สวนในบ้านทาวเฮาวส์ที่คุณศจินทร์

เปิดหน้าเว็บเพื่อรวบรวมกำลังของกลุ่มคนเล็กๆ ที่กำลังช่วยกันกินเปลี่ยนโลกด้วย? ซึ่งเริ่มจากคุณศจินทร์? ประชาสันติ์? นักวิจัยนโยบายการเกษตร วัยเพิ่งไต่เลขสามมาหมาดๆ?? จากมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)??

ที่เราแอบรู้มาก่อนหน้านี้ว่า เป็นเด็กที่โตในกรุงเทพฯ?? และไปเรียนต่อโทไกลถึงอังกฤษ แต่เวลาลงไปคุยจัดเวทีกับชาวบ้านจะสนอกสนใจกินผักพื้นบ้านทุกชนิด!

สวนในบ้านทาวเฮาวส์ที่คุณศจินทร์ปลูกไว้ทั้งไม้ประดับและไม้รับประทาน ที่เธอว่าเธอถนัดปลูก และเสาะหาพันธุ์มาจากที่ต่างๆ ระหว่างการเดินทางในการงาน ส่วนคนปรุงให้ทานกลับเป็นคนข้างตัว ที่เธอรับประกันฝีมือว่า อร่อยทุกเมนู!

อายุ.. แหม ไม่น่าถามเลย? เพราะปีนี้จะขึ้นเลข 3 เป็นปีแรกคะ? อ้าว บอกไปแล้ว (ฮา)? ส่วนที่ทำงาน ก็อยู่ที่ สำนักงานอยู่แถวงามวงศ์วานคะ

อืม..? ปัญหาการบริโภคที่เห็นก็มีหลายอย่างนะ? ที่ชัดๆเลยก็คือเรามักจะบริโภคแบบไม่ยั้ง? คือ ทั้งกินเยอะเกินไป ใช้เยอะเกินไป และก็ทิ้งเยอะเกินไป? ซึ่งเกินไปในที่นี้ มีทั้งที่เกิดจากความอยากของเราเอง เช่น อยากกินไก่ อยากกินส้มตำ? อยากกินโน้นกินนี่เยอะไปหมด? ในมื้อหนึ่งๆ เคยสังเกตนะว่า คนเมืองกินกับข้าวเปลืองกว่าคนชนบทมาก? ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นความสุขอย่างหนึ่งนะ? ฮา ฮา คือ ในฐานะที่เป็นคนเมืองด้วย? ถูกสอนมาจากบ้านว่าให้กินกับเยอะๆ? แต่ถ้าคิดดีๆอีกที การกินบางอย่างที่เยอะเกินไปก็เป็นความสูญเสียมหาศาลที่เราคาดไม่ถึงเหมือนกัน? ยกตัวอย่างเช่น? ไก่เนี่ย? คนกินมากๆ? คนเลี้ยงไก่เขาก็ต้องเลี้ยงไก่เป็นจำนวนมากแบบอุตสาหกรรม? ซึ่งไก่ไม่น่าจะมีสุขภาพดีได้เลยนะ? เพราะต้องถูกเร่งให้รีบโตจะได้ป้อนตลาดพอ? หรือพวกพืชผักก็เหมือนกัน? การผลิตให้ได้เยอะๆต้องใช้สารเคมีมาก? แล้วก็มาสั่งสมอยู่ในร่างกายของเราเอง

ส่วนที่กินเกินไปอีกกรณีหนึ่ง เกิดจากการที่คนอื่นยื่น มอบหรือยัดเยียดให้? แล้วเราก็รับมาโดยอัตโนมัติ เพราะความเคยชิน หรือ เพราะเราไม่รู้ว่ามันน่าจะมีทางเลือกอื่น? อันนี้ก็เช่น โฆษณาต่างๆ? โปรโมชั่นที่ดึงดูดเราสุดๆให้กินและใช้จ่ายเงินให้เยอะๆ? หรืออาจจะเป็นเรื่องของประเพณีปฏิบัติบางอย่างที่ทำต่อๆกันมา เช่น ในห้างใหญ่ๆหรือแม้แต่ในตลาด? พนักงานแคชเชียร์หรือแม่ค้าซ้อนถุงให้เราใบแล้วใบเล่าโดยที่ไม่ค่อยจะจำเป็นเท่าไรนะ? คือ เนื่องจากถุงพลาสติกมันถูกมาก? ถูกเสียจนคนไม่รู้ว่ามันต้นทุนของถุงจริงๆ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินนะ? มันเยอะกว่านั้นมาก

