พณ.จ้องฟันผู้ค้า-ห้างโฆษณาเท็จขายชมพู่แพงเกินจริง

“พาณิชย์” เตรียมตรวจสอบผู้ค้าตลาด-ห้างค้าปลีก แอบอ้างใช้ชื่อจีไอชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง หลอกขายผู้บริโภคราคาสูง มีโทษปรับ 2 แสนบาท

นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมได้รับการร้องเรียนจากผู้ว่าราชการจ.เพชรบุรี ระบุว่าได้มีผู้ค้าชมพู่ในตลาดอตก.นนทบุรี และเขตจตุจักร รวมถึงห้างสรรพสินค้าบางแห่ง ได้นำชมพู่สายพันธุ์อื่น คือ ชมพู่เพชรสุวรรณมา  แอบอ้างติดป้ายเป็น ชมพู่เพชรพันธุ์เพชรสายรุ้ง มาจำหน่ายในท้องตลาดในราคาค่อนข้างสูง ซึ่งกรมจะลงไปตรวจสอบเพราะถือเป็นการแอบอ้างและโฆษณาให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด คิดว่าเป็นชมพู่เพชรสายรุ้งแท้ และเป็นการกระทำผิดตามพ.ร.บ.สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ตามมาตรา 27 มีโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

ที่ผ่านมา กรมได้ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาตร์ (จีไอ) ให้กับชมพู่พันธุ์เพชรสายรุ้ง เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2551  ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ที่ระบุว่าการใช้ชื่อ ชมพู่เพชร ต้องเป็น พันธุ์เพชรสายรุ้ง เท่านั้น ห้ามมิให้ใช้กับชมพู่สายพันธุ์อื่น

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลานี้ผลผลิตชมพู่เพชร พันธุ์เพชรสายรุ้ง ของจ.เพชรบุรี ได้เริ่มทยอยออกสู่ตลาดบ้างแล้ว และจะทยอยออกสู่ตลาดมากตั้งแต่ช่วงปลายเดือนก.พ.-พ.ค. โดยความแตกต่างระหว่างชมพู่เพชรพันธุ์เพชรสายรุ้ง กับชมพู่เพชรสุวรรณนั้นเห็นได้ชัดเจนคือ ชมพู่เพชร พันธุ์เพชรสายรุ้ง ก้นผลแคบ สีชมพูเข้ม เนื้อแข็งกรอบ เนื้อหนา มีสีเขียวอ่อนปนชมพู มีแถบสีชมพู (เส้นเอ็น) เป็นริ้ว มีเมล็ด 1-3 เมล็ด และมีรสชาติหวานกลมกล่อม มีเปอร์เซ็นต์ความหวาน 8-15 องศาบริกซ์

ขณะที่ชมพู่เพชรสุวรรณมีก้นผลกว้าง ขอบสีแดง เนื้อนิ่ม ไม่กรอบ ค่อนข้างบาง มีสีเขียวปนคล้ำ มีเส้นเอ็นสีแดงเห็นชัดเจน มีเมล็ด 1-3 เมล็ด มีรสจืด-หวาน และมีเปอร์เซ็นต์ความหวาน 6-11 องศาบริกซ์ เท่านั้น  ดังนั้นผู้บริโภคควรตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะเลือกซื้อ เพื่อป้องกันการแอบอ้างใช้จีไอ

***ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างชมพู่เพชรสายรุ้งกับชมพู่เพชรสุวรรณ****

ที่มา : สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี

ลักษณะ ชมพู่เพชรสายรุ้ง ลักษณะ ชมพู่เพชรสุวรรณ

ลักษณะก้นผล ก้นผลแคบ สีชมพูเข้ม ลักษณะก้นผล ก้นผลกว้าง ขอบตูดแดง

suwan1
sairung01

ลักษณะก้นเนื้อ แข็ง กรอบ เนื้อหนา  ลักษณะก้นเนื้อ นิ่ม ไม่กรอบ เนื้อค่อนข้างบาง

suwan2
sairung02

สีเขียวอ่อนปนชมพู มีแถบสีชมพู (เส้นเอ็น)เป็นริ้ว สีเขียวปนแดงคล้ำ มีเส้นเอ็นสีแดงเห็นชัดเจน

suwan3
sairung03

เมล็ด 1-3 เมล็ด เมล็ด 1-3 เมล็ด

รสชาติ หวานกลมกล่อม รสชาติ จืด-หวาน

% ความหวาน 8-15 องศาบริกซ์ % ความหวาน 6-11 องศาบริกซ์

ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี

ที่มา:โพสต์ทูเดย์  07 มีนาคม 2554

Relate Post