“เผาป่าเพื่อหาผักหวานและเห็ดเผาะ” ตัวการขัดขวางกระบวนการเป็นประชาธิปไตย

ชุดความรู้คำอธิบายต่อปัญหา “หมอกและควัน” ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปีของทุกปี มักจะมีคำอธิบายเดิมๆ ซ้ำๆ เช่นไฟป่าตามธรรมชาติ[1] ไฟจากน้ำมือมนุษย์ และแน่นอนว่าปรากฏการณ์ไฟจากน้ำมือมนุษย์น่าจะเป็นชุดความรู้คำอธิบายที่ เกิดขึ้นหลังจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ชนบท ซึ่งอย่างน้อยก็เข้มข้นและหนักหน่วงขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา[2] ชุดความรู้คำอธิบายจากช่วงเวลาดังดังกล่าวก็อาจมาจาก “วาทกรรมการพัฒนา”[3] ด้วย ที่ได้จัดวางตำแหน่งแห่งที่ให้ผู้คนในสังคมเป็น 2 กลุ่มหลัก คือกลุ่ม “คนในเมือง” ซึ่งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมหรือพื้นที่เจริญกว่าคนอีกกลุ่มคือ “คนชนบท” ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่เกษตรกรรม

ภาคเหนือและภาคอีสานกลายเป็นพื้นที่ๆ ถูกจัดวางไว้ในเขตชนบท แม้ว่าปัจจุบันชนบทจะเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วก็ตาม แต่ในจินตนาการของ “คนชั้นกลางในเมือง” ชนบทก็ยังเป็นชนบทแบบในละครอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ในความเป็นจริงถึงแม้ว่าพื้นที่ในภาคเหนือและภาคอีสานจะเป็นเขตเกษตรกรรม แต่ก็ไม่ใช่การทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม (ที่ทำเพื่อยังชีพ) เพราะพวกเขาที่เป็นเกษตรกรจะต้องข้องเกี่ยวกับทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กระบวนการผลิตทุกขั้นตอนต้องคำนวณต้นทุนอย่างเป็นระบบ และอีกอย่าง พืชเงินสด (cash crops) ทั้งหลาย ที่ปลูกกันในภาคเหนือภาคอีสานก็เป็นพืชเศรษฐกิจที่สะท้อนความต้องการบริโภค แบบสังคมสมัยใหม่ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญในการผลิตโปรตีนจากสัตว์ และน้ำตาลก็เป็นพืชที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอาหารอีกหลากหลายชนิดที่ ตอบสนองต่อความต้องการการบริโภคแบบสมัยใหม่ เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงบอกได้ว่าภาคเหนือและภาคอีสานคือพื้นที่รองรับการ ผลิตอาหารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของ “คนในเมือง” ที่ไม่สามารถผลิตอาหารเองได้

“การเผา” เพื่อผลิตพืชเงินสดทั้งหลาย ก็เป็นหนึ่งในกระบวนการตอบสนองการบริโภคแบบสังคมสมัยใหม่ที่คำนวณต้นทุนการ ผลิตอย่างดีแล้วว่า “คุ้มค่า” มากที่สุด อย่างน้อยก็ในระบบคิดของเกษตรกรซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับระบบคิดของนัก เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

“คนชั้นกลางในเมือง” ที่อ่อนไหวต่อปัญหานี้ตามหลักสากล หรือไม่ก็อ่อนไหวเพราะรู้สึกว่าขาดแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไป 2 พื้นที่ หรือพวกเขาแกล้งลืมไปว่าพวกเขาก็เป็นต้นตอของปัญหา ซึ่งพวกเขาเป็นแหล่งกำเนิดของอุปสงค์ต่อสินค้าที่สนองตอบต่อรูปแบบการบริโภค สมัยใหม่ จึงทำให้พวกเขาหลับหูหลับตาและเชื่อว่าสาเหตุหลักของการเกิดหมอกควันคือเป็น เพราะชาวบ้าน “เผาป่าเพื่อหาผักหวานและเห็ดเผาะ” ว่าเป็นสาเหตุหลัก

