เรื่องน่ารู้ : คำถามและคำตอบเกี่ยวกับเครื่องดื่มให้พลังงานและสุขภาพ

เครื่องดื่มให้พลังงาน (energy drinks) กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กๆ และวัยรุ่น ทำให้หลายๆ บทความในสื่อพูดถึงผลด้านลบต่อสุขภาพของผู้บริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานใน ปริมาณที่มากเกินไป จึงทำให้ผู้ปกครองบางท่านและบุคลากรโรงเรียนบางแห่งเริ่มวิตกกังวลว่า ความนิยมนี้อาจมีผลต่อเด็กและวัยรุ่น

อย่างไรก็ดี ถึงแม้คาเฟอีนจะเป็นส่วนผสมพื้นฐานในเครื่องดื่มให้พลังงานส่วนมาก และมักถูกมองในแง่ร้ายอยู่บ่อยๆ ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดผลด้านลบต่อสุขภาพ แต่หากเราตระหนักว่าปริมาณคาเฟอีนที่กำลังบริโภคอยู่นั้นมีมากน้อยเพียงใด ผู้คนทุกช่วงอายุและผู้รักษาสุขภาพส่วนใหญ่ก็สามารถเพลิดเพลินกับเครื่อง ดื่มให้พลังงานนี้ได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ประสบกับอาการไม่พึงประสงค์

เพื่อช่วยให้การบริโภคคาเฟอีนอยู่ในระดับที่เหมาะสมและปลอดภัย การกะปริมาณคาเฟอีนในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าจะมาจากเครื่องดื่มให้พลังงาน ชา กาแฟ น้ำอัดลม อาหารเสริม และยา นอกจากนี้ คุณควรเรียนรู้ถึงวิธีการประเมินปริมาณคาเฟอีนในอาหารแต่ละชนิด และการคาดคะเนจํานวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ (number of serving per container) เพื่อการบริโภคอย่างพอเหมาะพอดี และควรนำความรู้ไปอธิบายให้เด็กๆ และวัยรุ่นเข้าใจ พวกเขาจะได้รื่นรมย์กับเครื่องดื่มให้พลังงานหรือโซดาอย่างปลอดภัยโดย ปราศจากความเสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ

ต่อไปนี้คือคำถามที่ได้ยินบ่อยๆ เกี่ยวกับเครื่องดื่มให้พลังงานว่า มีการทำงานที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกมีพลังได้อย่างไร และอะไรบ้างที่คุณสามารถทำได้ เพื่อช่วยให้เด็กๆ และวัยรุ่นสามารถบริโภคเครื่องดื่มชนิดนี้ได้อย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย

คำถาม : เครื่องดื่มให้พลังงานคืออะไร

คำตอบ : คำว่า ‘เครื่องดื่มให้พลังงาน’ หรือ ‘เครื่องดื่มบำรุงกำลัง’ (energy drinks) เป็นศัพท์ที่นิยมใช้เมื่อกล่าวถึงเครื่องดื่มบางชนิดซึ่งโดยทั่วไปมีคาเฟอี นและส่วนผสมอื่น เช่น ทอรีน (taurine), กัวรานา(guarana) และวิตามินบี โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพลัง คำเรียกนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยา (FDA) หรือกระทรวงเกษตรของสหรัฐ (USDA)

คำถาม : ส่วนผสมอะไรใช้กันมากที่สุดในเครื่องดื่มให้พลังงาน และทำหน้าที่อย่างไร

คำตอบ : ส่วนผสมบางชนิดที่ใช้กันทั่วไปในเครื่องดื่มให้พลังงานคือ คาเฟอีน, ทอรีน, กัวรานา, โสม, วิตามินบี และแอล-คาร์นิทีน ส่วนผสมเหล่านี้คืออะไรและทำไมจึงต้องเติมเข้าไปในเครื่องดื่มให้พลังงาน มีคำตอบดังต่อไปนี้ :

คาเฟอีน – ถูกเติมในเครื่องดื่มให้พลังงานเพื่อเพิ่ม สมรรถภาพการทำงานให้กับร่างกาย(physical) และสมอง(mental) รวมถึงช่วยเพิ่มรสชาติ เนื่องจากคาเฟอีนเป็นส่วนผสมพื้นฐานที่พบบ่อยในเครื่องดื่มให้พลังงาน เราจะไขข้อข้องใจเกี่ยวกับคาเฟอีนต่อไปภายหลัง

