100milediet.org กับภารกิจกินใกล้ 100 ไมล์ใน 100 วัน

เมื่อเห็นอาหารในจาน เคยมีสักแว้บมั้ยที่คิดว่า?
มันต้องเดินทางไกลเพียงใดกว่าจะมานอนรอให้เราตักเข้าปาก

หญิงชายชาวแคนาดาสองคนฉุกคิดเรื่องการเดินทางของอาหารใน ช่วงต้นปี 2548 พวกเขาไม่ได้หยุดไว้แค่คิด แต่อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Adbusters เจมส์ แมคคินนอน (James MacKinnon) และนักเขียนอิสระ อลิสา สมิธ (Alisa Smith) ตกลงใจที่จะตัดขาดอาหารที่ขนส่งมาจากแดนไกล ทั้งคู่ตั้งเงื่อนไขให้ตัวเองกินดื่มเฉพาะอาหารที่มีต้นทางการปลูกและ ผลิตอยู่ในรัศมี 100 ไมล์หรือประมาณ 160 กิโลเมตร โดยใช้อพาร์ทเมนท์ของพวกเขาในเมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดาเป็นจุดศูนย์กลาง นั่นคือที่มาของ 100-Mile Diet โปรเจ็คต์ท้าทายที่ต้องลงมือต่อเนื่องเป็นเวลา 365 วัน!!

ซึ่งไม่ง่ายเลย เพราะเจมส์และอลิสาปฏิบัติกันอย่างจริงจังและเข้มข้น ลงมือสืบเสาะกันถึงต้นทางของแหล่งผลิตจริงๆ ว่าอยู่ที่ไหน ช่วงเดือนแรกน่าจะเป็นเวลาที่สาหัสที่สุด รายการอาหารต้องห้ามยาวเหยียดเป็นหางว่าว ข้าว น้ำมันมะกอก ช็อกโกแลต เกลือ น้ำตาล ล้วนถูกส่งมาจากแหล่งผลิตนอกรัศมี อาหารหลักที่กินได้มีเพียงมันฝรั่ง..มันฝรั่ง..และมันฝรั่ง

ผ่านไปหกสัปดาห์ เจมส์น้ำหนักหายไป 3 กิโลกรัม ส่วนอลิสาก็ผอมลง 4.5 กิโลกรัม แต่ยังไม่ล้มเลิกความตั้งใจโดยง่าย ทั้งคู่ยังเดินหน้าท้าทายตัวเองต่อไป พวกเขาไม่ได้กินไข่เลย จนกระทั่งค้นพบฟาร์มขนาดเล็กในรัศมี 100 ไมล์ที่เลี้ยงไก่แบบปล่อยให้หากินอิสระ และเมื่อไม่มีเต้าหู้ยี่ห้อไหนที่ ใช้ถั่วเหลืองซึ่งปลูกในท้องถิ่น นักมังสวิรัติคู่นี้ก็ต้องเลิกกินเต้าหู้ไปโดยปริยาย พร้อมกับผ่อนปรนความเป็นมังสวิรัติของตนเองลง หันมาบริโภคเนื้อสัตว์จากฟาร์มออร์แกนิกบ้าง ทานอาหารทะเลจากฟาร์มในท้องถิ่นบ้าง พวกเขาเริ่มลงมือปลูกผักเอง สลัดผักสดจานแรกจากแปลงผักทำให้รู้ว่า ผักที่เก็บและกินภายใน 24 ชั่วโมงรสชาติดีและเต็มไปด้วยชีวิตชีวาเพียงใด

100MileDiet02

ขณะเดียวกันก็ต้องหักห้ามใจจากสตรอเบอรี่ที่เหินฟ้ามาจากเม็กซิโกและผลไม้ เมืองร้อนอีกนานาชนิด ยังโชคดีที่มีแคนตาลูป วอลนัท และน้ำผึ้ง พวกเขาหัดทำขนมปัง ขนมอบ และแคร็กเกอร์ หลังจากเจอร้านขายแป้งสาลีที่ปลูกและผลิตขายภายในชุมชน????? พวกเขาช่วยกันคิดค้นอาหารจานใหม่ขึ้นมาอีกเพียบ โดยสร้างสรรค์จากวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น และวางแผนการกินมากขึ้น มีการเก็บเบอร์รี่ไปทำแยม รวมทั้งถนอมอาหารประเภทอื่นๆ ไว้สำหรับช่วงฤดูหนาว สิ่งเดียวที่พวกเขายอมรับว่า หาไม่ได้ในท้องถิ่นและต้องยกเว้นเงื่อนไข 100 ไมล์ก็คือ…เกลือ