“เผาป่าเพื่อหาผักหวานและเห็ดเผาะ” ช่างเป็นคำอธิบายถึงสาเหตุควันไฟที่ดูถูกวิถีชีวิตของคนเหนือและอีสานจริงๆ ในที่นี้ไม่แน่ใจว่าคำกล่าวอ้างนั้นเป็นจริงหรือไม่ แต่ดูโดยเหตุผลแล้วมันไม่น่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดหมอกควันได้เลย เพราะจากรูปที่1 ภาพถ่ายแสดงพื้นที่ไฟป่าปีพ.ศ.2545 – 2550

รูปที่ 1 ภาพถ่ายแสดงพื้นที่ไฟป่าปี พ.ศ.2545 – 2550[4]

6805303600_95808b151a

จากรูปที่ 1 แสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาเดียวในระยะเวลาห่างกัน 5 ปีการเกิดไฟป่ากินพื้นที่เป็นบริเวณกว้างมากจากปีพ.ศ.2545 – 2550 จึงทำให้เกิดคำถามว่า ในเมื่อสังคมใน 5 ปีมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การบริโภคแบบสมัยใหม่ก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น แล้วการบริโภคในรูปแบบสมัยใหม่เข้มข้นขึ้นมันจะกระตุ้นอุปสงค์ต่อของป่า อย่างผักหวานและเห็ดเผาะให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร? จนทำให้ชาวบ้านเกษตรกรซึ่งก็มีรูปแบบการผลิตที่ใช้ทุนเข้มข้นขึ้นทุกวัน รู้สึกว่าการเผาเพื่อหาของป่านอกฤดูทำนามันคุ้มค่าได้อย่างไรในเมื่ออุปสงค์ ต่อรูปแบบการบริโภคสมัยใหม่เพิ่มขึ้น? คำตอบในขั้นต้นคือ อุปสงค์ต่อของป่าน่าจะลดลงตามความเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมือง ดังนั้น “เผาป่าเพื่อหาผักหวานและเห็ดเผาะ” จึงไม่น่าจะใช่สาเหตุหลักแน่นอน แต่การเผาเพื่อผลิตพืชเงินสดเช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอ้อยยังจะฟังมีเหตุผล มากกว่า

ดังนั้นจึงเกิดคำถามตามมาว่า แล้วทำไมคำอธิบายว่า “เผาป่าเพื่อหาผักหวานและเห็ดเผาะ” เป็นสาเหตุหลักของหมอกควันในปีพ.ศ.2555 จึงยังคงมีน้ำหนักอยู่? ดังเช่นคำอธิบายที่มาจากเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นจากแหล่งข่าวหนึ่งว่า

“อธิบดีกรมคบคุมมลพิษชี้สาเหตุคนเผาป่าภาคเหนือเพื่อหาเห็ดเผาะ และเก็บผักหวาน หากไม่เผาผักหวานจะไม่แตกยอด เผยปัญหาหมอกควันเริ่มลดลง แต่นิ่งนอนใจไม่ได้ กำชับผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดกวดขันเต็มที่”[5]

ข้อความจากแหล่งข่าวดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคำอธิบาย “เผา ป่าเพื่อหาผักหวานและเห็ดเผาะ” อาจเกิดขึ้นในหัวของเจ้าหน้าที่รัฐหรือเป็นสมมติฐานเบื้องต้นที่เชื่ออย่าง สนิทใจว่าชาวบ้านเกษตรกรเป็นตัวปัญหาเนื่องจากพวกเขาไม่มีความรู้เรื่องสิ่ง แวดล้อม ไม่มีความรู้ในเรื่องการเกษตร และไม่คิดถึงผู้อื่นหรือคิดแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเป็นต้นดังข้อความจากแหล่ง ข่าวหนึ่งดังนี้

“…มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดูแลและป้องกันไฟป่าในเขต ภาคเหนือมาให้ความรู้ว่า สาเหตุที่เกิดไฟไหม้ป่าหลายจุดทั่วไปในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง มีสาเหตุหนึ่งที่เป็นสาเหตุหลักมาจากคนท้องถิ่นบุคคลเหล่านี้ทำมาหากินอยู่กับการทำไร่ทำนาที่ติดกับป่าเขา เมื่อหมดหน้าไร่นาย่างเข้าสู่ฤดูแล้ง คนเหล่านี้จะออกหาของป่ามาขายอย่าง หนึ่งที่ชาวบ้านต้องการคือยอด ผักหวาน ที่เกิดขึ้นตามความเชื่อของชาวบ้าน คือภายหลังจากไฟไหม้ป่า… แต่ในความเป็นจริงนั้นเจ้าหน้าที่ป่าไม้บอกว่าแม้ไม่มีไฟไหม้ป่าผักหวานก็ ถอดยอดเมื่อมีฝนตกหลังฤดูแล้งอยู่ดี แต่ความรู้นี้บอกให้ตายก็ยังถอนความเชื่อผิดๆ ออกจาสมองชาวบ้านไม่ได้ จนเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่รู้จะทำยังไง ก็ได้แต่ระวังป้องกันและให้ความรู้กันต่อไปจนกว่าความรู้เรื่องผลเสียหายของ การเผาป่าจะเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน…”[6]

ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะทำลายความเชื่ออัน “หนัก แน่น” ดังกล่าวได้ ยิ่งคำอธิบายนั้นๆ ออกมาจากปากของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นผู้ที่มี “ความรู้” และ “ใกล้ชิดกับปัญหา” นอกจากนั้นคำอธิบายในหัวของ “คนชั้นกลางในเมือง” พวกเขาก็ยิ่งเชื่ออย่างสนิทใจว่า พวกคนชนบทชอบเผา เมื่อผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองในเดือนพฤษภาคมปีพ.ศ.2553 ที่มีเหตุการณ์เผากลางเมือง ด้วยอารมณ์ความรู้สึกและความเข้าใจต่อคนชนบทเดิมที่มีอยู่แล้วว่าเป็นพวก “โง่ จน เจ็บ” ป่าเถื่อน และ ไร้ “วุฒิภาวะทางการเมือง” ก็ยิ่งทำให้พวกเขาพร้อมที่จะโยนความผิดให้กับคนเหนือและอีสานว่าเป็นสาเหตุ ของมลพิษทางอากาศ

ประกอบกับหลังการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคมปี พ.ศ.2554 ได้มีการแสดงความคิดเห็นในเครือข่ายเฟสบุคของนักศึกษาระดับปริญญาเอกคนหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษต่อผลการเลือกตั้งผ่านรูปภาพเปรียบ เทียบระหว่าง GDP ต่อหัว หรือ (GDP per capita) กับจำนวนที่นั่ง ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคมปีพ.ศ.2554 ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่ง ส.ส.เป็นเสียงข้างมากดังรูปที่2 GDP ต่อหัวเปรียบเทียบกับจำนวนที่จำนวนที่นั่ง ส.ส. (หมายเหตุ: สีแดงคือพรรคเพื่อไทย สีฟ้าคือพรรคประชาธิปัตย์ และสีน้ำเงินเข้มคือพรรคภูมิใจไทย)

รูปที่ 2 GDP ต่อหัวเปรียบเทียบกับจำนวนที่จำนวนที่นั่ง ส.ส.[7]

6805303752_985e91d89d

จากรูปที่ 2 จะเห็นได้ว่าพื้นที่ของพรรคเพื่อไทยเท่ากับพื้นที่ๆ มี GDP ต่อ หัวต่ำ นั่นก็คือพื้นที่ภาคเหนือกับภาคอีสาน หากนำรูปที่1 กับรูปที่2 มาเทียบกันก็จะเห็นว่าพื้นที่ๆ เกิดไฟป่ากับพื้นที่ของพรรคเพื่อไทยคือพื้นที่ๆ เดียวกัน จึงทำให้มีถ้อยคำแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ดของเสรีไทย (webboard.serithai.net) ในหัวข้อชื่อกระทู้ “เชียงใหม่ วันนี้” โดย 1[8] 26 กุมภาพันธ์ 2555 20:07 ซึ่งมีคำอธิบายเกี่ยวกับหมอกควันเชื่อมโยงกับ “อคติทางการเมือง” เข้าด้วยกันดังข้อความที่จะยกมาต่อไปนี้

“1 : พอดีมีธุระด่วนที่เชียงใหม่ เกี่ยวกับผักของโครงการ ได้เห็นสภาพของป่าไม้ นั่งดื่มกาแฟกับเพื่อนที่ริมเขื่อนแม่กวง เห็นไฟไหม้ป่า จึงถามมันว่าไฟมาจากไหน ชาวบ้านเผา เพราะต้องการให้หวานมันแตกยอด เพราะคิดอย่างนี้จึงเลือกทักษิณ… คิดแต่ผลประโยชน์สั้นๆ วันนี้ แต่วันหน้าต้องแลกกับอะไรไม่สนใจ

