พฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติ

Eating disorders? พฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติ?กระจกวิเศษ บอกข้าเถิดใครงามเลิศในปฐพี?

ถ้า คุณยืนอยู่หน้ากระจกทุกเช้าเพ่งมองตัวเองในกระจก แล้วก็ตอบกับตัวเองว่า ก็เกือบจะเป็นคุณเองนั่นแหละ เว้นแต่ แหมทำไมเราไม่ผอมกว่านี้อีกนิดนึงนะ ถ้าผอมอีกนิดจะสวยขึ้นอีกเยอะเลย ไม่แปลกที่คุณรู้สึกเช่นนี้ มีคนอีกหลายล้านคนก็รู้สึกเช่นนี้เหมือนกัน ถ้าแค่คิดว่าเราอ้วนไปนิดนึงและพยายามลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง ก็คงไม่เป็นไร แต่จริงๆแล้วกลับมีคนอีกหลายล้านคนต้องการลดน้ำหนักจนมากเกินไปและประสบ ปัญหากับพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย แม้กระทั่งบางคนอาจต้องสูญเสียชีวิตไปเพราะการลดน้ำหนักที่ผิดๆ

พญ. ศศิธร รุ่งบรรณพันธุ์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเบาหวาน โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึงเรื่องค่านิยมที่ว่า ดารานางแบบทั้งหลายจะต้องผอมเพรียว ทำให้สาวๆทั้งหลายยึดดารานางแบบกลุ่มนั้นเป็นไอดอล (Idol) และเพียรพยายามตั้งหน้าตั้งตาลดน้ำหนักกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อที่จะได้มีรูปร่างที่สวยอย่างที่เห็นในแมกกาซีน

พฤติกรรมการ บริโภคที่ผิดปกติ เป็นภาวะที่ซับซ้อน ไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะแค่การบริโภคเท่านั้น ปัจจัยที่ทำให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติ มีได้ตั้งแต่ ปัจจัยทางร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคม และปัจจัยทางสังคมหนึ่งที่สำคัญและปฏิเสธไม่ได้ก็คือสื่อต่างๆ ที่ต่างเน้นย้ำให้เห็นว่าความผอมคือสิ่งที่สวยงาม คนที่จะสวยได้ต้องเป็นคนที่มีรูปร่างดีเท่านั้น ในหนังสือนิตยสารแฟชั่นต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะมีรูปดารา นางแบบที่หุ่นดีๆ น้อยเล่มนักที่มีจะคนอ้วนมาเป็นแบบ แถมเนื้อหาส่วนหนึ่งก็จะเกี่ยวข้องกับการทำอย่างไรที่จะทำให้ตนเองเป็นคนที่ น่าดึงดูด น่าสนใจ? และก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวกับหนทางต่างๆในการลดน้ำหนัก ทานอาหารอย่างไร ออกกำลังกายอย่างไร แต่งตัวแต่งหน้าให้สวยอย่างไร สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลมากสำหรับวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังแสวงหา สร้างแบบอย่างให้กับตนเอง จึงทำให้เราได้พบว่าในช่วง 20 ปีมานี้เราพบพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในวัยรุ่นผู้หญิง?? และก็พบว่าในวัยรุ่นชายก็เริ่มเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ใน ทุกๆปีจะมีผู้ป่วยจากพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติหลายล้านคน และก็จะมีผู้เสียชีวิตปีละเป็นพันๆคน? โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติมีดังนี้

