น.ส.ณัฐ วิภา อิ้วสกุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดประเด็นว่า บริษัทและองค์กรที่พัฒนาพืชจีเอ็มโอ มักอ้างเหตุผล 3 ประการ คือ ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดการใช้สารเคมี และช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน ทั้งๆ ที่ในความจริงแล้ว ผลที่ได้อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป มิหนำซ้ำยังก่อให้เกิดต้นทุนที่ผู้ผลิตเองก็อาจคาดไม่ถึง
พร้อมทั้ง ยกตัว อย่างในแคนาดา เมื่อ รัฐบาลอนุมัติให้ปลูก เมล็ดลินสีด (linceed) สายพันธุ์จีเอ็มโอเพื่อการค้า ปรากฏว่าส่งผล ให้ตลาดลินสีดในแคนา ดาล่มสลาย เพราะตลาดโลกส่วนใหญ่ยังไม่ยอม รับผลิตผลที่มาจากกระ บวนการดัดแปลงพันธุกรรม นอกจากนี้ แรงผลักดันจากผู้บริโภคที่ไม่ต้องการพืชจีเอ็มโอ ยังส่งผลให้เกษตรกรต้องเพิ่มต้นทุนในการแยกพืชจีเอ็มโอออกจากพืชปกติ หรือพิสูจน์ให้เห็นว่าสินค้าของตนปลอดจากจีเอ็มโอจริงๆ
ปัญหา พืช ดัดแปลงพันธุกรรม หรือ “จีเอ็มโอ” กำลังเป็นภัยเงียบต่อสังคมเกษตรกรรมไทย นอกจากมะละกอปนเปื้อนจีเอ็มโอ ที่เคยปรากฏเป็นข่าวมาระยะหนึ่งแล้ว
ล่า สุด มูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) ออกมาเปิดเผยตรวจพบพืชจีเอ็มโอเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้าย และพริก ปนเปื้อนในพื้นที่ของเกษตรกร 9 จังหวัด พร้อมทั้งทำหนังสือถึง นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้เร่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนจะลุกลามจนยากที่จะควบคุม
ขณะเดียวกัน “กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่เคลื่อนไหวคัดค้านพืชจีเอ็มโอมาตลอด ก็ออกมาย้ำอีกครั้งถึงวิกฤตการปนเปื้อนจีเอ็มโอในพืชอาหารไทย พร้อมเปิดเผยรายงาน “จีเอ็มโอ ต้นทุนที่ไม่จำเป็น” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรับรู้ และ เข้าใจสถานการณ์ที่เป็นอยู่มากยิ่งขึ้น
จาก ผลกระทบดังกล่าว หลายประเทศจึงปรับนโยบายควบคุมพืชจีเอ็มโอให้เข้มข้นมาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ช่วงปีหลังมานี้พื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มโอเริ่มมีสัด ส่วนที่น้อยลง
“เรา พบว่าในยุโรป ณ ตอนนี้ พื้นที่ปลูก จีเอ็มโอลดลงถึง 7 เปอร์เซ็นต์ เนื่อง จากว่าสหภาพยุโรปมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้น ยุโรปในปัจจุบันมีไม่กี่ประเทศที่อนุญาตให้ ปลูกพืชจีเอ็มโอได้ อย่างเช่น สเปน โปแลนด์ โรมาเนีย สโลวะเกีย โปรตุเกส และเช็ก แล้วก็มีปลูกอยู่แค่ชนิดเดียว คือข้าวโพดจีเอ็มโอ ล่าสุดฝรั่งเศสก็ประกาศยุติการปลูกพืชจีเอ็ม โอ นี่คือกระแสในสหภาพยุโรป ซึ่งมีจุดยืนที่ชัดเจนว่า เขาค่อนข้างกังวลในเรื่องของความปลอดภัย” ณัฐวิภา กล่าว
ส่วนกระแสในเอเชียนั้น ณัฐวิภาระบุว่ารัฐบาลอินเดียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกมะเขือรายใหญ่ เพิ่งประกาศไม่อนุมัติให้ปลูกมะเขือจีเอ็มโอในอินเดียด้วยเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า มะเขือจีเอ็มโออาจทำลายความหลากหลายของพันธุ์มะเขือที่มีอยู่เดิม และตลาดเองก็ยังไม่ยอมรับพืชเหล่านี้ เพราะไม่มีข้อมูลรับรองความปลอดภัยของพืชดังกล่าว