ทั้งหมดที่พูดมานี้ ต้องการจะชี้ให้เห็นประเด็นของการบริโภคหรือการกินแบบไม่พอดี? ซึ่งเกิดได้จากทั้งความรู้ตัวและความไม่รู้ตัว? และมันก็มีผลสืบเนื่องมาสู่ปัญหาเรื่องขยะ มลภาวะ ปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม

ดังนั้น ถ้าถามว่า เห็นปัญหาอย่างนี้แล้ว ตัวเองเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไร? ก็คงต้องบอกว่า พยายามทำอย่างน้อยสองอย่าง คือ หนึ่ง ในเรื่องอาหาร? ก็ปลูกผักทานเองที่บ้าน? เพิ่งเริ่มไม่นานเท่าไร? และก็ยังต้องปรับปรุงความรู้และทักษะการเกษตรอีกหลายอย่าง? แต่รู้สึกได้ว่าการปลูกผักทานเองที่บ้าน ทำให้เรามีอาหารที่สะอาดกิน? อย่างน้อยก็คงพอจะเจือจางระดับสารเคมีที่อาจตกค้างในร่างกายเราจากผักที่ซื้อจากข้างนอกได้บ้าง? แล้วผักพวกนี้ เราจะกินเมื่อไรก็ไปเด็ดเอาหน้าบ้าน? ทำให้ผักสดมากๆ? รู้สึกได้ถึงความสดชื่นพอกินเข้าไป? เราเองก็มั่นใจว่าสะอาดปลอดภัยชัวร์? เพราะปลูกเองกับมือ? และอีกอย่าง ประหยัดค่ากับข้าวไปได้ค่อนข้างเยอะทีเดียว

สอง ก็คือ ในเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน? พยายามจะสร้างขยะให้น้อยที่สุด? ซึ่งมันทำให้เราต้องคิดก่อนที่จะบริโภคหรือจะใช้ข้าวของอะไรโดยอัตโนมัติ? และก็ทำให้พยายามคิดหาทางเลือกสำหรับตัวเราเองด้วย? เช่น เวลาอยู่สำนักงาน ก็คิดก่อนว่ามีความจำเป็นจะต้องปริ้นเอกสารกี่หน้าถ้าไม่สามารถทนอ่านบนคอมพิวเตอร์ได้? ซึ่งเราก็จะสังเกตพฤติกรรมการปริ้นและการใช้งานจริงก่อนหน้านี้ของเรานะว่ามันเป็นอย่างไร? คือ ถ้าปริ้นมากแล้วไม่ได้อ่าน ก็ไม่ปริ้นทั้งหมด? แต่จะปริ้นเฉพาะบทสรุป หรือบางหน้าที่สำคัญเป็นต้น? หรืออย่างกรณีการใช้ถุงพลาสติก? ซึ่งตอนนี้ค่อนข้างอยู่ตัวมากขึ้น? จะพกถุงเปล่าสัก 4-5 ถุงในกระเป๋า มีหลายขนาด? เวลาซื้อของก็หยิบให้แม่ค้าใส่ของ? ทุกครั้งที่ซื้อของก็สบายใจว่าไม่เอาขยะเข้าบ้าน และก็ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจากสร้างขยะเพิ่มขึ้น เป็นต้น? หรือแม้แต่การซื้อของ? หลังๆจะคิดก่อนว่าถ้าซื้อของชิ้นนี้ไปแล้ว เราจะได้ใช้ประโยชน์จริงๆแค่ไหน? เราพยายามจริงใจกับตัวเองที่สุดในการประเมิน? ถ้าคิดว่าได้ใช่แน่? คุ้มแน่ ก็ซื้อ แต่ถ้าคิดว่าซื้อไปแล้ว ได้เก็บชัวร์? เราก็พยายามตัดใจ

อยากให้กำลังใจทีมรณรงค์ในการทำงานเป็นเรื่องที่ดี ถ้าหากเราจะสามารถกินแล้วมีผลในการเปลี่ยนแปลงโลก? เพราะยังไงคนเราก็ต้องกิน? ไม่ว่าจะวันละมื้อ สองมื้อหรือสามมื้อ? ส่วนที่จะบอกคนอื่นๆก็คือ อยากเชิญชวญให้มาใส่ใจกับการกินของเรากันเถอะ? ไม่ใช่แต่เพื่อโลกของเราเท่านั้น แต่เพื่อตัวเราเองด้วย

Relate Post

ตลาดสด ตลาดนัด ความสำคัญต่อปากท้องของคนไทย

ผลสำรวจตลาดสดหลายแห่ง พบว่ารูปแบบการจัดการตลาดยังคงเป็นแบบดั้งเดิม ในขณะที่บางตลาด มีการนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประกอบการจัดการตลาด

Read More