คนกรุงปรับพฤติกรรมบริโภคสินค้าอาหาร ระวังจากผลเศรษฐกิจซบเซา..

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในปี 2552 ทำให้ผู้บริโภคเกิดความวิตกกังวลถึงความมั่นคงของอาชีพการงาน และความไม่แน่นอนของรายได้ในอนาคต ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเน้นการจับจ่ายใช้สอยอย่างประหยัด แม้แต่สินค้าอาหารที่จำเป็นต้องบริโภค และเป็นสินค้าที่คาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในบรรดาสินค้า-บริการ ทั้งหมด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจ “พฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารของคนกรุงเทพฯ” กระจายกลุ่มตัวอย่างตามอาชีพ ดูตัวแปรสำคัญในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค โดยแต่ละอาชีพจะมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพต่อไป และความแน่นอนของรายได้ที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อความวิตกกังวลถึงความมั่นคงของอาชีพและความไม่แน่นอนของรายได้ใน อนาคต


ผลสำรวจพบว่าคนกรุงเทพฯ กลุ่มตัวอย่าง 44% คาดว่ารายได้มีแนวโน้มลดลง เมื่อกลุ่มตัวอย่างตามอาชีพ ปรากฏว่าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาน้อย กว่ากลุ่มอาชีพอื่นๆ ส่วนอาชีพที่เผชิญผลกระทบอย่างมาก คือ พนักงานบริษัทหรือลูกจ้าง โดยเฉพาะลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างงานเหมา และลูกจ้างตามผลงาน รองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง และค้าขาย/กิจการส่วนตัว

โดย 66.4% ของคนกรุง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าอาหาร กล่าวคือ สินค้าประเภทอาหารสดยังเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค เลือกปรับพฤติกรรมเปลี่ยนสถานที่ซื้อเป็นส่วนใหญ่ เลือกซื้อสินค้าครั้งละไม่มาก คือ ซื้อเท่าที่จำเป็น ซื้อจากตลาดนัดหรือร้านชำใกล้บ้าน/ใกล้ที่ทำงาน และตลาดสด ส่วนการซื้ออาหารกึ่งสำเร็จรูป/อาหารสำเร็จรูป ปรับพฤติกรรมลดปริมาณการบริโภค เปลี่ยนสถานที่ซื้อ เปลี่ยนยี่ห้อ เลิก งดการบริโภค หรือหันไปบริโภคสินค้าอื่นทดแทน และแยกได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มาอาหารที่ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างรุนแรงคือ เลิก งดการบริโภค มีเครื่องดื่มชูกำลังแอลกอฮอล์ กลุ่มที่สองเป็นอาหารที่ปรับพฤติกรรมน้อยที่สุด ด้วยจำเป็นต้องบริโภค หรือเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ

โดยผู้บริโภคเลือกจะเปลี่ยนสถานที่ซื้อ เปลี่ยนยี่ห้อ ในราคาที่ถูกที่สุด กลุ่มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมพร้อมดื่มและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และน้ำผักผลไม้

ท่าม กลางภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา คนวิตกกังวลเรื่องความมั่นคงในหน้าที่การงานและรายได้ในอนาคต ผู้บริโภคเน้นประหยัด เพราะเผชิญกับกำลังซื้อที่ถดถอยจากภาวะเศรษฐกิจที่รุมเร้า ในขณะที่ภาวะการแข่งขันในตลาดของสินค้าอาหารโดยเฉพาะอาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูปจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น โดยผู้บริโภคพิจารณาตรายี่ห้อน้อยลง และมีความอ่อนไหวเรื่องราคามากขึ้น เมื่อผู้ประกอบการขึ้นราคาสินค้าจะส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคหันไปบริโภคสินค้า อื่นทดแทน หรือลดปริมาณการบริโภคทันที เรื่องเหล่านี้นับว่าเป็นโจทย์ใหญ่ของผู้ประกอบการในปัจจุบันที่ต้องเร่ง ปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อประคองตัว ให้อยู่รอดได้ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา

ที่มา : คอลัมน์ Active Opinion มติชน 5 ก.พ. 52

Relate Post