ลูกกินแน่ แค่แม่รู้ใจ

กินเดี๋ยวนี้นะ ไม่กินแม่จะตี? ?ได้โปรดกินข้าวนะลูก ถ้ากินหมดชามแม่จะซื้อของเล่นให้? ?อีกคำเดียวนะ ของโปรดลูกไง?

จะเดินไปไหนน่ะลูก มากินข้าวให้หมดก่อน ไม่เป็นไร แม่เดินตามป้อนก็ได้? ?ทำไมกินยากกินเย็นแบบนี้นะลูก ไม่เห็นเหมือนลูกข้างบ้านเลย เดี๋ยวเอาไปให้บ้านอื่นเลี้ยงนะถ้าไม่ยอมกิน? ?เบื่อกินข้าวเหรอจ๊ะ มามะเดี๋ยวจะเปิดทีวีให้ดูเพลินๆ ไปด้วยนะ จะได้กินหมดไวๆ? ?กินผักสิลูก ต้องกินให้หมดนะ มันมีประโยชน์?? ?ถ้ากินแต่ขนม จะโดนทำโทษนะ?

หากคุณเคยหรือกำลังอยู่ในสถานะแม่ของลูกน้อย ที่กำลังอยู่ในวัยเจริญเติบโต คงเคยทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้านบนเพื่อให้ลูกยอมกินอาหารมาแล้วแน่ๆ เพราะคุณแม่ทุกคนล้วนต้องการให้ลูกมีพัฒนาทั้งด้านร่างกายและสติปัญญาอย่างเต็มศักยภาพ โดยต้องยอมแลกกับการกดดันตัวเองและลูก

แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวิธีการดังกล่าวข้างต้น นอกจากจะส่งผลเสียต่อทัศนคติการกินของลูกแล้ว ยังกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณและลูกให้เกิดการผิดใจ น้อยใจ และห่างเหินกันได้ ที่สำคัญปัญหาการกินยากในเด็กเล็กนั้นโดยมากแล้วไม่ได้เกิดจากตัวเด็กเอง แต่เกิดจากวิธีการปฏิบัติและการสื่อสารระหว่างแม่กับลูกมากกว่า

จากการเปิดเผยข้อมูลในงาน ?พฤติกรรมการกินยากในเด็กเล็กที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก? จัดโดย เซเว่นซีส์ โดย บริษัท เมอร์ค จำกัด เกี่ยวกับความคิดเห็นคุณแม่ที่มีลูกวัย 2-6 ปี ในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัดทั่วประเทศจำนวน 1,148 คน โดยสวนดุสิตโพล ระหว่างวันที่ 1- 24 กรกฎาคม 2552 ในหัวข้อ ?พฤติกรรมการกินยากในเด็กเล็ก?

พบว่า คุณแม่ร้อยละ 85.54 เป็นผู้ป้อนอาหารให้กับลูกด้วยตนเอง และมีการทะเลาะกับลูกเรื่องการกินข้าวถึงร้อยละ 61.67 ปัญหาหลักที่คุณแม่พบในการกินอาหารของลูก คือ ลูกมีพฤติกรรมกินยากและกินช้า ร้อยละ 31.76 ลูกไม่ชอบกินผักผลไม้ ร้อยละ 26.53 ลูกทานแต่ขนม ไม่ยอมทานข้าว ร้อยละ12.69 และลูกปฏิเสธไม่ยอมทาน ร้อยละ 12.52

วิธีที่คุณแม่ใช้ในการให้ลูกยอมกิน คือ อ้อนวอนและติดสินบน ร้อยละ 35 บ่นหรือดุ ร้อยละ 17.88 ซึ่งวิธีต่างๆ เหล่านี้ เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง แต่คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่ทราบหรือทราบแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร

รศ.นพ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์ หัวหน้าหน่วยโภชนาการกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัญหาการกินในเด็กเล็กวัย 2-6 ปี ทั้งกินยากและกินอาหารที่มีประโยชน์น้อยนั้นเป็นปัญหาที่คุณแม่พบเป็นประจำ ทำให้คุณแม่เกิดความหงุดหงิด เหนื่อยหน่าย ท้อแท้ หมดกำลังใจ

ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความไม่เข้าใจพัฒนาการและธรรมชาติการกินของเด็กวัยนี้ซึ่งอยู่ในระยะที่เริ่มหัดเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยากทำอะไรด้วยตนเอง ไม่ต้องการการถูกบังคับเคี่ยวเข็ญ และจะมีพฤติกรรมต่อต้านหากถูกบังคับ