Anorexia Nervosa

คน ที่เป็นโรคนี้จะมีความต้องการที่จะลดน้ำหนักอย่างมาก ถึงแม้ว่าบางคนจะผอมอยู่แล้วก็ตาม ก็ยังจะมีความรู้สึกว่าตนเองยังอ้วนเกินไป ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในตัวเอง? และผู้ป่วยกลุ่มนี้จะลดน้ำหนักโดยการอดอาหารอย่างมาก บางคนจะมีความรู้สึกผิดถ้าต้องรับประทานอาหารอะไรก็ตาม? จะคำนวณพลังงานจากอาหารที่ได้รับเสมอ และจะพยายามไม่รับประทานอาหารที่มีพลังงานเลย? นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังรู้สึกว่ามีความยุ่งยากที่จะรับประทานอาหารใน ที่สาธารณะ? มีอาการซึมเศร้า และหดหู่ง่าย? การอดอาหารอย่างมากนั้นก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนต่างๆมากมาย เช่น ประจำเดือนไม่มาตามปกติ? ผมร่วง ผิวแห้ง ปวดมึนศีรษะ ปวดท้อง โลหิตจาก นอนไม่หลับ ท้องอืด ท้องเฟ้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะ กระดูกพรุน เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ จนในที่สุดอาจทำให้เสียชิวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้ประมาณ 10-20 %

Bulimia Nervosa

ใน ผู้ป่วยโรค Bulimia จะมีลักษณะที่จะมีช่วงที่รับประทานอาหารจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว เกินกว่าที่คนทั่วไปจะรับประทานได้ในหนึ่งมื้อ และจะพยายามกำจัดอาหารที่ทานเข้าไป ด้วยวิธีต่างๆเช่น การล้วงคอให้อาเจียน การใช้ยาถ่าย หรือ ในบางคนอาจใช้วิธีการออกกำลังกายอย่างมาก รวมทั้งการใช้ยาอื่นๆ เช่น ยาขับปัสสาวะ ซึ่งจะเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำ คนที่เป็นโรคนี้หลังทานอาหารจำนวนมากๆแล้วจะรู้สึกผิด รู้สึกไม่ดีกับตนเอง ซึมเศร้า ลึกๆแล้วมักไม่ค่อยมั่นใจในตนเอง? แต่ Bulimia จะต่างจาก Anorexia ตรงที่จะรับรู้ว่าตนเองผิดปกติ และมีแนวโน้มที่จะทำการรักษามากกว่า

ผลแทรกซ้อนอาจเกิดจากการล้วงคอ ให้อาเจียนได้แก่? อาการเจ็บคอ บางครั้งการอาเจียนมากๆอาจทำให้มีการฉีกขาดของหลอดอาหาร? นอกจากนี้ ยังทำให้ผมร่วง ฟันผุ? ประจำเดือนผิดปกติ ปวดท้องท้องอืดท้องเฟ้อ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเครียด อารมณ์แปรปรวน ความกังวลว่าตนเองจะคุมการรับประทานอาหารไม่ได้ ก่อให้เกิดปัญหาต่อการปฏิบัติตัวในทางสังคมและคนหมู่มาก กลัวและอายที่จะรับประทานอาหารต่อหน้าคนอื่น? การที่ต้องเข้าห้องน้ำล้วงคอให้อาเจียนหลังรับประทานอาหาร

Binge Eating disorder

ใน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีช่วงที่จะรับประทานอาหารอย่างมากในเวลาอันสั้นโดยควบคุม ไม่ได้? จนกระทั่งเกิดความรู้สึกอิ่มจนเกินไปหลังรับประทานอาหาร แต่จะต่างจาก Bulimia คือจะไม่ได้ล้วงคอให้อาเจียนหรือ ใช้วิธีต่างๆเพื่อเอาอาหารที่รับประทานเข้าไปออก หลังการรับประทานอาหารจะมีความรู้สึกผิดที่รับประทานมากเกินไป
ผู้ ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีปัญหาที่ตนเองรู้สึกหาทางออกไม่ได้ และต้องการจะปิดกั้นปัญหานั้น และใช้อาหารเป็นตัวปลดปล่อยความรู้สึก? ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาน้ำหนักเกิน และผลแทรกซ้อนของโรคอ้วนอาจจะตามมาได้ นอกจากนี้ผลทางจิตใจได้แก่ ความกังวล เครียด ซึมเศร้า ไม่มีความมั่นใจในตัวเองจะทำอย่างไรดี
สิ่ง ที่ยากที่สุดคือการยอบรับ มีผู้ป่วยหลายๆคนที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติไม่ยอมรับว่า สิ่งที่เป็นอยู่คือความผิดปกติ และสิ่งที่ยากเป็นอันดับสองคือการปรึกษาใครสักคนหรือการเข้ารับการรักษา เพราะบางคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องส่วนตัว หรืออายที่จะปรึกษาใคร

