ช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา นางสำเนียง ฮวดลิ้ม ชาวนาไทย อายุ 62 ปี ร่วมกับเกษตรกรชาวสเปนและสวีเดน ส่งมอบรายชื่อถึง 180,000 ชื่อ ที่รวบรวมได้จากประชาชนที่ต่อต้านกฎหมาย อนุญาตการปลูกข้าวตัดต่อพันธุกรรม (ข้าวจีเอ็มโอ) แก่ แอนดรูลา วาซีลิว คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพ ณ กรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม
เกษตรกรรมยั่งยืน หรือไม่ก็ความล่มจม
” เกษตรกรรมเชิงนิเวศ” ผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและปราศจากสารเคมี ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และปกป้องดินให้คงมีสารอาหารสูง ตรงกันข้าม การใช้สารเคมีฆ่าวัชพืชในการปลูกพืชจีเอ็มโอและการทำเกษตรกรรมทั่วไปนั้น ทำลายพืชผลและสิ่งแวดล้อม
ไม่ใช่เพียงเท่านั้น นางสำเนียงยังอธิบายว่า จากประสบการณ์อันยาวนานในฐานะเกษตรกรนาข้าวในไทย การต้องพึ่งพายาฆ่าวัชพืชไม่เพียง แต่กำจัดไส้เดือนออกจากนาข้าวของเธอ แต่ยังทำให้เธอเป็นหนี้สินอย่างตั้งตัวไม่ขึ้น
การเปลี่ยนไปทำ “เกษตรกรรมอินทรีย์” ก่อให้เกิดประโยชน์และไร้โทษ ยังช่วยให้ได้ผล ผลิตที่ดีขึ้น
การเกษตร หมายถึง การทำ งานร่วมกับธรรมชาติ ไม่ใช่ต่อต้านธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม หากกฎหมายฉบับใหม่อนุมัติ “พืชจีเอ็มโอ” จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อเกษตรกรอินทรีย์ เพราะจะเกิดการปนเปื้อน
นายเอดูอาโด้ แคมปาโย การ์เซีย เกษตรกรสวีเดน กล่าวว่า ในอนาคต “ข้าวโพดอินทรีย์” อาจหายไปเพราะพืชจีเอ็มโอ
เนื่อง จากประสบการณ์การปลูกข้าวโพดของตนชี้ให้เห็นว่า “ละอองเกสรพืชจีเอ็มโอ” ปลิวไปไกลกว่าที่การศึกษาของกระทรวงเกษตรแห่งสเปนระบุเอาไว้ และข้าวโพดยังถูกปนเปื้อนบ่อยครั้งกว่าที่มีการรายงาน
“ในกรณีของ ผม ข้าวโพดที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างจากแปลงของผม 500 ม. มันไม่ใช่จีเอ็มโอ แต่ข้าวโพดของผมก็ยังถูกปนเปื้อน” การ์เซียอธิบาย หลังจากพบว่าผลผลิตของตนถูกปนเปื้อน
จีเอ็มโอไม่ใช่คำตอบ
ขณะ ที่แปลงข้าวบนลาดเขาขั้นบันไดอิฟุเกาในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นมรดก โลกของยูเนสโก ได้รับการประกาศว่าปลอดจีเอ็มโอในเดือนมีนาคม อาสาสมัครกรีนพีซในประเทศไทยได้ปลูก “ศิลปะบนนาข้าวอินทรีย์” ชิ้นแรกในประเทศ เพื่อเฉลิมฉลองการปลูกข้าวอันเป็นมรดกตกทอดอันยาวนานของเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ และเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของพืชผลหลักนี้ที่ประชากรโลก ต้องพึ่งพา
ตรงกันข้ามกับคำกล่าวอ้างที่ว่าพืชจีเอ็มโอช่วยบรรเทาผล กระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ นอกจากนั้น การศึกษาการปลูก “ถั่วเหลือง จีเอ็มโอ” ยังพบว่า พืชที่ดัดแปลงพันธุกรรมต้องใช้ยาฆ่าวัชพืชมากกว่าเดิม 2-5 เท่า ซึ่งให้ผลประโยชน์แก่บริษัทที่ผลิตทั้งเมล็ดพันธุ์และยาฆ่าวัชพืช
ระบบ การทำเกษตรกรรมเชิงอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและสารเคมี และแทบไม่คำนึงถึงประโยชน์ต่างๆ ร่วมกันนั้น ไม่ยั่งยืนในมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
ความพยายามพัฒนาเทคโนโลยี “จีเอ็มโอ” ให้เป็น “วิธีแก้ปัญหาความอดอยากของประชากรโลกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ได้ซ่อนสาเหตุที่แท้จริงด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมืองเอาไว้
” เกษตรกรกำลังปฏิเสธพืชจีเอ็มโอ และหันไปทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศ พวกเขาไม่ต้องการเป็นทาสบริษัทข้ามชาติที่รังแกพวกเขาผ่านความพยายาม ควบคุมแหล่งอาหารของพวกเรา” มาร์ก คอนเทียโร ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเกษตรกรรมในสหภาพยุโรปของกรีนพีซ กล่าว
ที่มา : ข่าวสด 27 ต.ค. 52