อีกทั้งความต้องการอาหารของเด็กวัยนี้ก็จะลดลงกว่าตอนขวบปีแรกซึ่งร่างกายมีการเจริญเติบโตเร็วและมากกว่า และเริ่มสนใจการกินน้อยลงเพราะอาจจะห่วงเล่น คุณแม่ต้องแก้ปัญหาจัดการอย่างถูกวิธี มิฉะนั้นจะเกิดพฤติกรรมสะสมเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกและคนในครอบครัวได้

เมื่อพบว่าลูกมีปัญหาเรื่องการกิน ทั้งกินยาก และกินอาหารที่มีประโยชน์น้อย คุณแม่จำนวนมากอาจใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง เช่น บังคับ ขู่เข็ญ ดุด่า อ้อนวอน ติดสินบน เพื่อให้ลูกกิน โดยไม่รู้ว่าวิธีการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
เช่น อาจเกิดพฤติกรรมต่อต้านแม่ การผิดใจกันระหว่างแม่และลูก ความเครียดที่สะสมขึ้นในทั้งแม่และลูก และยังอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมเรื้อรัง เช่น Food Phobia หรือการกลัวอาหารบางชนิด และการเลือกอาหารซึ่งอาจติดตัวเด็กไปจนโตได้

คู่มือ ?ลูกกินแน่ แค่แม่รู้ใจ? โดยเซเว่นซีส์ จะเป็นผู้ช่วยคุณแม่ในการสร้างวินัยในการกินให้กับลูกวัย 2-6 ขวบ ที่รวบรวมสารพัดวิธีที่ทำให้เรื่องลูกกินยากกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

Do?s and Don?ts 7 ประการ เพื่อให้ลูกกินได้ ง่ายนิดเดียว

Do?s ลองทำดูแล้วจะดี

1.คุณแม่ต้องมีความมั่นใจในเรื่องสุขภาพของลูก ควรพบแพทย์เพื่อประเมินภาวะโภชนาการของเด็ก เพื่อให้มั่นใจว่าลูก?ปกติ? ไม่มีโรคใด ๆ แอบแฝงที่ทำให้ลูกไม่กินอาหาร บันทึกอาหาร ชนิด และปริมาณ (ของสิ่งที่ลูกกินทั้งหมด-รวมทั้งขนม และนม) ในแต่ละมื้อ และแต่ละวัน

2. ทำให้แน่ใจว่าลูกจะหิวเมื่อถึงเวลากิน โดยกำหนดเวลารับประทานอาหารแต่ละมื้อให้ชัดเจน ถ้าเกเรไม่ยอมกินภายใน 30 นาที ? 1 ชั่วโมง ?เก็บ?รออีกทีมื้อถัดไป พอหิวก็จะกินเองไม่ต้องให้เคี่ยวเข็ญ คุณแม่ต้องใจแข็งมากหน่อยไม่กิน ขนม หรือของว่างต่างๆ ระหว่างมื้อ

หากลูกอยากกิน ก็อนุญาตให้กินได้แต่มีข้อแม้ว่าต้องรอหลังจากกินอาหารมื้อหลักให้หมดก่อน ในเด็กที่มีอาการขาดอาหารหรือวิตามิน อาจให้วิตามินรวมสูตรสำหรับเด็กเบื่ออาหาร เพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร

3.อาหารน่ากิน? การฝึกการกินของลูก ช่วงแรกเริ่มควรเตรียมแต่อาหารที่ลูกชอบ กินง่าย ตกแต่งให้น่ากิน ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบและเมนูอาหารให้หลากหลาย ในกรณีที่ลูกต่อต้านการกินมาก ควรค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มฝึกจากอาหารที่เด็กชอบก่อน

เมื่อลูกเริ่มมีวินัยในการกินแล้ว จึงเริ่มชักชวน จูงใจให้เด็กริเริ่ม ทดลองกินของใหม่ๆ ที่หลากหลาย รวมถึงของที่ไม่ชอบ ไม่ควรใช้การบังคับ กดดัน หรือคะยั้นคะยอ เพราะนอกจากไม่ได้ผลแล้วยังอาจทำให้ลูกเกลียดอาหารชนิดนั้นไปเลย หรือเรียกว่า Food Phobia (ฟู้ดโฟเบีย) เช่น เด็กที่เกลียดการกินผัก อาจเกิดจากการกดดันของคุณแม่