ถ้า มีความรู้สึกดังกล่าวพยายามคิดว่าไม่ใช่เราเพียงคนเดียวที่เป็นมีคนอีกหลาย ล้านคนในโลกนี้ประสบปัญหาเดียวกับเรา ไม่ต้องอาย เพราะถ้าไม่ได้รีบแก้ไขแต่เนิ่นๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและอาจถึงแก่ชีวิตได้? การเก็บเรื่องนี้ไว้กับตัวเองอาจจะเพิ่มความหดหู่ และโดดเดี่ยวยิ่งขึ้น การเริ่มต้นที่จะบอกใครสักคนเป็นสิ่งที่ยาก ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร? คนฟังจะคิดอย่างไร? เค้าจะตอบสนองอย่างไรถ้าเราพูดออกไป? แต่ลองตรึกตรองดูการมีใครซักคนที่รับฟังความรู้สึกเรา ก็ยังดีกว่าต้องเผชิญปัญหาอยู่เพียงลำพัง ไม่ใช่หรือ

การรักษาพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติ

การ รักษาพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติไม่ใช่แค่คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทาน เท่านั้น? การบอกกล่าวแค่ว่าให้รับประทานอาหารตามปกติ เพราะคุณผอมเกินไปหรือคุณรูปร่างดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องลดน้ำหนักลงไปอีกนั้นจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา แต่จะยิ่งตอกย้ำให้ผู้ป่วยคำนึงถึงแต่เรื่องอาหารและรูปร่างตนเองมากขึ้น จริงๆเพราะปัญหาของโรคนี้มีสาเหตุมาจากทั้งทางจิตใจ ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สิ่งที่สังคมปลูกฝัง รวมถึงค่านิยมของสังคม? ทางแก้ควรจะต้องแก้ปัญหาทั้งทางจิตใจ มีการร่วมมือกับครอบครัว โดยการรักษาหลักคือการให้คำปรึกษาและคำแนะนำ ซึ่งอาจจะมีทั้งคำแนะนำตัวต่อตัว แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบกลุ่ม ครอบครัว หรืออาจจะต้องมีการใช้ยาในบางคน และอาจจะต้องได้รับความรู้หรือคำแนะนำของนักโภชนาการเพิ่มเติม สิ่งที่สำคัญต้องเข้าใจว่าการรักษาต้องค่อยเป็นค่อยไป อาจต้องใช้เวลาเพื่อสร้างให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่น ภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อเริ่มดีขึ้นตามลำดับ

จะป้องกันพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติได้อย่างไร

สิ่ง ที่สำคัญคือต้องเข้าใจว่าคนเราทุกคนมีความแตกต่าง เราทุกคนมีพันธุกรรมที่ต่างกัน ถึงแม้เราจะรับประทานอาหารเหมือนกัน ออกกำลังกายเหมือนกัน ก็จะไม่มีทางเหมือนกันทั้งหมด เพราะในแต่ละคนก็มีความแตกต่าง อย่าไปเปรียบเทียบกับเพื่อน หรือคนที่เราเห็นในทีวีหรือแมกกาซีน คนที่ดี น่ารัก และเป็นที่ยอมรับในสังคมอาจจะไม่ใช่คนสวยหรือคนรูปร่างดีเสมอไป? จงหาจุดเด่นของตนเองและภาคภูมิใจกับสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่? และสิ่งที่สำคัญคือฟังร่างกายตนเองเสมอ? ทานเมื่อรู้สึกหิว พอเมื่อรู้สึกอิ่ม เท่านี้ก็จะป้องกันพฤติกรรมการบริโภคที่ผิดปกติได้?ที่มา : โรงพยาบาลเวชธานี

Relate Post