IFOAM กับอนาคต…ข้าวเกษตรอินทรีย์ไทย

สินค้าเกษตรอินทรีย์ถือเป็นธุรกิจใหม่ที่มีอนาคต ไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์มูลค่าประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาห กรรมเกษตรทั้งหมด แต่ก็นับว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจ เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 20-30 ต่อปี โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยที่มีแนวโน้มการส่งออกที่แจ่มใสคือ ข้าว กาแฟ พืชผัก ผลไม้ เครื่องเทศและสมุนไพร โดยเฉพาะข้าวที่ มีคำสั่งซื้อจากตลาดสหภาพยุโรปอย่างต่อเนื่อง และผลผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งเครือข่ายชุมชนรับรองเกษตรอินทรีย์ โดยกลุ่มเยาวชนและเกษตรกรผู้ผลิต “ข้าวจิ๊บ” ชุมชนบ้านลิ่มทอง จ.บุรีรัมย์ เป็นหนึ่ง ในชุมชนที่จัดตั้งกลุ่มเพื่อ ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากการใช้สารเคมีมาเป็น การผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ ด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิไทยคม และได้เข้าร่วมอบรมการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โดยวิทยากรจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) มาให้ความรู้ในเรื่องระบบ ประกันคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM และการขอรับรองแบบกลุ่ม และได้ทดลองฝึกตรวจรับรองในแปลงนาตัวอย่าง คาดว่าหากกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง สามารถผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ได้จะสามารถผลิต “ข้าวจิ๊บ” อินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง หวังเพิ่มการขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ไทยสู่ตลาดโลก และสามารถจัดจำหน่ายได้ภายในประเทศพร้อมออกสู่ตลาดโลกได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชน โดยจัดอบรมระหว่างวันที่ 24-25 เม.ย. 57 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ชุมชนบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM เป็นระบบประกันคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federa tion of Organic Agriculture Movements-IFOAM) ได้ริเริ่มจัดตั้งโครงการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM เพื่อให้บริการรับรองระบบงานแก่หน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ต่าง ๆ ปัจจุบันมีสมาชิก 800 องค์กรใน 120 ประเทศจากทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยนั้นสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) เป็นหน่วยงานเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ IFOAM นี้ จาก IOAS ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน และเป็นหน่วยตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์แห่งแรกในเอเชีย “มกท.” สามารถให้บริการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ในขอบข่ายเกี่ยวกับการเพาะปลูกพืช การเก็บผลผลิตจากป่าและพื้นที่ธรรมชาติ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปและจัดการผลผลิต และปัจจัยการผลิตเพื่อ การค้า

IFOAM เป็นสัญลักษณ์ของเครื่อง หมายรับรองเกษตรอินทรีย์ที่สากลให้การยอมรับ โดยจะช่วยประหยัดเวลาในการติดต่อสำหรับส่งออกสินค้าที่ยุ่งยากและช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านการตรวจสอบในประเทศที่นำสินค้าเข้าอีกด้วย ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพียง 150 ราย

โดยกลุ่มเยาวชนและเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง เป็นหนึ่งในชุมชนที่จัดตั้งกลุ่มเพื่อปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากการใช้สารเคมีมาเป็นการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2556 โดยการนำของน้าน้อย นางสนิท ทิพย์นางรอง ผลิตข้าวจิ๊บอินทรีย์ส่งให้มูลนิธิไทยคม หลังจากนั้นได้มีการตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง เพื่อขับเคลื่อนงานภายในเครือข่ายชุมชน และการขยายสมาชิกจาก 1 ครอบครัว จำนวน 20 ไร่ เพิ่มเป็นจำนวน 14 ครอบครัว และมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 165 ไร่ เพื่อเริ่มพัฒนาระบบการปลูกข้าวอินทรีย์

และได้เข้าร่วมอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างมาตรฐานการปลูกข้าว โดยวิทยากรจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มาให้ความรู้ในเรื่องระบบประกันคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และการขอรับรองแบบกลุ่มที่มีระบบควบคุมภายใน ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมยังได้ทดลองฝึกตรวจรับรอง ซึ่งคาดว่าหากกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านลิ่มทอง สามารถผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ได้ จะสามารถ ผลิตข้าวจิ๊บอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูงทางโภชนาการ ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค และสามารถจัดจำหน่ายได้ภายในประเทศพร้อมออกสู่ตลาดโลกได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชน เป็นการช่วยสร้างงานให้เกิดในชุมชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในสังคมชนบทไม่ให้แรงงานย้ายออกไปทำงานต่างถิ่น

หากประเทศไทยสามารถเพิ่มจำนวนเกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ได้มากเพียงพอ และสามารถสร้างความมั่นใจในคุณภาพสินค้าในตลาดโลกได้ อนาคตการครองตลาดส่งออกข้าวเกษตรอินทรีย์ของไทยก็จะมีสูงขึ้นเช่นเดียวกัน.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/Content/agriculture/235053/IFOAM+กับอนาคต…ข้าวเกษตรอินทรีย์ไทย+-+เกษตรทั่วไทย

#########
“กินเปลี่ยนโลกเป็นกิจกรรมสาธารณะประโยชน์
การนำข่าวหรือเรื่องเล่าต่างๆจากอินเตอร์เน็ตมาเผยแพร่
ไม่ได้ทำเพื่อการค้า”