เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ลงข่าวเรื่อง “คาดอีก 6 ปีพืชจีเอ็มผงาด มะละกอไทยใกล้ได้ลงสนาม” และเราต้องการเสียงคัดค้านพืชจีเอ็มโอจากท่าน โปรดไปที่ บทความนี้ในผู้จัดการออนไลน์ และส่งความเห็น และโหวตคัดค้่าน
ต่อ ไปนี้เป็นข้อมูลย่อของข่าว และเหตุผลที่สิ่งที่ไอซ่ากล่าวนั้นไม่เป็นความจริง เพื่อให้ท่านใช้ประกอบการเขียนความเห็น ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้าการรณรงค์จีเอ็มโอของกรีนพีซ
สมาคม เทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ (สทส.) จัดสัมมนาเรื่อง “ความก้าวหน้าและสถานภาพการผลิตพืชเทคโนโลยีชีวภาพ/พืชจีเอ็มในเชิงการค้า ทั่วโลก พ.ศ. 2551” เมื่อวันที่ 16 ก.พ.52 ที่ผ่านมา โดยมี ดร.แรนดี้ เอ โฮเทีย ผู้ประสานงานระดับโลกของไอซ่า (International Service for the Acquisition of Agri-Biotech Applications: ISAAA) และผู้อำนวยการไอซ่า ประจำศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าของพืชเทคโนโลยีชีวภาพหรือพืชจีเอ็มในปี ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่าจะใช้เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืชวิธีเดิมร่วมกับการใช้จีเอ็ม โอเพื่อให้เกิดเสถียรภาพของประชากร เกิดการกระจายผลผลิตอย่างทั่วถึง เกิดความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ความจริง
- ใครได้ผลประโยชน์
ไม่ เป็นความจริงที่พืชเทคโนโลยีชีวภาพสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้ กับเกษตรกรได้ เนื่องจากพืชจีเอ็มโอเป็นสิทธิบัตรของบรรษัทเคมีเกษตรข้ามชาติเพียงไม่กี่ แห่ง และเกษตรกรจะต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรและสารเคมีเกษตร นอกจากนี้หากเกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ เพื่อปลูกในปีถัดไปหรือใช้ยากำจัดวัชพืชที่ไม่ใช่ของบริษัทนั้นๆ พวกเขามีแนวโน้มที่จะถูกฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์
- ใช้สารเคมีลดลงจริงหรือ
พืชจีเอ็มโอไม่ทำให้การใช้สารเคมีลดลงดังที่ไอซ่ากล่าว งานวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า หลังปลูกพืชจีเอ็มโอต้านยาฆ่าหญ้า อย่างถั่วเหลืองราวด์อัพเรดี้ มาเป็นเวลา 8-9 ปี ปริมาณการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น 23 ล้านกิโลกรัม เรื่องจีเอ็มโอเป็นผลประโยชน์ต่อเนื่องจากการขายสารเคมีทางการเกษตร เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าวจีเอ็มโอถูกปรับปรุงผลิตขึ้นมา เพื่อต้านทานยาฆ่าหญ้าที่บริษัทขายสารเคมีเกษตรขายอยู่แล้ว ถ้าเกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจีเอ็มโอของบริษัทใดไปปลูก จะฉีดยาได้มาก โดยที่ข้าวไม่ตาย ตัวอย่างเช่น ข้าวลิเบอร์ตี้ลิงค์ ต้านยาฆ่าหญ้ายี่ห้อลิเบอร์ตี้ ผลิตโดยบริษัทไบเออร์ ซึ่งสหรัฐอนุมัติให้ปลูกข้าวชนิดนี้เป็นการค้าได้เมื่อปี 2546 อีกชนิด คือ ข้าวราวด์อัพเรดี้ ต้านยาฆ่าหญ้ายี่ห้อราวด์อัพของบริษัทมอนซานโต้ อันตรายที่ตามมาคือ วัชพืชปรับตัวดื้อยา ต้องใช้ยาปริมาณมากขึ้นและแรงขึ้น และข้าวจีเอ็มโอผสมข้ามสายพันธุ์กับวัชพืชตระกูลข้าว ทำให้เกิดวัชพืชยักษ์มียีนจีเอ็มโอ ปราบไม่ได้
- หายนะต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมแล้ว พืชจีเอ็มโอจะไม่สามารถถูกเรียกกลับคืนหรือจำกัดขอบเขตการแพร่กระจา ยได้ และจะสร้างอันตรายต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรงนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่พืชจีเอ็มโอได้รับอนุญาตให้ปลูกมากขึ้น มลพิษทางพันธุกรรมอาจถูกส่งทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อๆ ไป
- ทั่วโลกปฏิเสธจีเอ็มโอ
การ สนับสนุนการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอ นอกจากจะทำลายศักยภาพการส่งออกสินค้าจีเอ็มโอแล้ว ยังส่งผลถึงสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ เพราะปัจจุบันพืชจีเอ็มโอยังไม่เป็นที่ยอมรับไม่ว่าจะเป็นในทวีปยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั้งสหรัฐอเมริกา ที่ประชาชนกว่าครึ่งประเทศไม่ยอมรับพืชจีเอ็มโอ ดังนั้นหากประเทศไทยมีนโยบายที่จะสนับสนุนการปลูกพืชจีเอ็มโอแล้ว มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศคู่ค้าจะยกเลิกการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศ ไทย ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศได้
- อะไรคือคำตอบ
เกษตรกรรม ยั่งยืน คือ การผลิตทางการเกษตรและวิถีการดำเนินชีวิตของเกษตรกรที่เอื้ออำนวยต่อการ ฟื้นฟู และดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม คืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ ปรับปรุงและฟื้นฟูดิน ยุติการใช้สารสังเคราะห์ ทั้งปุ๋ยเคมี สารกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นภัยต่อมนุษย์และสัตว์ เกษตรกรมีทรัพยากรการผลิต และมีสิทธิในการปลูกพืชอาหารเพื่อเลี้ยงครอบครัว มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งจะทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำนุบำรุงที่ดิน น้ำ และรักษาระบบนิเวศในไร่นาและป่าไม้ เพื่อให้พื้นที่นั้นสามารถนำมาใช้ผลิตอาหารและสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้ อย่างยั่งยืนตลอดไป เกษตรกรรมยั่งยืนเป็นกระบวนการผลิตที่เกษตรกรเป็นหลักในการพัฒนา ความรู้ในท้องถิ่นได้รับการพัฒนาและฟื้นฟู
เกษตรกรรมยั่งยืนสร้างความมั่นคงทางอาหาร ทำให้มีปริมาณอาหารเพียงพอสำหรับบริโภคทั้งภายในครอบครัว ชุมชน และชุมชนอื่นๆ คุณภาพอาหารปลอดภัย หลากหลายครบถ้วนตามหลักโภชนาการและสอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น มีระบบการผลิตที่เกิ้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีระบบการจัดการผลผลิตที่สอดคล้องเหมาะสม เป็นธรรม มีการกระจายอาหารอย่างทั่วถึงทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน มีความมั่นคงทางการผลิต ทั้งที่ดิน น้ำ และ ทรัพยากรเพื่อการผลิต จึงสร้างความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกรผู้ผลิต
ขอบคุณค่ะ
เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า