Do boycotts really work ?

อันเนื่องมาจากกระแสบอยคอตเซเว่นอันโฉ่งฉ่าง ก็เลยไปนั่งดูประสบการณ์ในต่างประเทศหาว่ามีที่ประสบความสำเร็จกันบ้างไหมอย่างไร

คือไอ้บอยคอตเนี่ย เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้กันทั่วไปในการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมและนโยบายปฏิบัติของเป้าหมาย ไปถึงการเปลี่ยนแปลงสังคม เป็นเครื่องมือที่ผู้บริโภคใช้เพื่อแสดงความไม่พอใจให้ผู้ประกอบการสินค้าบริการได้รับรู้ Ethical Consumer Magazine ของเกาะอังกฤษระบุว่า มี “Progressive botcotts” ดำเนินการอยู่ในเวลานี้ไม่น้อยกว่า 66 รายการทั่วโลก แต่ถ้าไปนับทั้งหมดที่ไปสะกิดดูในอินเตอร์เน็ตเนี่ย นับไม่หวาดไหวเลยแหละ 

http://www.theguardian.com/vital-signs/2015/jan/06/boycotts-shopping-protests-activists-consumers

บทความนี้เค้าแบ่งการบอยคอตเนี่ยเป็นสองแบบหลัก ๆ ได้แก่ แบบชาวบ้าน กับแบบโปร มันก็ต่างกันประมาณ แบบวางแผนดิบดีมีกิจกรรมเชื่อมโยงร้อยไปบรรลุเป้าหมายที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมและนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องเล่นกันยาว กับแบบชาวบ้านเกิดไม่พอใจบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ชวนกันไม่ซื้อ ไม่จ่ายทรัพย์ให้บริษัทนั้น หลายกรณีก็ส่งผลให้ยอดขายตก ชวนตกใจไประยะสั้น บริษัทอาจปรับปรุงสินค้าและบริการ แต่ส่วนใหญ่แล้วเค้าบอกว่าไม่ค่อยส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนโยบายของบริษัทนัก คือทำป๊อบๆ แป๊บๆ มันก็ได้ผลแบบแว๊บๆ ตัวอย่างเช่น การบอยคอตไวน์ฝรั่งเศสตัวหนึ่งในสหรัฐ ทำเอายอดตก 26 % แต่ห้าหกเดือนให้หลังก็กลับมาอย่างเก่า ไม่มีผลแต่อย่างใดต่ออุตสากรรม หรือนโยบายการผลิตไวน์ในฝรั่งเศส 

มาไล่ๆ ดูแคมเปญบอยคอตที่ประสบความสำเร็จ เป็นแคมเปญทีต้องเล่นกันยาว ๆ ทั้งนั้นเลย ล่าสุดเนี่ยก็ Sodastream เครื่องทำน้ำซ่า ที่ดันไปมีโรงงานอยู่ในฉนวนกาซ่า เค้าบอยคอตกันทำเอาเจ๊งใน UK แต่ดูเหมือนจะยังไม่ย้ายโรงงานนะ ก็คงต้องว่ากันต่อ 

http://www.ethicalconsumer.org/boycotts/successfulboycotts.aspx

ล่าสุดปี 2012 แบบเห็นการเปลี่ยนแปลงชัด ๆ เป็นรูปธรรม ก็บริษัท Johnson & Johnson เลิกใช้สารที่มีฟอร์มาลีนในผลิตภัณฑ์สำหรับทารก อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญบอยคอตเพื่อเครื่องสำอางค์ที่ปลอดภัย 

ที่ดังมากหลายคนคงเคยได้ยินเมื่อทศวรรษที่แล้ว ก็ Nike เรื่องแรงงานเด็ก การเอาเปรียบซัพพลายเอ้อ ส่งผลยาวไกลให้ไนกี้ต้องทำงานหนักมากในการกอบกู้ภาพลักษณ์ และสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่กลายเป็นแถวหน้าในการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนกันเลยทีเดียว 

อีกตัวอย่างหนึ่งก็ Nestle’ ที่ยังยืดเยื้อทำกันต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เรื่องเนสเล่ทำการตลาดนมผงแบบชั่วร้ายในประเทศยากจนอย่างแถบอัฟริกา แจกนมฟรีตั้งแต่ในโรงพยาบาล เอาเซลวูแมนแต่งชุดพยาบาลมาแนะนำการเลี้ยงลูกด้วย นม (ผง) เป็นต้น ก็บอยคอตกันจนเลิกพฤติกรรมแบบนี้เป็นประเทศ ๆ ไป ของบ้านเราก็ห้ามแจกนมฟรีใน รพ.ไปหลายปีแล้ว 

น่าสังเกตว่าการบอยคอตที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้เป็นการปฏิบัติการของผู้บริโภคในโลกเหนือที่ส่งผลต่อพฤติกรรมบริษัทที่ไปกระทำในโลกใต้เสียเป็นส่วนใหญ่ เงื่อนไขสำคัญของประสิทธิภาพและความสำเร็จของแคมเปญเหล่านี้ ผู้ชำนาญการท่านว่า ต้องเป็นการโจมดีแบรนด์ที่ได้ผล ทำให้บริษัทรู้สึกว่าแบรนด์กำลังเสียหาย และเป็นความเสียหายที่อาจประเมินเป็นตัวเงินได้ยาก ยิ่งกว่ายอดขายตก นอกจากนี้ก็ต้องมีทางออกให้บริษัท บทความใช้คำว่ามี carrots กับ stick คือทำดีได้แครอทเป็นรางวัล ได้ชื่อได้หน้า ทำห่วยก็ได้ไม่เรียวโดนด่าโดนประณามเลิกซื้อกันไปบ้าง ที่สำคัญคือ ต้องระบุคำถาม หรือสิ่งที่เราต้องการให้บริษัททำให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม 

ย้อนกลับมาดู ไม่เข้าไม่ซื้อ 7 11 7-11 May ของบ้านเรา ก็นับว่าเป็นมือใหม่เริ่มขับ สร้างกระแสได้ครึกครืนทีเดียวใน social network หวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแคมเปญระยะยาวที่จะส่งผลถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหากำไรอย่างที่เรียกว่าเกือบสามานย์ในหลายกรณีของบรรษัทที่เป็นเป้าหมาย และที่จำเป็นและสำคัญอย่างที่สุดคือการส่งอิทธิพลต่อการพัฒนานโยบายและกลไกมากำกับควบคุมพฤติกรรมของบริษัททั้งหลายไม่ใช่แต่บริษัทนี้บริษัทเดียว ให้เกิดความเป็นธรรม และให้การแข่งขันเสรีมันมีในโลกความเป็นจริงบ้างไม่เป็นแค่ฟองน้ำลายของนักเศรษฐศาสตร์

Relate Post

ตลาดสด ตลาดนัด ความสำคัญต่อปากท้องของคนไทย

ผลสำรวจตลาดสดหลายแห่ง พบว่ารูปแบบการจัดการตลาดยังคงเป็นแบบดั้งเดิม ในขณะที่บางตลาด มีการนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประกอบการจัดการตลาด

Read More