ทอรีน – คือกรดอะมิโนที่ร่างกายได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป มีหน้าที่เสริมพัฒนาการระบบประสาทและช่วยควบคุมระดับน้ำและเกลือแร่ (mineral salt) ในเลือด ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (อาทิ เนื้อวัว, เนื้อหมู, เนื้อแกะ, เนื้อไก่ ฯลฯ) ให้ทอรีนสูง ปลาและสัตว์น้ำมีเปลือกบางชนิด (เช่น ปลาค้อด, หอย และหอยนางรม) มีทอรีนมากที่สุด ทอรีนถูกเติมในเครื่องดื่มให้พลังงานเนื่องจากมีงานศึกษาบางส่วนชี้แนะว่า อาจช่วยเพิ่มสมรรถภาพด้านการกีฬา (athletic performance) และมีงานศึกษาเพิ่มเติมเสนอว่า การทำงานร่วมกันระหว่างคาเฟอีนและทอรีนอาจเพิ่มสมรรถภาพในการแข่งขันกีฬาและ บางทีอาจเพิ่มสมรรถภาพทางสมอง จากรายงานที่ได้รับการตีพิมพ์ปี 2546 คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (ชื่อปัจจุบันคือสำนักงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป – EFSA ) สรุปว่า งานศึกษาต่างๆยังไม่ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคทอรีนกับโรค มะเร็ง นอกจากนี้ทอรีนและส่วนประกอบที่เกิดขึ้นเองในมนุษย์ตามธรรมชาติจะถูกร่างกาย ย่อยสลายและขับออกไป

กัวรานา – เป็นพืชจากอเมริกาใต้ ในประเทศบราซิลมีการบริโภคเครื่องดื่มและโซดาที่ผสมกัวรานากันอย่างกว้าง ขวาง เนื่องจากกัวรานามีปริมาณคาเฟอีนหนาแน่นมากกว่าเมล็ดกาแฟ ดังนั้นจึงถูกเติมในเครื่องดื่มให้พลังงานด้วยเหตุผลเดียวกับคาเฟอีน นั่นคือ เพื่อเพิ่มความรู้สึกมีพลังและเพิ่มสมรรถภาพทั้งทางกายและสมอง ฉลากโภชนาการบนเครื่องดื่มให้พลังงานโดยปกติจะไม่ได้ระบุสารกัวรานาเนื่อง จากมีการเติมคาเฟอีนในปริมาณที่น้อยมาก กัวรานาได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นสารที่ทำให้เกิดกลิ่นชนิดธรรมชาติ (natural flavoring substance)ที่มีความปลอดภัย

โสม – เป็นสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับว่าน่าจะให้ประโยชน์ที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงการช่วยเพิ่มความรู้สึกเป็นสุขและความแข็งแรง และเพิ่มสมรรถภาพทางกายและสมองให้ดีขึ้น ประโยชน์ที่คาดกันไว้อย่างอื่นคือ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากความเจ็บป่วย, มีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันและลดระดับกลูโคสในเลือด อย่างไรก็ตาม งานศึกษาเหล่านี้ส่วนมากมีขนาดเล็กหรือทำในสัตว์ทดลอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการค้นคว้าต่อไปเพื่อยืนยันถึงประโยชน์ต่อสุขภาพที่ เป็นไปได้เหล่านี้ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโสมที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชีย (Asian ginseng) ท่านสามารถอ่านได้ที่ ‘Asian Ginseng Fact Sheet’ จากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Institute of Health)

วิตามินบี – สามารถพบได้ในแหล่งอาหารที่แตกต่างกัน และช่วยควบคุมระบบเผาผลาญอาหาร ตัวอย่างของวิตามินบี คือไทอามีน(วิตามินบี 1) และโคบาลามิน(วิตามินบี 12) วิตามินเหล่านี้มักถูกเติมในเครื่องดื่มให้พลังงานเนื่องจากอาจมีส่วนช่วย ดูแลการทำงานของสมอง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของวิตามินบีชนิดต่างๆ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ ‘IFIC Functional Foods Backgrounder’

คาร์นิทีน – สร้างจากกรดอะมิโนและมีบทบาทช่วยเซลส์ เพิ่มระดับการผลิตพลังงานด้วยเพิ่มการเผาผลาญอาหาร(ช่วยลำเลียงโมเลกุลไขมัน เล็กๆ เข้าไปใช้ในเซลส์ต่างๆ โดยเปลี่ยนไขมันไปเป็นพลังงาน) บางครั้งเชื่อกันว่า คาร์นิทีนอาจเพิ่มสมรรถภาพด้านการแข่งขันกีฬา อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการค้นคว้าที่ต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้ ผู้คนส่วนมากได้รับคาร์นิทีนในปริมาณเพียงพอจากการผลิตของร่างกายและจาก อาหารที่รับประทานโดยไม่ต้องพึ่งพาอาหารเสริม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคาร์นิทีน อ่าน ‘Carnitine Fact Sheet’ จัดทำโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐฯ (NIH)

