงเวลาที่ผ่านมาที่ทุกคนเคยได้ร่วมสร้างสรรค์ สิ่งต่างๆ ให้แก่ชุมชน และช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนของเธอกลับมามีชีวิตร่วมกันอย่างเดิม ได้ เธอได้สรุปความรู้สึกไว้อย่างชัดเจนว่า “หากรักษาบ้านไม้ไว้ไม่ได้ ก็อย่าหมายว่าจะรักษาชุมชน และหากรักษาชุมชนไม่ได้ ก็อย่าหวังว่าจะรักษาสังคมไว้ได้”
พลังของความรู้สึกเช่นนี้ ได้ผลักดันให้กลุ่มของเธอรณรงค์ให้ผู้คนที่ยังคงอยู่ในบ้านไม้ในชุมชน ตระหนักและซาบซึ้งในคุณค่าของบ้านไม้และชุมชน ขณะเดียวกัน เธอก็รู้ดีว่าหากรณรงค์เพื่อบ้านไม้เท่านั้นคงไม่ประสบผลสำเร็จ เธอได้ร่วมกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่เข้าใจในเรื่องนี้ และได้ร่วมกันสร้างพลังแห่งความรู้สึกดังกล่าว ให้กลับมาคิดถึงการอนุรักษ์ย่านเก่าให้มีพลังทางเศรษฐกิจเพียงพอที่จะต่อรอง หรือเทียบเป็นมูลค่าได้เท่ากับการเปลี่ยนและทำลายพื้นที่ย่านเก่าให้เป็น พื้นที่ของธุรกิจสมัยใหม่
กระบวนการจัดตั้งทางระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของคนในย่านบ้านเก่า เมื่อประกอบเข้ากับการคิดสร้างสรรค์ในเชิงธุรกิจได้ทำให้ย่านเก่านั้น สามารถที่จะทำธุรกิจในพื้นที่ขนาดเล็กแต่กลับให้มูลค่าทางเศรษฐกิจสูงอย่าง ไม่น่าเชื่อ จนกระทั่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของผู้คนในมหานครโตเกียว
อาจารย์มูเนตะได้อธิบายโดยยกระดับระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดให้เป็นกรอบ ความรู้ในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่ชาวบ้านได้ร่วมพลังกันได้ โดยท่านได้เริ่มต้นด้วยการอธิบายความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่าง พื้นที่ ความทรงจำ และความหมาย
ท่านได้อธิบายว่า ในพื้นที่นั้นมีความทรงจำฝังอยู่ (Embedded) และจะสามารถแปรเปลี่ยนเป็นพลังในการทำให้เกิด “ความหมาย” ขึ้นมา ท่านได้อธิบายการเกิด “ความหมาย” นั้น ไม่ใช่ความหมายใหม่ที่หลุดลอยจากความทรงจำที่มีอยู่ หากแต่การแต่งเติมให้เกิดความหมายใหม่นั้น จะทำให้ “พื้นที่” สามารถอยู่รอดภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าและรุกรานชุมชนอยู่
อาจารย์มูเนตะได้อธิบายให้เห็นถึงการสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ทางเศรษฐกิจให้แก่เจ้าของบ้านเก่าแต่ละหลังในชุมชนและผลประโยชน์ที่ตกถึง ชุมชนโดยรวม ด้วยการใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในการประดิษฐ์สินค้าวัฒนธรรมให้ตอบสนองแก่ คนที่มาเที่ยวชมและคนที่อยู่ในย่านเดียวกัน
ความทรงจำที่ฝังอยู่ในพื้นที่นั้นไม่ใช่ความทรงจำส่วนบุคคล หากแต่เป็นความทรงจำร่วมกัน (Collective memory) ของชีวิตที่ผ่านมาของชุมชน ซึ่งยังคงโลดแล่นอยู่ในสำนึกของชาวบ้านในย่านดังกล่าว
การทำงานประสานกับระหว่างชาวบ้านและนักวิชาการทางด้านสถาปัตยกรรมได้ทำ ให้ย่านบ้านเก่าของเมืองโตเกียวฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งอย่างน่า ภาคภูมิใจ
ความประทับใจที่มีต่อเพื่อนชาวญี่ปุ่นทั้งสองท่าน ได้แก่ ความรู้สึกที่ว่าท่านทั้งสองนั้นมีความจริงใจต่อความรู้สึกของตนเอง และพร้อมที่จะทำทุกอย่างเพื่อบรรลุถึงความรู้สึกต่ออดีตและความฝันของตนเอง ที่สำคัญ การถ่ายทอดประสบการณ์ของท่านนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังว่าพี่น้องชาวไทย จะได้ร่วมกันสร้างความฝันเฉกเช่นเดียวกันท่าน
อาจจะกล่าวได้ว่า นี่คือ การโหยหาอดีต (Nostalgia) ลักษณะหนึ่ง แม้ว่าความรู้สึกโหยหาอดีตนั้นมักจะถูกพิจารณาอย่างเหยียดๆ จากนักวิชาการจำนวนไม่น้อย แต่ในกรณีนี้ กลับเป็นการโหยหาอดีตที่มีคุณค่าไม่ใช่การโหยหา โดยปราศจากเป้าหมายหรือการโหยหาเพื่อบริโภคอดีตชั่วครั้งชั่วคราวอย่างที่ชน ชั้นกลางไทยชอบปฏิบัติกัน
อดีตฝังแน่นอยู่กับเรา แต่เรากลับอยู่กับ “อดีต” ไม่เป็น สังคมไทยจึงกลายเป็นสังคมไร้ราก ปราศจากพลังในการปรับตัว เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การเรียนรู้อดีตกว้างขวางและลึกซึ้งมากเท่าใดย่อมเปรียบเสมือนการน้าวโก่ง ลูกศรถอยหลังไปมากที่สุด เพื่อที่จะมีแรงส่งให้ลูกศรนั้นไปข้างหน้าได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อนชาวญี่ปุ่นคงจะหวังอยู่ในใจว่าการมาของเธอทั้งสองน่าจะพอเอื้อให้ เราได้มองเห็นอดีตของเราในสายตาใหม่บ้างไม่มากก็น้อย ทั้งสองท่านจึงได้เดินทางไปพูดคุยกับพี่น้องไทยในต่างจังหวัดด้วย ดังปรากฏในกำหนดว่าวันที่ 24-26 จะไปพบพูดคุยกับชาวแพร่และน่าน วันที่ 27 จะไปพบกับชาวเชียงใหม่ที่วิทยาลัยสื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอขอบคุณมูลนิธิญี่ปุ่นที่ได้จัดหาเพื่อนญี่ปุ่นมาพูดคุยแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ให้แก่พี่น้องคนไทย ขอบคุณกลุ่มบางกอกฟอรั่มที่ได้รับเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดเตรียมการแลก เปลี่ยนในครั้งนี้ และที่สำคัญ ขอขอบคุณเพื่อนญี่ปุ่นทั้งสองท่านด้วยสำหรับน้ำใจที่ท่านมีให้แก่คนไทยและ สังคมไทย
รศ. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ใน “พื้นที่ ความทรงจำ และความหมาย”กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 26 ก.พ. 52http://newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=6089&user=attachak