1 : ชาวบ้านอีสานก็คิดเหมือนกัน ป่าสงวนที่เป็นป่าเต็งรังที่ชาวบ้านเข้าถึงโดนเผาก็เพราะเหตุผลนี้ ต้นไม้ในป่าเต็งรับโดนไฟลวกจะใบร่วงแล้วแตกใบใหม่ ไม้พื้นล่างของป่า ส่วนใหญ่จะเป็นต้นเพ็ก (เหมือนต้นไผ่แต่สูงประมาณเอว) พอไหม้เตียนแล้วจะเดินหาของป่าสะดวก

2 : ตายห่ายกจังหวัดเลยก็ได้ครับ ผมจำได้ม่ะเหตุการณ์เผาเมือง ผมเรียนอยู่เค้าเดินถือขวดเอ็ม 150 มาพร้อมน้ำมัน มาหน้าตึกเรียนพิเศษแล้วยามถามว่ามาจากไหนกันเนี๊ย เค้าบอกว่ามาไกลจากเชียงใหม่แน่ะ เค้าบอกว่ามาเพื่อความยุติธรรม ผมล่ะเห้อสมองเน้อ สมอง

3 : แรงไปครับ อย่างเหมารวมดิครับเชียงใหม่ฉลาดๆ ก็มีนะครับ

4 : แดงควายเยอะ ถนัดเรื่องเดียว เรื่องเผา อ้ายโปก อยากตาย

1 : ไม่เป็นไร เดี๋ยวพ่อแม้วเนรมิตทีมบอลเชียงใหม่ให้ (ทั้งที่มันทำแมนซิร่อแร่ คิดดู) ไม่เป็นไร เดี๋ยวพ่อแม้วโยกเงินมาลงทุนรถไฟไปเมืองจีนให้ (ระวังจะเหมือนโครงการถมทะเล ป่านนี้ไปลงหลุมไหนแล้วล่ะ) ไม่เป็นไร เดี๋ยวพ่อแม้วจะสร้างความเจริญทดแทนให้ (ทุ้ยยยย) เบื่อจะเคลียร์ อ่อนเพลียจะพูด หน้าผมเป็นตรูดทุกครั้งที่พูดถึงไอ้แม้วมัน

5 : ต้องขอโทษคนเหนือที่ยังเป็นคนอยู่ ผมและครอบครัวหลงใหลเชียงใหม่และภาคเหนือ ปีหนึ่งๆ ต้องไปไม่ต่ำกว่าสี่ครั้ง แต่ละครั้งจะพักหลายวันเพราะมีที่พักดีๆ เกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอด ตั้งแต่ปีที่แล้วไม่ได้ไปเลย เพราะไม่ชอบแนวความคิดนิยมเผาบ้านเผาเมืองและเห็นการจาบจ้วงสถาบันฯ อย่างเปิดเผย คนที่เคยหลงใหลภาคเหนือเป็นเหมือนผมหลายคน คงมีคนนิยมเผาฯ หลายคนพูดว่าไม่เห็นต้องง้อให้ผมไปเที่ยวเชียงใหม่เลย ซึ่งผมก็ว่าไม่ผิดอะไรเพราะเป็นท้องที่ของท่าน แต่ที่อยากจะฝากบอกคือเงินที่มันได้มาง่ายๆ มักหมดเร็ว ไม่ว่าจะมีบางตระกูลหยิบยื่นให้เพื่อผลประโยชน์เฉพาะหน้า หรือการลงทุนเผาป่าให้ได้ผักหวานและให้เดินเข้าไปเก็บของป่าโดยสะดวกที่จะ หมดไปพร้อมเงินคือความรู้ผิดชอบชั่วดี ถึงตอนนั้นจะไม่มีใครสงสารเห็นใจ”[9]

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าแม้แต่คำอธิบายที่ว่า “เผา ป่าเพื่อหาผักหวานและเห็ดเผาะ” ก็ได้กลายเป็นสาเหตุหลักของหมอกควันซึ่งเต็มไปด้วยความรู้สึกเหยียดหยามราว กับว่าประเทศเรายังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้ชีวิตหาของป่าล่าสัตว์ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และนอกจากนั้นคนกลุ่มดังกล่าวยังเป็นฐานเสียงให้กับพรรคการเมืองที่พวกเขา (คนชั้นกลางในเมือง) “ไม่รัก