คำถาม : คาเฟอีนในเครื่องดื่มให้พลังงานเพิ่มความรู้สึกมีพลังได้อย่างไร

คำตอบ : เครื่องดื่มให้พลังงานส่วนมากมีคาเฟอีน ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเพิ่มสมรรถนะทั้งทางสมองและ ทางการกีฬา หลายๆงานศึกษายังพบว่าปริมาณคาเฟอีนที่เหมาะสมสามารถเพิ่มความตื่นตัวด้วย ผู้เข้าร่วมศึกษาในงานศึกษาหนึ่งใช้คำว่า ‘กระปรี้กระเปร่า(vigor)’, ‘มีประสิทธิภาพ(efficiency)’ และ ‘สมองปลอดโปร่ง (clear-headedness)’ เพื่อใช้อธิบายความรู้สึกหลังบริโภคคาเฟอีน งานค้นคว้ายังแสดงให้เห็นว่า คาเฟอีนระดับที่เหมาะสมสามารถปรับปรุงความจำและชี้แจงเหตุผลเกี่ยวกับการนอน ไม่หลับในบางคนได้ นอกจากนี้ คาเฟอีนยังแสดงถึงความสามารถในการเพิ่มความทนทานของร่างกาย (endurance) เมื่อบริโภคก่อนทำกิจกรรม ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมรรถนะและคาเฟอีนอ่านบททบทวนเรื่อง ‘IFIC Caffeine Review’

คำถาม : เครื่องดื่มให้พลังงานโดยทั่วไปมีคาเฟอีนมากน้อยเพียงใด

คำตอบ : ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มให้พลังงานสามารถแตกต่างกันได้อย่างมาก โดยเครื่องดื่มขนาด 250 มิลลิลิตร(8.5 ออนซ์) สามารถบรรจุคาเฟอีนได้ตั้งแต่ 50-160 มิลลิกรัม กาแฟถ้วยขนาด 8 ออนซ์โดยเฉลี่ยมีคาเฟอีนประมาณ 100 มิลลิกรัม และเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ขนาด 12 ออนซ์มีประมาณ 40 มิลลิกรัม ปริมาณคาเฟอีนที่เหมาะสมสำหรับบุคคลทั่วไปรวมถึงผู้มีความไวต่อคาเฟอีน เช่น หญิงมีครรภ์และเด็กคือ 300 มิลลิกรัมต่อวันโดยประมาณ ดังนั้น การดื่มแต่ละครั้งจึงต้องเฉลี่ยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หากต้องการทราบปริมาณคาเฟอีนในอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ สามารถเข้าไปดูได้จากบททบทวนเรื่อง ‘IFIC Caffeine Review’

เนื่องจากในกลุ่มเครื่องดื่มให้พลังงานแต่ละชนิดมีปริมาณคาเฟอีนแตกต่าง กัน ดังนั้นคุณจึงควรตรวจดูปริมาณคาเฟอีนเมื่อลองสินค้าใหม่ๆ ผู้ผลิตเครื่องดื่มให้พลังงานส่วนมากแสดงปริมาณคาเฟอีนบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือบนเว็บไซต์สินค้าอย่างเป็นทางการ อย่าลืมตรวจสอบขนาดหน่วยบริโภค(serving size) ที่เหมาะสมบนฉลากด้วย – เครื่องดื่มให้พลังงาน 1 ขวดอาจให้คาเฟอีนมากกว่าหนึ่งหน่วยบริโภค และคุณอาจสามารถได้รับคาเฟอีน 2 หรือแม้กระทั่ง 3 เท่าได้หากคุณบริโภคหมดภาชนะบรรจุ

คำถาม : ควรวิตกกังวลกับปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่มให้พลังงานหรือไม่

คำตอบ : เช่นเดียวกับอาหารและเครื่องดื่มผสมคาเฟอีนอื่นๆ เราสามารถบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานได้อย่างปลอดภัยในปริมาณที่เหมาะสม หลักฐานที่รวบรวมได้ทั้งจากการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยทางคลีนิ คสรุปว่า 300 มิลลิกรัมต่อวันคือปริมาณการบริโภคคาเฟอีนที่เหมาะสมและปลอดภัยแม้สำหรับ กลุ่มผู้มีความไวต่อคาเฟอีน เช่น เด็กและหญิงมีครรภ์

