‘สวนผักในบ้าน’ ทั้งปลอดภัยและประหยัด

ก่อนที่คนไทยจะหันมาให้ความสนใจกับทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ช่วงหนึ่งรัฐบาลเคยมีโครงการรณรงค์ผักสวนครัวรั้วกินได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนอกจากจะไม่มีผักริมรั้วแล้ว ลัทธิบริโภคนิยมที่มีความสะดวกสบายนำหน้า ดูเหมือนจะทำให้ครัวของหลายบ้านมีไมโครเวฟเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อใช้ในการอุ่น อาหารเท่านั้น

แต่ใช่ว่าเรื่องการปลูกผักสวนครัวไว้ในเขต เคหสถานจะจบลง เพราะขณะที่ใครต่อใครต่างพากันซื้อผักจากตลาดบ้าง รถเร่บ้าง หรือซูเปอร์มาร์เกตบ้าง คนบางกลุ่มกลับมีวิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป


พวก เขามีความสุขกับการค่อย ๆ หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในดินที่ถูกปรับให้เป็นแปลงผักในรั้วบ้าน เฝ้าดูต้นกล้าที่กำลังเติบโตอยู่ในภาชนะที่ไม่ใช่กระถางต้นไม้ เพราะมีทั้งถังแตกที่ไม่สามารถใช้บรรจุน้ำได้แล้ว ตะกร้าที่เคยใช้ใส่เส้นขนมจีนมาส่งขายที่ตลาด ไปจนถึงยางนอกรถยนต์หมดอายุการใช้งานที่ถูกปาดด้านหนึ่งออก

?แต่ ก่อนผมก็ไม่เคยปลูกต้นไม้ พอมาเรียนที่คณะเกษตรกรรมยั่งยืน ม.ธรรมศาสตร์ และได้ไปฝึกงานที่ออสเตรีย ประเทศทำการเกษตรแบบดั้งเดิมคือเกษตรอินทรีย์ถึงร้อยละ?? 10 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นประเทศที่มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์มากที่สุดในยุโรป จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้กลับมาปลูกผักสวนครัวในบ้านบ้าง? นคร ลิมปคุปตถาวร หนึ่งในสมาชิกเครือข่ายตลาดสีเขียว บอกเล่า


แรง บันดาลใจที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น ทำให้เขากลับมาเปลี่ยนแปลงพื้นที่สวนด้านหนึ่งของบ้านให้เป็นแปลงปลูกผักสวน ครัว ซึ่งกว่าจะกลายเป็นสวนครัวอย่างที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเยี่ยมชมอย่างทุกวันนี้ ต้องผ่านการเรียนรู้มากมาย ตั้งแต่เรื่องสภาพของดินที่เหมาะสมกับพืชผักสวนครัว ปริมาณน้ำ และที่สำคัญคือการคัดเลือกชนิดพันธุ์ที่จะนำมาปลูก

?การปลูก ผักสวนครัวต้องถามใจตัวเองก่อนว่าอยากกินอะไร เราพร้อมที่จะกินผักบุ้ง 5 วันหรือ 10 วันติดต่อกันได้หรือไม่ และ เรามีความคิดใหม่ ๆ ในการทำกับข้าวบ้างไหม? เจ้าของสวนครัวขนาดย่อมในบ้านย่านลาดพร้าวที่เพียงพอเลี้ยงคนในบ้านในระดับ หนึ่งให้คำแนะนำ

นอกจากนี้การปลูกผักสวนครัวไว้ภายในบ้าน นั้น ไม่ใช่แค่การออกไปร้านจำหน่ายต้นไม้แล้วซื้อดินแบบ 6 ถุง 100 บาทมาใส่กระถางหรือภาชนะง่าย ๆ ก็ปลูกได้ทันที เพราะดินเหล่านั้นเหมาะสำหรับการปลูกไม้ดอกไม้ประดับมากกว่า ขณะที่ผักสวนครัวต้องการความร่วนซุยของดิน ให้ดินมีช่องว่างสำหรับอากาศถ่ายเท และที่สำคัญที่สุดคือธาตุอาหารที่อยู่ในดิน

ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ และดินชีวภาพที่ผ่านการหมักจนได้ที่ เป็นสภาพดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักสวนครัวมากกว่า เพราะหากใช้ปุ๋ยเคมีผักสวนครัวที่ปลูกเองในรั้วบ้าน ก็คงไม่ต่างจากผักที่ปลูกเพื่อการพาณิชย์จำนวนมาก ๆ

?การ ปลูกผักในบ้านจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่ โดยเฉพาะทาวน์เฮาส์หรือคอนโดมิเนียม แต่ทาวน์เฮาส์บางแห่งก็สามารถปลูกต้นไม้ได้เยอะกว่าบ้านเดี่ยวด้วยซ้ำ หากเปลี่ยนมาเป็นปลูกผักสวนครัวแทนนอกจากจะได้สีเขียวเหมือนกันแล้วยัง สามารถนำมาบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงในการบริโภคสารเคมีได้ด้วย? ดร.วิชัย จันทร์กิติวัฒน์ ตัวแทนกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุ

ขณะ ที่ชาวตะวันตกเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ คนไทยกลับหลงใหลได้ปลื้มกับอาหารขยะที่เรียกกันว่าจังก์ฟู้ด ซึ่งล้วนแต่เป็นอาหารที่นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บมากมาย จนหลงลืมรากเหง้าแห่งวิถีไทยที่เคยมีมา


ใครที่คิดจะเริ่มปลูก แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ไปขอคำแนะนำได้ที่ลานวัฒนธรรม ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 6 วันที่ 2-6 กันยายนนี้ ที่เมืองทองธานี

ส่วนใครที่ปลูกอยู่แล้ว กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ??? การแพทย์ทางเลือก แผนงานฐานทรัพยากรอาหาร มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิ?? เกษตรกรรมยั่งยืน ประเทศไทยกลุ่มวีเชนจ์ (we change) และสถาบัน?????? ต้นกล้า เชิญชวนผู้สนใจที่ปลูกผักสวนครัวในรั้วบ้านร่วมโครงการ ?สวนผักในบ้านฉัน?

แบ่ง สวนผักเป็น 4 ประเภท คือ สวนผักในบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดฯ และชุมชน โดยจะต้องมีความหลากหลายของผักไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด ไม่ใช้สารเคมี นำไปประกอบอาหารกินเอง ไม่ใช่เพื่อการค้า และอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ผู้สนใจสามารถส่งภาพถ่ายหรือคลิปสวนผักมาพร้อมคำบรรยาย ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษเอ 4 ส่งมาที่  garden-555@hotmail.com หรือโครงการประกวดสวนผักในบ้านฉัน เลขที่ 124 สมเด็จเจ้าพระยา 17 คลองสาน กรุงเทพฯ 10600 กรณีล้างออกมาเป็นรูปและบันทึกลงซีดี ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 สิงหาคม 2552 ดูรายละเอียดโครงการได้ที่ www.wechange555.com หรือ www.food4change.in.thที่มา : หมายเหตุประชาชน , เดลินิวส์ 21 ก.ค. 52

Relate Post