การศึกษาเรื่อง “บรรจุภัณฑ์อาหารฟาสต์ฟู้ดยอดนิยม ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบันเพื่อการออกแบบข้อมูล” โดยธนิตา มาใหญ่ และ ผศ.ดร.ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิตนั้น ผลของการวิจัยน่าสนใจที่ว่าอาจจะทำให้เกิดการต่อยอดในภาคธุรกิจที่เกี่ยว ข้อง โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังอยู่ในกระแสของโลกร้อนในเวลานี้
ข้อสรุปจากงานวิจัยนี้น่าจะช่วยกระตุ้นให้ทั้งผู้ใช้ ผู้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ตระหนัก รวมทั้งโอกาสทางธุรกิจ กฎหมายที่น่าจะออกมารองรับอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
จากการวิจัย ครั้งนี้ได้หยิบยก 10 อันดับอาหารฟาสต์ฟู้ด ที่มียอดการจำหน่ายสูงในปัจจุบันคือ 1.KFC 2.McDonald”s 3.Chester”s Grill 4.The Pizza Company 5.Pizza Hut 6.Burger King 7.Mister Donut 8.Dunkin Donuts 9.Swensen”s 10.HagenDazs มาวิเคราะห์หาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากบรรจุภัณฑ์ โดยกระบวนการขั้นตอนวิเคราะห์ได้จำแนกประเภทของอาหารฟาสต์ฟู้ดออกมาในแต่ละ ประเภท อาทิ คุณลักษณะเฉพาะ ประเภทของอาหาร จำนวน น้ำหนัก ราคา เป็นต้น
ซึ่ง เมื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ยผลกระทบจากตัวบรรจุภัณฑ์ของทั้ง 10 ยี่ห้อออกมาแล้ว พบว่าหากนำเอาบรรจุภัณฑ์ฟาสต์ฟู้ดที่ได้นำมาคลี่ออกแล้วนำมาเรียงต่อกันใน ระยะเวลา 1 ปี จะสามารถเทียบได้กับขนาดพื้นที่ของประเทศฮ่องกง ขนาดพื้นที่ 1,108 km2 (428 sq mi) หรือประเทศสิงคโปร์ ขนาดพื้นที่=710.2 km2 (274.2 sq mi) เลยทีเดียว
สาเหตุที่ฟาสต์ฟู้ดใช้บรรจุภัณฑ์มากมายขนาดนี้ ก็เพราะบรรดาอาหารฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีการปกป้องและถนอม อาหารให้คงความสดใหม่มากที่สุด ดังนั้นวัสดุบรรจุภัณฑ์ของอาหารประเภทนี้จึงจำเป็นที่จะต้องการวัสดุหลาก หลายชนิด และมีจำนวนหลายชิ้นต่อการห่อหุ้มสินค้า โดยมิได้ตระหนักถึงผลลัพธ์ที่จะ ตามมา จึงก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อ สิ่งแวดล้อม
จากผลการวิจัย ผู้ทำวิจัยได้นำเสนอแนวทางแก้ไขคือการนำทฤษฎีการรักษาสิ่งแวดล้อม 5 R มาใช้ ได้แก่ 1.reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง 2.reuse การนำมาใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง 3.repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้ 4.recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง และ 5.reject การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง
วิธีการวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นแนวโน้มในการกำหนดอนาคตของบรรจุภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และต้องการให้นำมาวิเคราะห์หาทางแก้ไขปัญหาด้านวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีปัญหาใน ปัจจุบันที่ซึ่งยังขาดการดูแลเอาใจใส่ ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค พร้อมทั้งยังทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นและให้ผู้คนเหล่านี้ตระหนักและคำนึงถึง ผลกระทบในด้านที่จะตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 5 พ.ย. 52