อย่างไรตาม ยังมีกลุ่มผู้ไวต่อคาเฟอีนมากกว่าคนอื่นๆ บางคนอาจรู้สึกถึงผลกระทบได้จากเพียงหน่วยบริโภคเดียว ขณะที่คนอื่นๆอาจไวน้อยกว่า โดยมีประสบการณ์ของอาการต่อไปนี้ ตื่นเต้น, กระสับกระส่าย และกระวนกระวาย คนส่วนใหญ่จะปรับคาเฟอีนตามปริมาณที่สามารถบริโภคได้โดยไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

ถึงแม้ว่างานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากจะแสดงผลให้เห็นว่า การบริโภคคาเฟอีน 200-300 มิลลิกรัมต่อวันไม่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ แต่หญิงมีครรภ์ควรเฝ้าสังเกตการบริโภคคาเฟอีนของตนและปรึกษากับสูติ-นรีเวช (OB/GYN) หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ คุณสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานเพื่อสุขภาพระหว่าง ตั้งครรภ์จากโบร์ชัวร์ของมูลนิธิ IFIC ได้ที่ ‘Healthy Eating During Pregnancy’

และแม้จะไม่พบว่าคาเฟอีนเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังหรือ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ แต่ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงและ/หรือมีประวัติอาการหัวใจวายเฉียบพลันและ โรคลมปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแล

คำถาม : แล้วรายงานข่าวเกี่ยวกับการโทรศัพท์สอบถามไปยังศูนย์พิษวิทยา (Poison Control Center) สหรัฐฯ จากประชาชนที่คาดกันว่าถูกนำส่งโรงพยาบาลเนื่องจากบริโภคเครื่องดื่มให้ พลังงานล่ะ รายละเอียดเป็นอย่างไร

คำตอบ : เมื่อเร็วๆ นี้มีโทรศัพท์หลายสายสอบถามไปยังศูนย์พิษวิทยา เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับบทความในสื่อที่อ้างถึงภาวะพิษคาเฟอี น(caffeine intoxication) และการที่เด็กและวัยรุ่นหันมาบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานกันมากขึ้น แต่โทรศัพท์ที่สอบถามส่วนใหญ่ความจริงแล้วมาจากประชาชนที่บริโภคอาหารเสริม มีส่วนผสมของคาเฟอีน ซึ่งตรงข้ามกับเครื่องดื่มให้พลังงาน ผลกระทบจำนวนมากจากรายงานที่ได้รับเกิดขึ้นเมื่อคาเฟอีนถูกรวมเข้ากับส่วน ผสมจากพืชสมุนไพรอื่นๆ หรือรับประทานพร้อมกับยาอื่น ๆ

แม้งานศึกษาจะให้ข้อมูลเรื่องการโทรศัพท์ไปยังศูนย์พิษวิทยาว่า สาเหตุส่วนมากโดยแท้จริงไม่ได้มาจากการบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงาน แต่หากคุณมีเด็กๆ ควรพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับการสร้างนิสัยเรื่องความพอดีในทุกๆแง่มุมของการ รับประทานอาหาร, การดำเนินชีวิต รวมถึงการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มมีคาเฟอีน เครื่องดื่มเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดพลังงานมากกว่าปกติ ซึ่งอาจไม่จำเป็นสำหรับเด็กและวัยรุ่นหลายๆคน เนื่องจากยังอ่อนเยาว์และมีพลังตามธรรมชาติ การดื่มเครื่องดื่มให้พลังงานเพื่อความรื่นรมย์นานๆสักครั้งหนึ่งก็ไม่เป็น อันตรายต่อผู้มีสุขภาพดี

หากคุณมีความวิตกกังวลหรือมีอาการที่สังเกตได้จากการบริโภคคาเฟอีนแม้ใน ปริมาณเล็กน้อย คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อขอคำแนะนำก่อนจะบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานและ/หรือเครื่องดื่มที่มี คาเฟอีนอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้ ควรบริโภคเครื่องดื่มให้พลังงานอย่างรับผิดชอบและไม่ควรนำไปผสมกับแอลกอฮอล์

คำถาม : เนื่องจากเครื่องดื่มให้พลังงานได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เครื่องดื่มชนิดนี้จะมีผลเสียต่อเด็กๆหรือไม่

คำตอบ : คาเฟอีนปริมาณที่เหมาะสมนั้นปลอดภัยต่อประชาชนผู้มีสุขภาพดีโดยทั่วไปรวมถึง เด็กๆ ด้วย งานค้นคว้าแสดงให้เห็นว่า ความไวต่อคาเฟอีนของเด็กๆ ไม่ได้มากไปกว่าผู้ใหญ่