หากลูกไม่กินผักเลยอาจให้วิตามินเสริมในช่วงแรก และค่อยๆ ฝึกให้ลูกกินผักโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น เลือกผักที่มีสีสันสดใสน่ารับประทาน รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่น หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือบด แล้วนำไปผสมในอาหารที่ลูกชอบ หรือนำผักไปชุบแป้งทอด และลองสังเกตว่าอะไรเป็นแรงจูงใจให้ลูกยอมกินผัก

4.บรรยากาศดี จัดที่นั่งรับประทานอาหารให้เหมาะสม ไม่มีสิ่งอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ทีวี ของเล่น ร่วมวงพร้อมหน้า สนทนาเรื่องดีๆ จัดบรรยากาศขณะกินให้สนุก พูดคุยกันถึงเรื่องดีๆ สบายใจ

5.ส่งเสริมการกินด้วยตัวเอง โดยการจัดเก้าอี้เด็ก จาน ช้อน ส้อม เฉพาะสำหรับลูก เพื่อให้สนุกกับการช่วยเหลือตนเอง ลูกควรได้ช่วยตัวเองบ้าง โดยมีผู้ใหญ่คอยช่วย อะไรที่ลูกทำได้แล้วให้ลดและเลี่ยงการทำให้ลูกอีก แต่ให้ชมเชยความสามารถที่เพิ่มขึ้นของลูก เพื่อเกิดกำลังใจในการทำด้วยตนเองต่อไป และให้ลูกมีส่วนร่วมในการปรุงหรือเตรียมอาหารเพื่อให้เด้กเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม

6.ตักอาหารครั้งละน้อยๆ ให้ลูกมีกำลังใจว่ากินได้หมด และให้ลูกตักเอง หมดแล้วเติมได้ ลูกจะได้ไม่เคยชินว่ากินเหลือได้ หรือต้องถูกบังคับให้กินให้หมด

7.อดทน จริงจัง สม่ำเสมอ และสงบ

Don?ts เลี่ยงได้ก็ดี ลูกน้อยมีความสุข


1. เลี่ยงใช้คำว่า ?อย่า หยุด ห้าม ไม่เอา ไม่ได้นะ ต้องทำ? เด็กจะยิ่งต่อต้าน เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการกิน คิดว่าเวลาอาหารเป็นเวลาแห่งความทุกข์ อาจพาลต่อต้านหรือเกลียดคุณแม่ไปเลย

2. อย่าต่อรอง อ้อนวอน ติดสินบนก็ไม่ควร เพราะจะทำให้เด็กเคยตัว และใช้การไม่กินมาเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับพ่อแม่
3.ไม่หากิจกรรมมาให้ลูกทำขณะทานอาหาร เช่น ดูทีวี เล่นของเล่น คุณแม่อาจจะคิดว่าลูกเพลิดเพลินแล้วจะกินได้ หารู้ไม่ยิ่งทำให้วอกแวก ไม่อยากกินเข้าไปใหญ่

4.อย่าบังคับถ้าลูกไม่หิว เวลาเราไม่หิวเรายังไม่อยากิน เด็กก็ไม่ต่างกัน ที่มีความอยากอาหารในแต่ละวันแต่ละมื้อไม่เท่ากัน การที่คุณแม่คาดหวังให้ลูกกินได้มากเท่าๆ กันทุกมื้อ จึงเป็นไปไม่ได้

5.ไม่ให้เด็กกินขนมระหว่างมื้อ ให้รอจนกว่าจะถึงมื้อต่อไป เด็กที่รู้จักความหิว จะกินเองได้ดีกว่าเด็กที่ไม่เคยหิว และคุณแม่ต้องไม่ใจอ่อนเห็นว่าลูกไม่กินข้าวกลัวขาดสารอาหารจึงให้กินขนมอื่นๆ แทน จะทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมจดจำ ว่าถ้าไม่กินข้าวจะได้กินขนมแทน

6.อย่าพยามเกินจำเป็น ทุกอย่างต้องใช้เวลา ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่ากดดันตัวเองและลูกเกินควร

7.ถ้าหงุดหงิดระหว่างการฝึกวินัยลูกต้องสงบสติอารมณ์ เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่อย่าลงที่เด็กไม่ว่ากรณีใด

เห็นไหมว่าการทำให้ลูกกินได้ ง่ายนิดเดียว Super Mom อย่างคุณทำได้อยู่แล้ว เริ่มจากวันนี้ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป แล้วทั้งคุณลูกทั้งคุณแม่ก็จะมีความสุขในทุกมื้อ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 12 ก.ย. 52

Relate Post