อคติทางการเมืองเหล่านี้ใช่หรือไม่? ที่ทำให้เรายังไม่เข้าใจกันและเป็นตัวการณ์สำคัญในการกลบเกลื่อนปัญหาที่แท้ จริงของหมอกควันอันจะทำให้ภาครัฐและสังคมเข้าใจและร่วมกันแก้ปัญหาอย่างตรง จุด อีกทั้งปัญหาหมอกควันจากการชุดความรู้คำอธิบาย “เผาป่าเพื่อหาผัก หวานและเห็ดเผาะ” ยังเป็นคำอธิบายที่ตลกร้ายซ่อนนัยขัดขวางความเป็นประชาธิปไตยซึ่งควรจะเป็น สังคมที่มนุษย์มองมนุษย์ด้วยกันอย่างมีคุณค่าเท่าเทียม


[1] เป็น หนึ่งในสาเหตุสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากสภาพอากาศในช่วงต้นปีค่อนข้างจะแห้ง ประกอบกับป่าไม้สะสมเชื้อเพลิงไว้ในตัวเองในระดับ แต่สาเหตุนี้เหมือนกับว่าถูกลืมไป และถูกกลบเกลื่อนด้วยคำอธิบาย “เผาป่าเพื่อหาผักหวานและเห็ดเผาะ”

[2] โปรดดู ผาสุก พงษ์ไพจิตร คริส เบเคอร์. เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. เชียงใหม่: ซิลค์วอร์ม. 2546, หน้า 65 ตารางแสดงเนื้อที่ปลูกพืชไร่แยกรายภาคปีพ.ศ.2493 – 2542 แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวของเนื้อที่ปลูกไร่เช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และปลูก อ้อยในภาคเหนือและภาคอีสาน ขยายตัวในอัตราที่ก้าวหน้าหากเทียบกับภาคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ฤดูกาลผลิตปีพ.ศ.2523/2524 เป็นต้นมาถึงปีพ.ศ.2542 ในที่นี้ไม่มีตัวเลขใกล้เคียงกับปัจจุบันแต่คาดว่าอาจมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น

[3] วาท กรรมการพัฒนาของไทยเกิดขึ้นในทศวรรษ 2500 เป็นต้น ซึ่งมีผู้ผลิตคำอธิบายและเริ่มจัดวางตำแหน่งแห่งที่ให้กับคนในสังคมเป็น 2 กลุ่มดังกล่าวคือพระยาอนุมานราชธนวิเคราะห์จากงาน สายชล สัตยานุรักษ์. ประวัติศาสตร์วิธีคิดเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยของปัญญาชน (พ.ศ.2435-2535). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สกว. 2550, หน้า 309 – 455

[4] ไฟมา-ป่าหมด ไฟป่าปี 50 รุนแรงที่สุด…มีหลักฐาน [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.gotoknow.org/blogs/posts/84281 (3 มีนาคม 2555)

[5] แฉสาเหตุใหญ่เผาป่าภาคเหนือหวังหาเห็ด-ผักหวาน (จริงไหมครับ?) [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา Chttp://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=191754.0 (3 มีนาคม 2555)

[6] ฤาจะเผาป่าเพียงเพราะให้ได้ผักหวาน !!!! [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=409798 (3 มีนาคม 2555)

[7] จาก เฟสบุคของนักศึกษาระดับปริญญาเอกคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศ อังกฤษ ซึ่งเป็นการแชร์ลิงค์กันหลังผลการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 3 กรกฎาคมปีพ.ศ.2554

[8] นามสมมติ

[9] เชียงใหม่ วันนี้ [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา เสรีไทย (3 มีนาคม 2555)

ที่มา: ประชาไท วันที่ 4 มีนาคม 2555 โดย นายปฐมพงศ์ มโนหาญ นักศึกษาปริญญาโทภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.prachatai3.info/journal/2012/03/39505

“กินเปลี่ยนโลกเป็นกิจกรรมสาธารณะประโยชน์การนำข่าวหรือเรื่องเล่าต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตมาเผยแพร่ ไม่ได้ทำเพื่อการค้า”

Relate Post