อีก กรณีที่น่าสนใจเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เมื่อเกษตรกรกว่า 6,000 ราย ร้องเรียนต่อกระทรวงเกษตร ว่าได้รับผลกระทบจากการที่มีข้าวจีเอ็มโอ ของบริษัท ไบเออร์ ปนเปื้อนอยู่ในตลาด ในที่สุดรัฐบาลสหรัฐมีคำสั่งให้ปิดตลาดข้าวส่งออก และให้บริษัทชดเชยค่าเสียหายให้แก่เกษตรกร 2 รายแรก เป็นมูลค่ากว่า 2,000,000 เหรียญสหรัฐ
ณัฐวิภา บอกว่า นี่เป็นสัญญาณที่ดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ในขณะที่เมื่อหันกลับมามองประเทศไทยเอง กลับพบว่ารัฐบาลยังไม่กระตือรือ ร้นกับปัญหานี้มากนัก สังเกตได้จากกรณีของมะละกอจีเอ็มโอที่ถูกเปิด โปงขึ้นเมื่อหลายปีก่อน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป มิหนำซ้ำยังพบ การปนเปื้อนจีเอ็มโอของพืชอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก ประชาชนของเรายังขาดความรู้ ในขณะที่รัฐบาลเองก็ดูจะเฉยชากับปัญหานี้
“ประชาชนของเรายังมี ข้อมูลน้อยมาก บางคนไม่รู้เลยว่ามีการปนเปื้อนมากขึ้นเรื่อยๆ น่าสังเกตว่าที่ผ่านมามีแค่รายงานที่มาจากภาคประชาชน ไม่เคยมีรายงานจากรัฐ ภาครัฐ ไม่เคยออกมาให้ข้อมูลในเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่รัฐเองมีหน้าที่เฝ้าระวัง และตรวจสอบ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นความหละหลวมของรัฐในการจัดการกับปัญหา”
ข้อ เสนอของกรีนพีซจากนี้ไป คือต้อง การให้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค กรีนพีซเสนอให้ปรับปรุงกฎหมายติดฉลาก โดยให้ ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่มีส่วนผสมของพืช จีเอ็มโอ ไม่ว่าจะในปริมาณเท่าใด ต้องมีข้อ ความระบุถึงส่วนผสมนั้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ของผู้บริโภค
ในส่วนของผู้ ผลิต รัฐบาลต้องออกกฎหมาย ห้ามมิให้มีการปลูกพืช จีเอ็มโอในทุกระดับ เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่า แม้จะเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้ก็มีโอกาสเล็ดลอด และ สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรได้เช่นกัน
ที่ สำคัญอีกประ การหนึ่ง คือ เมื่อมีการปนเปื้อนพืช จีเอ็มโอออกสู่ภาย นอกแล้ว รัฐบาลต้องรีบตรวจสอบ แม้จะเป็นการตรวจสอบแบบวัวหายล้อมคอกก็ตามที รวมถึงต้องกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ปล่อยให้เกิดการปนเปื้อน
“เราอยากจะ ให้มีกฎหมายที่เข้ามาควบ คุมดูแลเรื่องของพืชจีเอ็มโออย่างเป็นรูปธรรม ขณะนี้มีร่างพ.ร.บ.ความ ปลอดภัยทางชีวภาพที่กฤษ ฎีกากำลังพิจารณาอยู่ แต่ เราเห็นว่ามันยัง มีช่องโหว่อยู่เยอะ เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่มีบทลงโทษ ต่อให้เราอนุมัติกฎหมายนี้แล้วนำมาใช้ สถานการณ์ก็ยังเหมือนเดิม คือถ้าเกิดการปนเปื้อนขึ้นมาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องสาวหา ต้นตอว่าใครทำ แล้วถ้าเจอว่าใครทำก็ไม่มีบท ลงโทษว่าจะต้องชดเชยอย่างไร นี่เป็นสิ่งที่ ล้าหลังมากสำหรับกฎหมายในบ้านเรา”
ตัวอย่างในต่างประเทศก็มีให้เห็น มาแล้ว ซึ่งสถานการณ์พืชจีเอ็มโอในไทยจะเป็นอย่าง ไร คงอยู่ที่รัฐบาลว่าจะจริงจังกับปัญหานี้มากน้อยแค่ไหน
ที่มา : ข่าวสด 21 มี.ค. 53