“ลงแขก”สู้ “ข้าว”ไร้”จีเอ็มโอ”

ข้าว อาหารหลักของหลายชาติทั่วโลก ที่ไทยเราเองนั้น เป็นทั้งชีวิตและสมบัติ ทั้งยังนำมาซึ่งวัฒนธรรมประเพณี ที่เกี่ยวเนื่องตั้งแต่ปลูก ออกรวง และเก็บเกี่ยวผลผลิต

ข้าวเป็นผลิตผลส่งออกนำรายได้เข้าประเทศมหาศาล ในขณะเดียวกัน ข้าวกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก ด้วยความพยายามของบรรษัทข้ามชาติ ที่ใช้วิธีการตัดต่อพันธุกรรม หรือ “จีเอ็มโอ”

โดยในเร็วๆ นี้ จะมีการพิจารณาเรื่องข้าวจีเอ็มโอในสหภาพยุโรป ถ้าอนุมัติให้ปลูกข้าวจีเอ็มโอในยุโรปได้ ก็เปรียบเสมือนการเปิดประตูให้ทั่วโลกปลูกข้าวจีเอ็มโอ “เพื่อการค้า”

ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก

หากวันนั้นมาถึงจะเป็นจุดจบของข้าว และชาวนาไทย
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา “กรีนพีซ” องค์กรพัฒนาเอกชนระดับโลก เริ่มรณรงค์ปกป้องข้าวให้ปลอดจากจีเอ็มโอ โดยปลูกข้าวในนาข้าวอินทรีย์ ขนาด 10 ไร่ ของ “ป้าสำเนียง ฮวดลิ้ม” อายุ 62 ปี ที่บ้านเขาราบ ต.เตาปูน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ชาวนาผู้หันหลังให้กับการทำนาใช้สารเคมี มาเป็นแบบเกษตรอินทรีย์

สร้างสรรค์เป็นงานศิลปะบนผืนนา ด้วยการปลูกข้าว 2 ชนิด 2 สี คือพันธุ์ชัยนาท 1 มีสีทอง กับ พันธุ์ก่ำพะเยา มีสีดำ เป็นภาพชาวนาไทยใส่งอบถือเคียวเกี่ยวข้าว

กระทั่ง บัดนี้ ข้าวบนผืนนาศิลปะ ได้เวลา “ลงแขก” เก็บเกี่ยวแล้ว ภายใต้กิจกรรม “เกี่ยวข้าวขวัญ มหัศจรรย์ข้าวไทย” รณรงค์และเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องข้าวไทย ให้ปลอดจากจีเอ็มโอ และสนับสนุนการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

famer_anti_gmos03famer_anti_gmos04famer_anti_gmos05

โดยมี นายณรงค์ พลละเอียด รองผวจ. ราชบุรี พร้อมด้วย นายวีรวุธ ปุตระเศรณี นายอำเภอโพธาราม, นายโอภาส ปัญญา ประธานกรรมการบริหาร กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เหล่าอาสาสมัคร กลุ่มชาวนาโพธาราม ร่วมกันเก็บเกี่ยว

ก่อนลงมือมี พิธีทำขวัญรวงข้าว ตามความเชื่อของชาวนาเมื่อครั้งอดีต อีกทั้งยังจำลองขั้นตอนการเก็บเกี่ยวในสมัยก่อน มาสาธิตให้ผู้ร่วมงานได้รับชม

เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วจะนำข้าวที่ได้ มัดเป็นฟ่อน นำไปตากแดดไว้ประมาณ 3 วัน จากนั้นจะเอาฟ่อนข้าวมาวางในลาน ใช้วัวเดินย่ำให้เม็ดข้าวหลุดออกมา เมื่อได้ข้าวเปลือกแล้ว จะนำไปสีฝัดแยกสิ่งปะปนออกจากข้าวเปลือก แล้วจึงเป็นขั้นตอนการสีข้าว เพื่อแยกเปลือกออกจากเมล็ด และตำข้าวเพื่อเอาแกลบออกจากเมล็ดข้าว ให้เหลือแต่เมล็ดข้าวที่นำมากินและขาย

ป้า สำเนียง เจ้าของผืนนา กล่าวว่า ตอนแรกที่ทำนาอินทรีย์ไม่มีใครสนใจ แต่พอคนมาเห็นว่าทำนาที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทุกอย่างอาศัยธรรมชาติ ทั้งนั้น ไม่ต้องไปหาซื้อปุ๋ยเคมี แค่มีวินัยขยันอดทน พอทำมาได้สักพัก สุขภาพร่างกายก็ดีขึ้น มีเงินให้ได้ใช้สอยไม่ต้องเป็นหนี้

famer_anti_gmos06famer_anti_gmos07famer_anti_gmos08

ด้านน. ส.ณัฐวิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวถึงโครงการนี้ว่า ผลตอบรับที่ได้จากการจัดงานตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ดีมาก เพราะได้เห็นว่าคนไทยรักและหวงแหนข้าว แต่ยังไม่ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะถึงประชาชนจะให้ความสนใจ แต่หน่วยงานที่เราต้องการจะสื่อสารข้อ มูลอย่างรัฐบาลกลับยังไม่มีจุดยืน ที่ทำให้สบาย ใจ เพราะยังสับสนอยู่มาก โดยเฉพาะกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ยังมีนโยบายไม่ตรงกัน

ดังนั้น ในปีหน้ากรีนพีซจะสานต่อในเรื่องเกษตรกรรมอินทรีย์ ซึ่งเป็นเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ภายใต้จุดยืนที่ชัดเจนว่า ไม่เอาผลิตผลจากจีเอ็มโอ ทุกชนิด จะกดดันและผลักดันภาครัฐให้ออกมารับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ส่วนเมล็ดข้าวที่เก็บเกี่ยวในครั้งนี้ จะนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทยอย่างแน่นอน เพราะถือว่าข้าวที่ได้มาไม่ใช่ของกรีนพีซ แต่เป็นของคนไทยทุกคน

“เรื่อง ข้าวไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะทุกคนกินข้าวทุกวัน อะไรจะเกิดขึ้นกับข้าว ก็เป็นปัญหาของทุกคนเช่นกัน ไม่ว่าปัญหาเรื่องข้าวแพง ข้าวปนเปื้อนสารเคมี รวมทั้งจีเอ็มโอด้วย เพราะฉะนั้นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ควรจะแสดงบทบาทและความรับผิดชอบ”

famer_anti_gmos09
famer_anti_gmos10
famer_anti_gmos11


“โดยเฉพาะเรื่องข้าวจีเอ็มโอ ในวันนี้ถึงจะมีนโยบายว่าไม่เอาข้าวจีเอ็มโอ แต่เราต้องการผลักดันให้ออกมาเป็นกฎหมายที่ชัดเจน เพื่อสิทธิและวัฒนธรรมของคนไทยจะอยู่คู่กับคนไทยไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน”

ที่ น่ากลัวกว่านั้น ถ้ารัฐบาลยอมให้ทดลอง หรือปลูกข้าวจีเอ็มโอ เกสรจากข้าวจีเอ็มโอจะปลิวกระจายไปทั่ว และถ้าปลิวไปติดข้าวท้องถิ่น จะทำให้เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นแปรสภาพเป็นเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ

เมื่อ ถึงตอนนั้นข้าวของชาวนาไทย จะกลายเป็นข้าวที่มีสิทธิบัตรของต่างชาติทันที ท้ายที่สุดจะไม่เหลือพืชที่เป็นเอกลักษณ์ ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของไทยอีกต่อไป
ที่มา : ข่าวสด? 29 พ.ย. 52

Relate Post