100MileDiet05

เป้าหมายที่ตั้งใจไว้แต่แรกมีเพียงการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ผลิตอาหารใน ท้องถิ่น การจุนเจือเศรษฐกิจของฟาร์มขนาดเล็ก ลดความสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้ในการขนส่งอาหาร และเชื่อมโยงชุมชนให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่เมื่อพวกเขาได้ถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ ทดลองกินใกล้ 100 ไมล์ลงในเว็บไซต์ข่าวท้องถิ่น ปรากฏว่าได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม มีผู้คนตามอ่านมากถึง 40,000 คน ในที่สุดก็กลายมาเป็น

100milediet.org คู่มือ

100MileDiet04

ออนไลน์สำหรับคนที่อยากเดินตามรอยพวกเขา รวมทั้ง ?The 100-Mile Diet? หนังสือที่ออกวางขายในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2550 คนจำนวนไม่น้อยที่รับรู้เรื่องราว ต่างพยายามลองปฏิบัติภารกิจกินใกล้ในแบบของตัวเอง มีทั้งระยะสั้นๆ เพียงหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน และยาวนานเทียบเท่าต้นแบบคือหนึ่งปี อาจเรียกได้ว่า เจมส์และอลิสากลายเป็นผู้บุกเบิกสร้างกระแส ?กินอาหารท้องถิ่น? ให้เกิดขึ้นในอีกหลายเมืองและหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์?เป็นผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่เกินคาดคิดจริงๆ

ผ่านพ้นภารกิจแรกไปแล้ว เจมส์และอลิสาก็ยังเพลิดเพลินกับการกินใกล้ต่อไป เพราะไม่อยากให้สายสัมพันธ์ระหว่างเขากับผู้ผลิตอาหารในท้องถิ่นต้องจบลง โดยอาจจะคลายความเข้มงวดบ้าง คือไม่ใช่อาหารท้องถิ่นเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังเป็นส่วนประกอบหลัก 75- 90 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละมื้อ

และ ในปี 2551 ทั้งคู่ก็เริ่มต้นกับภารกิจใหม่ คราวนี้ไม่ได้ลงมือกินกันแค่สองคน แต่สนุกสนานคึกคักกว่าเดิม เพราะเป็นการชักชวนเพื่อนร่วมอุดมการณ์จำนวนมากมาร่วมปฏิบัติภารกิจกินใกล้ 100 ไมล์ใน 100 วัน (ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ? 8 กันยายน) โดยใช้ 100milediet.org เป็นศูนย์กลาง คลื่นลูกที่สองนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กว่าเดิม ความสนใจแผ่ขยายเป็นวงกว้างขึ้น…

100MileDiet03

ร้านอาหารบางแห่งในแวนคูเวอร์ยังอยากมีส่วนร่วม ถึงกับยอมเพิ่มเมนูอาหารตามฤดูกาลและพยายามควานหาวัตถุดิบจากท้องถิ่นมาปรุง อาหารเสิร์ฟลูกค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งจัดชั้นวางสินค้าพิเศษสำหรับ ?อาหารที่ปลูกใกล้บ้าน? ขึ้นมา ยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวจากทั่วสารทิศที่หลั่งไหลมาสู่เจมส์และอลิสา… ลองแวะเข้าไปอ่านกันได้ใน ?Mission Challenge?

จะว่าไปแล้ว การกินอาหารท้องถิ่นเนี่ย นอกจากจะเป็นพฤติกรรมเขียวๆ ที่เป็นมิตรกับโลก ยังเหมาะกับสภาพเศรษฐกิจช่วงนี้ยิ่งนัก อย่างน้อยก็ช่วยให้เงินบาทไหลเวียนคล่องอยู่ภายในประเทศ ใครคันปากอยากลอง ?กินใกล้? ก็มิควรรีรอ เริ่มได้เลยทันที แต่หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายกินใกล้ได้ครบถ้วนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์…อย่า เพิ่งท้อหรือถอดใจ เพราะการลดกินอาหารจากแดนไกลลงได้ครึ่งนึง ก็ถือเป็นความพยายามของมือใหม่ที่น่าภูมิใจได้ไม่แพ้กันเลยจริงๆ

ที่มา : http://www.change-action.com/connect/

Relate Post