ด้านมืดการตลาดอาหารเด็ก

หลังจากกระแสต่อต้านการทำตลาดอาหารขยะในเด็กและเยาวชนจากภาคประชาชนค่อนข้างรุนแรง บริษัทอาหารก็เริ่มทำตลาดใหม่ ด้วยการเริ่มประชาสัมพันธ์อาหารที่ ‘ดูสุขภาพดี’ ซึ่งอาจเพิ่มปริมาณผักผลไม้ในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก อาทิ ซุป Campbell เจ้าหญิงดิสนีย์ ‘Healthy Kids’ หรือ ซีเรียล Kellogg สกู้ปี้-ดู ชนิดน้ำตาลน้อยลง

ซูซาน ลินน์ ผู้อำนวยการโครงการปลอดโฆษณาสำหรับเด็ก และอาจารย์ด้านจิตวิทยาจาก Harvard Medical School ยอมรับว่า โฆษณาอาหารขยะเหล่านี้มีผลต่อเด็กๆ จริง โดยพบว่าโฆษณาสินค้าความยาว 30 วินาที มีอิทธิพลต่อเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป

สำหรับเด็กเล็ก จะรู้สึกว่าอาหารข้างในแพ็คเกจที่มีสีสันสดใสและลวดลายการ์ตูนดูน่าอร่อยกว่าแพ็คเกจเรียบเกลี้ยง ผลทดสอบในเด็กก่อนวัยเรียนระบุชัดเจนว่า อาหารอย่างเดียวกัน ถ้ารับประทานแพ็คเกจของ McDonald หรือแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดอื่นๆ เด็กๆ จะรู้สึกเอร็ดอร่อยกว่าบรรจุภัณฑ์ธรรมดา

การวิจัยชี้ให้เห็นว่า การทำตลาดกับผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เต็มไปด้วยความไม่จริงใจ เนื่องจากเด็กๆ ยังไม่มีวิจารณญาณในการแยกแยะหรือทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโฆษณาแบบผู้ใหญ่ เด็กเล็กๆ จะไม่รู้สึกถึงความต่างของรายการโทรทัศน์กับโฆษณาจนกว่าจะอายุ 8 ขวบ ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาเชื่อสิ่งที่ได้เห็นจากหน้าจอไปเรียบร้อยแล้ว

commercialfreechildhood-2

ผลสำรวจความเข้าใจเรื่องโฆษณาในเด็กอายุ 11-12 ปี ร้อยละ 40 เข้าใจว่าโฆษณาแต่ละชิ้นทำขึ้นเพื่อโน้มน้าวให้คนดูทำอะไรบางอย่าง ทั้งที่บางครั้งไม่ได้มาจากความต้องการที่แท้จริง ทำให้เด็กๆ ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะพอ มีสิทธิ์ถูกทำให้เชื่อด้วยคำพูดสวยหรู ภาพชวนฝันสีสันสวยงาม ซึ่งเป็นเทคนิกพื้นๆ ของการโฆษณา

การใช้คำโฆษณาที่บิดเบือน เกินจริง หรือจงใจสร้างความเข้าใจผิด ถือว่าผิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งบริษัทจะถูกควบคุมและไม่สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การทำตลาดสินค้าเด็กด้วยการโฆษณา ต้องถือว่าเข้าข่ายหลอกลวงและไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภครุ่นเยาว์แต่อย่างใด

ที่มา: Waymagazine วันที่ 2 กรกฎาคม 2556 http://waymagazine.org/movement/โฆษณาเด็ก/

“กินเปลี่ยนโลกเป็นกิจกรรมสาธารณะประโยชน์การนำข่าวหรือเรื่องเล่าต่างๆ จากอินเตอร์เน็ตมาเผยแพร่ ไม่ได้ทำเพื่อการค้า”

Relate Post