ไข้หวัดหมูที่แพร่ระบาดในเม็กซิโกและอเมริกาคร่าชีวิตคนไปเป็นร้อยและยังปรากฏ ในประเทศอื่นอีกหลายประเทศจนป่วนไปหมดในการเดินทางข้ามเขตแดนทั่วโลก และเพื่อยับยั้งความแตกตื่นอันเกี่ยวเนื่องกับชื่อเพื่อไม่ให้คนเชื่อมโยง เข้ากับการบริโภคหมู เพราะเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ติดต่อกันเฉพาะในคน ก็เลยเปลี่ยนชื่อเรียกกันเสียใหม่
อเมริกาเรียก ไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1 บ้านเราเลี่ยงมาเรียกว่า ไข้หวัดใหญ่ 2009
ระยะ เวลาราวสักสิบปีเศษมานี้ อเมริกาเลี้ยงหมูเพิ่มมากมายมหาศาลกลายเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญอย่าง หนึ่ง หากความแตกตื่นต่อการบริโภคหมูเกิดขึ้นทั่วโลก อุตสาหกรรมนี้ก็ต้องเจ๊งระนาว
ไข้หวัดหมู H1N1 ที่ ตรวจพบใหม่และเรียกชื่อใหม่นี้ แม้จะไม่ได้ระบาดในหมู แต่ที่มาของมันน่าสนใจเหมือนกัน เพราะจากการที่ผู้เชี่ยวชาญติดตามร่องรอยพันธุกรรมของมันสามารถสืบสาวไปได้ ถึงปี ค.ศ.1998 เป็นผลมาจากการผสมผสานและกลายพันธุ์จากไวรัส H1N2 และ H3N2
แหล่ง ที่ค้นพบไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่ในตอนนั้นก็คือ จากโรงเลี้ยงหมูในอเมริกาที่เรียกกันว่า แฟกตอรี ฟาร์ม เป็นโรงเลี้ยงหมูแบบปิด ใช้เทคโนโลยีทันสมัย การเลี้ยงหมูแบบอัดแน่นจนหมูไม่สามารถขยับเขยื้อนไปไหนได้ เพื่อให้ได้อัตราแลกเนื้อที่สูงมากๆ
ผลจาก การเลี้ยงแบบนี้ทำให้เชื้อไข้หวัดหมูแพร่กระจายและกลายพันธุ์ในอัตราที่ อันตราย จนผู้เชี่ยวชาญในเวลานั้นเตือนว่า โรงเลี้ยงหมูแบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อไข้หวัดหมูสายพันธุ์ ใหม่ชั้นดี และเตือนด้วยว่าสักวันหนึ่งมีโอกาสที่มันจะวิวัฒนาการจนสามารถติดต่อกันใน มนุษย์และระบาดไปทั่วโลก
สิบปีผ่านไป กับการอ้างอิงผลการค้นคว้าอีกชิ้นที่เผยแพร่ผ่าน โปรเมด เมลลิ่งลิสต์บนอินเตอร์เน็ต โดยนักวิทยาศาสตร์อีกท่าน ที่ชี้ถึงเบาะแสพันธุกรรมทำนองเดียวกัน เหมือนจะเป็นข้อสรุปให้เห็นว่าการเลี้ยงหมูเชิงอุตสาหกรรมเข้มข้นแบบที่ อเมริกาพัฒนาขึ้นมามากนั้น เป็นต้นตอของการกลายพันธุ์ของโรคภัยไข้เจ็บชนิดใหม่ที่ร้ายแรงสำหรับมนุษย์ ได้
ชิ้นส่วนพันธุกรรมของไข้หวัดหมูใหม่นั้นมีส่วนประกอบที่สืบค้นได้จาก H1N1 และ H3N2 ย้อนไปตั้งแต่ ค.ศ.1998 และ H3N2 ซึ่งค้นพบครั้งแรกในนอร์ธ แคโรไลน่า สัมพันธุ์กันอย่างยิ่งกับปริมาณการเลี้ยงหมูในรัฐดังกล่าวราวปลาทศวรรษเดียวกันซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้านตัว เป็น 10 ล้านตัว
ทั้งๆ ที่จำนวนฟาร์มลดลง นั่นหมายถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาจากเลี้ยงแบบเข้มข้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เคยถูกเตือนเอาไว้เป็นเวลากว่าสิบปีแล้วนั่นเอง ว่าโรงเรือนเลี้ยงหมูแบบนี้คือแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดี หมูถูกบังคับให้ต้องยืนอยู่กับที่บนมูลของมันเองโอกาสที่เชื้อจะแพร่และ วิวัฒนาการไปสู่โรคใหม่ๆ เป็นไปได้มาก
แน่ นอนครับในกลุ่มอุตสาหกรรมลี้ยงหมูคัดค้านข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์อย่างแข็ง ขันโดยอ้างว่ายังไม่พบโรคนี้ในสัตว์หรือคนงานทั้งในอเมริกาหรือในโรงเลี้ยง ใหญ่ในเม็กซิโกที่ผลิตหมูสู่ตลาดปีละ 1 ล้านตัว
บางครั้งโรงเรือนเลี้ยงสัตว์แบบปิดที่อ้างว่าทันสมัยใช้เทคโนโลยีล้ำหน้า ก็อาจจะต้องมีการตรวจสอบอย่างจริงจัง เพราะขณะที่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน แต่มีมูลบ่งชี้อยู่แล้วมากกว่าสิบปี อุตสาหกรรมนี้กลับสามารถโฆษณาประชาสัมพันธุ์จนการเลี้ยงสัตว์แบบสมัยใหม่ เข้ายึดครองใจคนทั่วๆ ไป
กระบวนการสร้าง “ความรับรู้ใหม่” ในอีกด้านหนึ่งก็ทำลายวิถีธรรมชาติลงไปด้วย
ที่มา : แลไปข้างหน้า มติชนสุดสัปดาห์ 8 พ.ค. 52