ถึงแม้ว่าเด็กๆ สามารถบริโภคคาเฟอีนได้อย่างปลอดภัย แต่เครื่องดื่มให้พลังงานจำนวนมากก็มีฉลากเตือนซึ่งระบุว่า ‘เด็กไม่ควรดื่ม’ หลักการจัดการในทุกๆ กรณีคือ ใช้สามัญสำนึกเมื่อต้องยื่นเครื่องดื่มให้พลังงานกับเด็กๆ – การให้เด็กได้เพลิดเพลินกับปริมาณเล็กน้อยถึงปานกลางเป็นบางครั้งคราวก็ถือ เป็นส่วนหนึ่งของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพโดยรวมเช่นกัน วิธีหนึ่งที่ทำได้คือ เทปริมาณ(ระบุไว้บนฉลาก) ที่ถูกต้องลงในแก้วเล็กๆ แล้วแบ่งกันรับประทานกับเด็กๆ ของคุณ

ของเหลวสำหรับเด็กช่วงอายุต้นๆ ส่วนมากควรเป็นเครื่องดื่มที่มีสารอาหารสำคัญๆ เช่น แคลเซียมและวิตามินดี ตัวอย่างคือ นมไขมันต่ำและน้ำผลไม้ 100% ควรพูดคุยกับเด็กๆเกี่ยวกับความพอดีของอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด และสอนให้อ่านปริมาณคาเฟอีนและวิตามินเกลือแร่อื่นๆบนฉลากอาหาร สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้อย่างฉลาดเมื่อเติบโตขึ้น

คำถาม : คาเฟอีนเป็นสาเหตุทำให้เด็กเกิดภาวะไม่อยู่เฉย (hyperactive) จริงหรือ

คำตอบ : ไม่, ไม่มีหลักฐานใดแสดงว่าคาเฟอีนสัมพันธ์กับพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactive Behavior) ในความเป็นจริง งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่มีการออกแบบอย่างดีส่วนมากแสดงว่า คาเฟอีนไม่มีผลกระทบต่อความซุกซนผิดปกติหรือโรคสมาธิสั้น(ADHD) ในเด็ก

คำถาม : คาเฟอีนทำให้เสพติดได้หรือไม่

คำตอบ : ไม่, คาเฟอีนไม่ใช่สารเสพติด และสามารถเป็นตัวกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอย่างอ่อนได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณคาเฟอีนที่รับเข้าสู่ร่างกาย ถึงแม้ในบางครั้งคาเฟอีนจะมีความหมายว่า ‘เสพติด’ อย่างไม่เป็นทางการ การบริโภคปริมาณที่เหมาะสมมีความปลอดภัยและไม่ควรถูกมองว่าเป็นการใช้ยาเสพ ติดในทางที่ผิด คนที่พูดว่า ‘ติดกาแฟ’ นั้นบ่อยครั้งใช้ศัพท์คำนี้อย่างฟุ่มเฟือย เช่นเดียวกับคำว่า ‘ติดวิ่ง’, ‘ติดงาน’ หรือ ‘ติดโทรทัศน์’ การหยุดคาเฟอีนกะทันหันจากที่เคยบริโภคเป็นประจำ อาจทำให้บางคนเกิดประสบการณ์ทางอาการที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะ, อิดโรย หรือสะลึมสะลือ โดยปกติผลกระทบอ่อนๆเหล่านี้จะบรรเทาลงภายในวันหรือสองวัน และอาจป้องกันหรือลดได้ด้วยการค่อยๆลดการบริโภคคาเฟอีนลงเรื่อยๆ

สิ่งสำคัญที่สุด

เครื่องดื่มให้พลังงานมีความปลอดภัยและสามารถบริโภคได้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยควบคู่ไปกับอาหารมีคุณค่าต่อร่างกาย เมื่อต้องการทราบปริมาณคาเฟอีนรวมต่อวัน ให้ตรวจสอบจำนวนหน่วยบริโภคบนภาชนะบรรจุเพื่อหาปริมาณคาเฟอีน หลังจากนั้นให้รวมคาเฟอีนจากแหล่งอื่นๆด้วย เช่น น้ำอัดลม และกาแฟ ใช้สามัญสำนึกและพูดคุยกับเด็กๆของคุณเกี่ยวกับความเหมาะสมในการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิด รวมถึงเครื่องดื่มให้พลังงาน

แหล่งข้อมูล: www.foodinsight.org

ที่มา: ประชาไท 28-10-53 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชีย (AFIC)

Relate Post